ส.ม.อ. รับรองความสามารถของห้องปฎิบัติการ เอสจีเอส พร้อมมอบใบรับรอง ISO/IEC 17025 เป็นเจ้าแรก

ข่าวทั่วไป Monday July 31, 2006 14:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ก.ค.--พิตอน คอมมิวนิเคชั่น
ด้านการตรวจสอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินแร่ และยานยนต์เพื่อการส่งออก ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านห้องปฏิบัติการในประเทศไทย
บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด โดย มร. เฮ็นรี่ หวัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับมอบใบรับรอง ISO/IEC 17025 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สมอ) ด้านการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งถือเป็นห้องปฏิบัตการเอกชนรายแรกที่ได้รับการรับรองความสามารถการตรวจวิเคราะห์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินแร่ และยานยนต์เพื่อการส่งออก โดยการส่งมอบใบรับรองครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคุณไพโรจน์ สัญญะเดชากุล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) กระทรวงอุตสาหกรรม อีกด้วย ในการมอบใบรับรอง ISO/IEC 17025 จากส.ม.อ.ครั้งนี้เป็นการการันตีถึงศักยภาพความพร้อมในการรองรับความต้องการของผู้ประกอบการชาวไทยที่ต้องการตรวจสอบ ทดสอบสินค้าด้านชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินแร่ และยานยนต์เพื่อการส่งออก
คุณไพโรจน์ สัญญะเดชากุล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (ส.ม.อ) กล่าวว่า “บริษัทเอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นห้องปฎิบัติการเอกชนเจ้าแรกที่ได้รับใบรับรอง ISO/IEC 17025 ด้านชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินแร่ และยานยนต์เพื่อการส่งออก ซึ่งมาตราฐาน ISO/IEC 17025 นี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นการรับรองความสามารถสำหรับห้องปฏิบัตการด้านการทดสอบและการสอบเทียบโดยเฉพาะ ซึ่งบริษัทใดที่ได้ใบรับรอง ISO/IEC 17025 นี้จะทำให้ห้องปฏิบัติการได้รับการยอมรับในระดับประเทศและระหว่างประเทศเพราะถือว่ามาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานสากลเพราะสามารถทำการวิจัยทางเทคนิคโดยที่เจ้าหน้าที่ของห้องปฏิบัติการจะได้รับการยอมรับในทักษะและความสามารถที่จะส่งเสริมการบริการของห้องปฏิบัติการพร้อมลดค่าใช้จ่ายโดยลดความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการและเป็นการช่วยส่งเสริมภาพพจน์ของห้องปฏิบัติการให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากขึ้น”
ปัจจุบันรัฐบาลมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ ยานยนต์ โดยมีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งตลาดที่สำคัญก็คือ สหภาพยุโรป เริ่มตระหนักถึงความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของสินค้าดังกล่าวในด้านสารอันตราย เช่น กฎหมาย RoHS & ELV ในด้านการจำกัดสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ โดยมีผลบังคับใช้แล้วซึ่งการทดสอบสินค้าก่อนการส่งออกจะมีบทบาทอย่างมากในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่งขันอื่นหากผู้ประกอบการไทยปรับตัวให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด จะทำให้สามารถส่งออกสินค้าได้คุณภาพอย่างไม่มีปัญหาและลดภาระที่อาจเกิดขึ้นหากสินค้าไม่ได้คุณภาพซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
คุณประดิษฐ์ ยงค์พันธ์ชัย ผู้จัดการ ห้องปฎิบัติการ บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า“เรารู้สึกภูมิใจและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับใบรับรอง ISO/IEC 17025 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สมอ) ทางเอสจีเอสพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการพัฒนาด้านคุณภาพและเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในสินค้า ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคเพื่อที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถจำหน่าย สินค้าได้อย่างมั่นใจ พร้อมกับสร้างความเชื่อถือของสินค้าส่งออกผู้บริโภคและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดด้านชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินแร่ และยานยนต์ ทั้งจะช่วยเพิ่มรายได้และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหากสินค้าไม่ได้มาตรฐาน”
เกี่ยวกับเอสจีเอส
กลุ่มบริษัทเอสจีเอส เป็นบริษัทชั้นนำของโลกที่มีนวัตกรรมทันสมัยในการให้บริการด้านการตรวจสอบ การทดสอบ และการรับรองระบบ บริษัทเอสจีเอส ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พศ. 2421 และได้รับการยอมรับว่าเป็นบรรทัดฐานระดับสากลในด้านคุณภาพและความซื่อสัตย์ ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 42,000 คน บริษัทเอสจีเอส ได้ขยายเครือข่ายสำนักงานและห้องปฏิบัติการกว่า 1,000 แห่งทั่วโลก
