รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า วันที่ 2 ตุลาคม 2549 เวลา 19.00 น.

ข่าวทั่วไป Tuesday October 3, 2006 10:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ต.ค.--ปภ.
1. สถานการณ์ พายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร”
พายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (2 ต.ค.49) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครราชสีมา มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
ทั้งนี้ ให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา เลย ขอนแก่น ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
สำหรับภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งทะเลอันดามันจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดระนอง ชุมพร และพังงา ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตราย ในการเดินเรือ
2. กรมป้องกันและบรรเทาสารณภัย ได้ตรวจสอบไปยังจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ จากพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู และนครราชสีมา ปรากฏว่า สถานการณ์โดยทั่วไป มีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ตอนเย็น ของวันที่ 1 ตุลาคม 2549 จนถึงช่วงบ่ายของวันนี้ (2 ต.ค.49) เบื้องต้นยังไม่มีรายงานสถานการณ์อุทกภัยและความเสียหาย และมีผลดีต่อพื้นที่การเกษตรของจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่แนวพายุเคลื่อนผ่าน โดยมีรายงานต้นไม้หักโค่นทับเส้นทางในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นบางจุดของ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวารินชำราบ อำเภอดอนมดแดง และอำเภอเหล่าเสือโก๊ก ซึ่งทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ทำการตัดท่อนไม้ที่กีดขวางการจราจร ทุกแห่งแล้ว
3. ปริมาณน้ำฝนจากอิทธิพลพายุ “ช้างสาร” ตั้งแต่ 13.00 น วันที่ 1 ต.ค.49 ถึง 13.00 น วันที่ 2 ต.ค.49 วัดได้ดังนี้
จังหวัดเพชรบูรณ์ (อ.วิเชียรบุรี) 66.6 มม.
จังหวัดอุบลราชธานี (อ.เมือง) 81.4 มม.
จังหวัดมุกดาหาร (อ.เมือง) 61.2 มม.
จังหวัดสุรินทร์ (อ.เมือง) 101.0 มม. (อ.ท่าตูม) 97.4 มม.
จังหวัดนครราชสีมา (อ.โชคชัย) 113.8 มม. (อ.เมือง) 103.8 มม.
จังหวัดบุรีรัมย์ (อ.เมือง) 127.2 มม. (อ.นางรอง) 72.2 มม.
จังหวัดตราด (อ.คลองใหญ่) 132.0 มม.
4. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม (ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม — 2 ตุลาคม 2549)
4.1 ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-2 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
4.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 35 จังหวัด 164 อำเภอ 12 กิ่งอำเภอ 976 ตำบล 5,049 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 958,767 คน 263,833 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ชัยภูมิ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร
4.3 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 14 คน จังหวัดลำปาง 2 คน (อำเภอแม่เมาะ 1 อำเภองาว 1) จังหวัดสุโขทัย 3 คน (อำเภอเมือง 1 อำเภอสวรรคโลก 2) จังหวัดพิษณุโลก 5 คน (อำเภอบางระกำ) จังหวัดนครสวรรค์ 1 คน (อำเภอบรรพตพิสัย) จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน (อำเภอเมือง) จังหวัดชัยภูมิ 1 คน (อำเภอจัตุรัส) และจังหวัดพังงา 1 คน (อำเภอตะกั่วป่า)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 26 หลัง เสียหายบางส่วน 1,233 หลัง ถนน 1,454 สาย สะพาน 179 แห่ง ท่อระบายน้ำ 356 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 436 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 1,297,365 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 8,963 บ่อ วัด/โรงเรียน 209 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 161,990,541 บาท
5. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก สระบุรี นครนายก ชัยภูมิ สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช โดยทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม การฟื้นฟู ล้างทำความสะอาดถนนในเขตเทศบาล โรงเรียน สถานีอนามัย และการซ่อมแซมถนน สะพาน ที่ชำรุดเสียหายให้สามารถใช้การได้ในเบื้องต้นแล้ว
6. พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 20 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่จังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี จันทบุรี ขอนแก่น พังงา และกรุงเทพมหานคร ดังนี้
