โรงพยาบาลพญาไท เตือนคนทำงานวัย 40+ ย้ำ!! ทุ่มเทได้...แต่อย่าละเลย แนะระวัง 5 อาการปวดที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง พร้อมรณรงค์ให้พบแพทย์ - ตรวจหาโรคแบบเจาะลึก

ข่าวทั่วไป Wednesday October 28, 2009 15:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--โรงพยาบาลพญาไท เครือโรงพยาบาลพญาไท นำโดย นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการแพทย์และธุรกิจต่างประเทศ เครือโรงพยาบาลพญาไท และ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ผู้อำนวยการประจำสำนักเจ้าหน้าที่บริหาร เครือโรงพยาบาลพญาไท และแพทย์ที่ปรึกษาโครงการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล โรงพยาบาลพญาไท 2 พร้อมด้วย 6 ทีมแพทย์สหสาขา ร่วมกันห่วงใยสุขภาพประชาชน พร้อมจัดงานแถลงข่าวในหัวข้อ “40+ Working ทุ่มเทได้...แต่อย่าละเลย” โดยมี สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ และ กบ ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี เป็นตัวแทนคนทำงานหนุ่มสาวถามคำถามแบบเจาะใจจากคุณหมอ และมี ธงชัย ประสงค์สันติ ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมเหล่าเซเลบิริตี้ อาทิ เบ็นซ์ พรชิตา ณ สงขลา ,วิภาวี คอมันตร์ , ปณิธี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , ชัชนิต มุสิกไชย มหาคุณ และ น้องชาย นพ.ชัชดนัย มุสิกไชย , สุธนี ชยางพัทธ์ , ฯลฯ ให้เกียรติมาร่วมงานอีกเป็นจำนวนมาก ณ ห้อง แกรนด์ บอลรูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ทั้งนี้จากการพบสถิติยอดผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพและรักษาโรคในเครือโรงพยาบาลพญาไทจากจำนวน 7,221 รายในช่วงต้นปี พบว่า 1 ใน 3 มีจำนวนผู้ป่วยมีอาการปวดชนิดต่างๆ ที่ดูเหมือนธรรมดาแต่อาจมีความเสี่ยงนำไปสู่โรคร้าย โดยเฉพาะคนทำงานวัย 40 ปีขึ้นไป ซึ่งหลายคนมีอาการของโรคมาเร็วขึ้นกว่าวัย โดยเป็นโรคที่คนสมัยก่อนเป็นเมื่อตอนอายุ 70 ปีไปแล้ว ดังนั้นด้วยความวิตกกังวลและห่วงใยประชาชนเป็นอย่างมาก จึงพร้อมนำทีมจัดงานแถลงข่าว “40+ Working ทุ่มเทได้...แต่อย่าละเลย” เพื่อออกเตือนประชาชนให้ระมัดระวังเรื่องสุขภาพ พร้อมขอเป็นผู้นำในการรณรงค์ให้ตรวจสุขภาพประจำปี และอย่ามองข้ามอาการเล็กน้อย ควรตรวจหาสาเหตุของโรคแบบเจาะลึก เพราะพบโรคก่อน เจอก่อน รักษาก่อน หายก่อน และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าที่จะปล่อยให้มีอาการรุนแรง ทั้งนี้แนะให้ระวังอาการ 5 ปวด ทั้งอาการปวดหัว ปวดคอ ปวดข้อ ปวดหัวใจ และปวดท้อง ซึ่งก็มีทั้งเรื่องของระบบทางเดินอาหาร และการปวดในท้องสตรี อาจเป็นสัญญาณที่ร่างกายเริ่มเตือน และหากเพิกเฉยอาจส่งผลต่อการเกิดโรคร้ายแรงได้ อาทิ การปวดหัว อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมอง โรคไมเกรน อาการปวดคอ อาจนำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาหารปวดข้อและกล้ามเนื้อ อาจนำไปสู่ โรคข้อเสื่อมตามวัย อาการปวดหัวใจ อาจนำไปสู่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจกล้ามเนื้อตายฉับพลัน โรคหัวใจขาดเลือด อาการปวดท้อง ถ้าเป็นปวดท้องทั่วไปอาจนำไปสู่โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคกรดไหลย้อน และมะเร็งกระเพราะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ได้ ส่วนถ้าเป็นอาการปวดท้องของสตรี ก็อาจเป็นโรคปวดท้องประจำเดือน โรคทางเดินกระเพราะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น สำหรับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น อาจวิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม การดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป คือทำงานหนักมากขึ้น พักผ่อนน้อย การดูแลการรับประทานอาหารอย่างเร่งรีบและมีโภชนาการแย่ลง ประกอบกับการออกกำลังกายน้อย อันเป็นสาเหตุทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ ส่งผลให้เกิดอาการ 5 ปวดที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นอาการธรรมดา แต่แท้ที่จริงไม่ควรละเลยหรือมองข้าม บรรดาเหล่าแพทย์ จาก 6 ทีมแพทย์สหสาขา ในเครือโรงพยาบาลพญาไท ต่างแนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่า “40+ Working ทุ่มเทได้...แต่อย่าละเลย” เพราะคนวัย 40 มักคิดว่าตนเองยังแข็งแรงอยู่ จึงทุ่มเทกับการทำงาน และละเลยเรื่องการดูแลตนเอง ซึ่งกว่าจะมาพบแพทย์ ก็มีอาการของโรคที่รุนแรง และเสี่ยงต่อโรคร้ายไปแล้ว ทั้งนี้ขอให้พบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจร่างกายประจำปีแบบเจาะลึกเพื่อประเมินสุขภาพของตนเองว่าเป็นเช่นไร และขอให้มีการปรับ เปลี่ยนนิสัยการทำงาน การพักผ่อน การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีโภชนาการที่ดี เพื่อจะได้ไม่เข้าไปสู่เส้นทางของโรคที่ปัจจุบันมีคนเป็นกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน คือ โรคความดันเลือดสูง เบาหวาน โรคอ้วน และโรคต่างๆ ได้ นอกจากนี้ 40+ Working ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคอย่างครบถ้วนตามมาตรฐานทางการแพทย์ด้วย ซึ่งในปัจจุบันนอกจากประชาชนไม่มีความรู้ ความเข้าใจแล้ว เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ก็มักจะไม่ได้ใส่ใจเรื่องการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ อีกด้วย สนใจสอบถามรายละเอียดของการตรวจสุขภาพประจำปี หรือต้องการได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เครือโรงพยาบาลพญาไททุกสาขา call center 1772 หรือหากประสงค์ที่จะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆ หรือคำแนะนำด้านสุขภาพ ที่ www.phyathai.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อทีมงานโรงพยาบาลพญาไทได้ที่ คุณกุลนรี แนวพนิช โทร. 0-2617-2444 ต่อ1637 หรือ 1626 คุณสุปวีย์ ตันสกุล โทร. 0-2617-244 ต่อ 1624

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