มาตรฐานและกระบวนการรับรองของหสภาพยุโรป (EU) กับ ISO/IEC 17025
1. EU กับกฎหมายที่เกี่ยวกับ ELV
สหภาพยุโรปได้ออกกฎข้อบังคับ 2000/53/EC ว่าด้วยวาระการหมดอายุการใช้งานของยานพาหนะตั้งแต่ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 เพื่อเป็นบทบังคับการสั่งห้ามใช้ยานพาหนะที่มีส่วนประกอบของสารตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และโครเมียม 6 เกินกว่าปริมาณที่กำหนด
ทุกๆ ปีมียานพานะที่หมดอายุการใช้งานกว่าสิบล้านคันในทวีปยุโรป ซึ่งกลายเป็นขยะในปริมาณ 8 ถึง 9 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2549 ยานพานะที่หมดอายุการใช้งานอย่างน้อย 80% จะถูกนำมาแปรรูป หรือรีไซเคิล และ 85% จะถูกนำมาซ่อมแซมเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2558 เปอร์เซ็นต์จะสูงขึ้นเป็น 85% และ 95% ตามลำดับ
ประเทศไทยได้ออกนโยบายเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้กลายเป็น “ดีทรอยท์แห่งเอเชีย” ด้วยการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ 12 แห่งในประเทศไทย รวมถึง 500 OEMs, 800 of 2nd Tiers และโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วน และอะไหล่กว่า 1,200 แห่ง บริษัทผู้ส่งออกยานยนต์คือตลาดกลุ่มเป้าหมายสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีจำนวนรถยนต์ที่ส่งออกในปี พ.ศ. 2547 ถึง 320,000 คัน และปีพ.ศ. 2548 ถึง 400,000 คัน
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เอสจีเอส ดำเนินการวิเคราะห์ และตรวจสอบหาสาร Pb, Cd, Hg และCr 6 ที่ถูกสั่งห้ามด้วยอุปกรณ์ ICP — Inductive Couple Plasma และ UV Vis Spectrophotometer ซึ่งในปัจจุบัน เอส จี เอส ได้ทำการทดสอบมาตรฐาน ELV ให้กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ เช่น โตโยต้า ฟอร์ด และมิตซูบิชิ รวมถึง OEM และผู้ผลิตต่างๆ เพื่อเป็นการรับรองมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบที่ใช้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เช่นเดียวกับนโยบายการสั่งห้ามใช้สารบางชนิดโดยโรงงานผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ทั่วโลก
2. EU กับกฎหมายที่เกี่ยวกับ RoHS
สหภาพยุโรปได้ออกกฎข้อบังคับ 2002/95/EC ว่าด้วยข้อกำหนดการใช้สารต้องห้ามที่เป็นอันตรายบางประเภท (RoHS — Restriction of the Use of Certain Hazardous Substances) ที่จะมีผลบังคับใช้ทั่วสหภาพยุโรปเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ. 2549 เพื่อเป็นบทบังคับการสั่งห้ามใช้สารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิคส์ ที่มีส่วนประกอบของตะกั่ว แคดเมียม ปรอท โครเมียม6 PBB และPBDE
กฎข้อบังคับไม่อนุญาตให้โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิคส์ ที่มีสารเคมีดังกล่าวเป็นส่วนประกอบเกินกำหนด วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป โรงงานผู้ผลิตเหล่านั้นจำเป็นต้องมีใบรับรองว่าผ่านตามมาตรฐาน RoHS มิเช่นนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในตลาดยุโรป
นอกเหนือจากกฎข้อบังคับดังกล่าว เจ้าของตราสินค้า และโรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ต้นแบบ (OEM — Original Equipment Manufacturers) ยังสนับสนุนนโยบาย Green Products เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตรวจสอบมาตรฐานดังกล่าวประกอบไปด้วย อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิคส์ทางไอที โทรคมนาคม อุปโภคบริโภค อุปกรณ์กีฬา เครื่องเล่น และเครื่องมือเครื่องใช้อัตโนมัติ
การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับมิใช่งานที่ง่าย ดังที่เห็นได้จากกลุ่มชาวแคลิฟอร์เนียนที่รวมกลุ่มกันต่อต้านเพื่อสิ่งแวดล้อมได้รายงานว่าคอมพิวเตอร์ และจอมอนิเตอร์เก่าจำนวนกว่า 315 ล้านเครื่องเฉพาะในสหรัฐอเมริการะหว่างปี พ.ศ. 2530 ถึง 2547 เป็นแหล่งที่มาของตะกั่วกว่า 550,000 ตัน
การทดสอบ และอนุญาตตามมาตรฐานการตรวจสอบ RoHS คืองานหลักที่ห้องทดลอง เอส จี เอส ได้ดำเนินการด้วยอุปกรณ์คุณภาพ และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ เราทดสอบหาสารเคมีที่มีข้อกำหนดพิเศษสำหรับโรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิคส์ ตั้งแต่ OEM, 1st Tier, 2nd Tier ตลอดจนถึงสาขาบริการย่อย เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบที่ใช้ได้มาตรฐานถูกต้องตามข้อกำหนด ลูกค้าคนสำคัญของเรา ได้แก่ โซนี มัตซูชิตะ เดลต้า มินนิแบ ซัมซุง แอลจี ไมโครซอฟท์ เอชพี 3เอ็ม เป็นต้น
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