6.1 กำแพงเพชร ยังมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรของ อำเภอคลองขลุง 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าพุทรา (หมู่ที่ 1-6) ตำบลท่ามะเขือ (หมู่ที่ 1,2) ตำบลคลองขลุง (หมู่ที่ 1,3,5,6,11) ตำบล วัดยาง (หมู่ที่ 8,9) ตำบลวังไทร (หมู่ที่ 1,3,4,5,9) ตำบลแม่ลาด ตำบลวังแขม ตำบลหัวถนน ตำบลวังบัว และตำบลคลองสมบูรณ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด มอบถุงยังชีพ 3,000 ชุด น้ำดื่ม 4,000 ขวด และ กระสอบทราย 13,000 ถุง ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- อำเภอ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ จัดเจ้าหน้าที่ อปพร. เครื่องมือ อุปกรณ์ และรถกู้ภัย ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย แล้ว
6.2 จังหวัดในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน รวม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ ริมแม่น้ำ และพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ 10 ตำบล (ต.บางระกำ ต.ปลักแรด ต.บึงกอก ต.หนองกุลา ต.ชุมแสงสงคราม ต.นิคมพัฒนา ต.บ่อทอง ต.ท่านางงาม ต.คุยม่วง และ ต.วังอิทก) อำเภอพรหมพิราม 3 ตำบล (ต.ท่าช้าง ต.หนองแขม และ ต.พรหมพิราม) อำเภอวังทอง 9 ตำบล 102 หมู่บ้าน และอำเภอบางกระทุ่ม 8 ตำบล 70 หมู่บ้าน
- จังหวัดสุโขทัย จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก 10 ตำบล (ต.ป่ากุมเกาะ ต.ในเมือง ต.วังไม้ขอน ต.นาทุ่ง ต.ย่านยาว ต.คลองกระจง ต.ท่าทอง ต.เมืองบางยม ต.เมืองบางขลัง และ ต.หนองกลับ)อำเภอศรีสำโรง 12 ตำบล (ต.สามเรือน ต.วัดเกาะ ต.บ้านนา ต.วังทอง ต.วังใหญ่ ต.คลองตาล ต.ทับผึ้ง ต.บ้านไร่ ต.บ้านซ่าน ต.ราวต้นจันทน์ ต.เกาะตาเลี้ยง และ ต.วังลึก) อำเภอเมือง 8 ตำบล 1 เทศบาล (ต.ยางซ้าย ต.ปากพระ ต.บ้านสวน ต.บ้านหลุม ต.ตาลเตี้ย ต.วังทองแดง ต.ปากแคว ต.บ้านกล้วย และเทศบาลตำบลบ้านสวน) อำเภอกงไกรลาศ 10 ตำบล (ต.ท่าฉนวน ต.บ้านกร่าง ต.กง ต.ป่าแฝก ต.หนองตูม ต.ไกรกลาง ต.กกแรต ต.บ้านใหม่สุขเกษม ต.ไกรนอก และ ต.ดงเดือย) และ อำเภอคีรีมาศ 5 ตำบล (ต.บ้านป้อม ต.ทุ่งหลวง ต.สามพวง ต.โตนด และ ต.หนองกระดิ่ง)
- จังหวัดพิจิตร จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 1 เทศบาล 11 ตำบล (เทศบาลตำบลท่าฬ่อ ต.ในเมือง ต.ฆะมัง ต.บ้านบุ่ง ต.ปากทาง ต.ย่านยาว ต.สายคำโห้ ต.ป่ามะคาบ ต.หัวดง ต.ท่าฬ่อ ต.ดงป่าคำ และ ต.ดงกลาง) อำเภอสามง่าม 4 ตำบล (ต.รังนก ต.กำแพงดิน ต.สามง่าม และ ต.เนินปอ) อำเภอวชิรบารมี 4 ตำบล (ต.วังโมกข์ ต.หนองหลุม ต.บ้านนาและ ต.บึงบัว) อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 7 ตำบล (ต.วังจิก ต.ไผ่ท่าโพธิ์ ต.โพธิ์ประทับช้าง ต.ไผ่รอบ ต.ดงเสือเหลือง ต.เนินสว่าง และ ต.ทุ่งใหญ่) อำเภอโพทะเล 8 ตำบล (ต.ทะนง ต.ท่าขมิ้น ต.ท่าบัว ต.ท่านั่ง ต.ท่าเสา ต.ท้ายน้ำ ต.บางคลาน และ ต.โพทะเล) และอำเภอตะพานหิน 1 เทศบาล 10 ตำบล (เทศบาลเมืองตะพานหิน ต.งิ้วราย ต.ห้วยเกตุ ต.ทุ่งโพธิ์ ต.ดงตะขบ ต.ไทรโรงโขน ต.วังหลุม ต.หนองพยอม ต.คลองคูณ ต.วังสำโรง และ ต.ไผ่หลวง )
- จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 8 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 11 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลนครนครสวรรค์ ต.เกรียงไกร ต.พระหลวง ต.บึงเสนาท ต.แควใหญ่ ต.วัดไทรย์ ต.บ้านแก่ง ต.กลางแดด ต.สวรรค์ออก ต.พระนอน ต.บางม่วง และ ต.บ้านมะเกลือ) อำเภอชุมแสง 11 ตำบล (ต.โคกหม้อ ต.บางเคียน ต.ท่าไม้ ต.ฆะมัง ต.พิกุล ต.หนองกระเจา ต.พันลาน ต.เกยไชย ต.ทับกฤชใต้ ต.ทับกฤช และ ต.ไผ่สิงห์) อำเภอหนองบัว 2 ตำบล (ต.ห้วยร่วม และ ต.ห้วยถั่วเหนือ) อำเภอเก้าเลี้ยว 1 ตำบล (ต.หนองเต่า) อำเภอโกรกพระ 4 ตำบล (ต.ยางตาล ต.โกรกพระ ต.บางมะฝ่อ ต.บางประมุง อำเภอพยุหะคีรี 3 ตำบล (ต.ยางขาว ต.พยุหะ และ ต.ย่านมัทรี) อำเภอบรรพตพิสัย 2 ตำบล (ต.หนองตางู และ ต.หนองกรด) และ อำเภอท่าตะโก 10 ตำบล กิ่ง อ.ชุมตาบง 2 ตำบล และ กิ่งอำเภอแม่เปิน 1 ตำบล ระดับน้ำสูงเฉลี่ยประมาณ 0.50-0.80 ม.มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ นั้น ทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
ระดับน้ำในแม่น้ำยม ที่ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 2 ต.ค.49
ระดับน้ำสูง 42.90 ม. (ระดับตลิ่ง 40.50 ม.) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.40 ม.
ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 2 ต.ค.49 ที่สถานี Y.33 อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 7.26 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 2.74 ม. ที่สถานี Y.4 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 5.40 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 2.05 ม. และที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.43 ม. (ระดับตลิ่ง 9.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.43 ม.
6.3 จังหวัดชัยนาท
1) อำเภอหันคา น้ำจากอำเภอเนินขามไหลลงคลองสาขาและเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลหันคา ตำบลบ้านเซี่ยน ตำบลเด่นใหญ่ ตำบลไพรนกยูง ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ ตำบลหนองแซง ตำบลห้วยงู และตำบลวังไก่เถื่อน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 เมตร
2) อำเภอมโนรมย์ น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลคุ้งสำเภา (หมู่ที่ 1,2,4) ตำบลวัดโคก(หมู่ที่1-5) ตำบลศิลาดาน (หมู่ที่ 1-4,6) ตำบลท่าฉนวน (หมู่ที่1-6,10) ตำบลหางน้ำสาคร (หมู่ที่3,4) ตำบลอู่ตะเภา (หมู่ที่3,4) และตำบลไร่พัฒนา (หมู่ที่4) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 เมตร ระดับน้ำทรงตัว
6.4 จังหวัดอุทัยธานี เกิดฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรังเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าซุง (หมู่ที่ 1,2,4,5,6,7) ตำบลสะแกกรัง (หมู่ที่ 1,4,5,7,8) ตำบลน้ำซึม (หมู่ที่ 1,2,3,4,7) ตำบลเทโพ (หมู่ที่ 1,2,5,6) และตำบลเนินแจง (หมู่ที่ 8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
2) อำเภอหนองขาหย่าง ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองไผ่ (หมู่ที่ 2) และตำบลหลุมเข้า (หมู่ที่ 1,2,3)
การให้ความช่วยเหลือ
- ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี (นายปรีชา บุตรศรี) พร้อมด้วยเหล่ากาชาดจังหวัดอุทัยธานี และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุทัยธานี มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 1,180 ชุด
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบถุงยังชีพ 700 ชุด
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าซุง ติดตั้งเต้นท์ 8 หลัง เพื่อเป็นที่พักชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัย
6.5 จังหวัดสิงห์บุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภออินทร์บุรี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 เทศบาล 6 ตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลอินทร์บุรี ตำบลอินทร์บุรี ตำบลประศุก ตำบลน้ำตาล (หมู่ที่ 7,8) ตำบลท่างาม (หมู่ที่ 7-11) ตำบลชีน้ำร้าย (หมู่ที่ 1-8) และตำบลทองเอน (หมู่ที่ 5-15) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม. ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
2) อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขังบริเวณชุมชนริมแม่น้ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
3) อำเภอพรหมบุรี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางน้ำเชี่ยว และตำบลปากบาง
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดสิงห์บุรี หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ตรวจสถานการณ์อุทกภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นแล้ว
6.6 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรที่อยู่ริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรของตำบลจำปาหล่อ (หมู่ที่ 1-4) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
2) อำเภอป่าโมก มีน้ำท่วมขังพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโผงเผง (หมู่ที่ 1-8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.90-1.50 ม. ตำบลบางปลากด (หมู่ที่ 6) และตำบลบางเสด็จ (หมู่ที่ 2,3,5,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม. สำหรับบริเวณที่ว่าการอำเภอป่าโมก ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 1.50 ม. อำเภอได้ขนย้ายเครื่องมืออุปกรณ์และเอกสารจากชั้นล่างของอาคารที่ว่าการอำเภอ ไปปฏิบัติงานบริเวณชั้นบนของอาคารแล้ว
3) อำเภอไชโย มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 1 เทศบาล 6 ตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลจระเข้ร้อง (หมู่ที่ 2,4,7) ตำบลซะไว (หมู่ที่ 1-3) ตำบลตรีณรงค์ (หมู่ที่ 1-3) ตำบลชัยฤทธิ์ (หมู่ที่ 1) ตำบลหลักฟ้า (หมู่ที่ 1,2) ตำบลไชยภูมิ (หมู่ที่ 6) และตำบลเทวราช (หมู่ที่ 1-7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม.
4) อำเภอแสวงหา มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรที่ตำบลบ้านพราน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอ่างทอง ได้จัดส่งถุงยังชีพให้อำเภอป่าโมก เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ประสบภัย และเหล่ากาชาดจังหวัดอ่างทองมอบถุงยังชีพ ยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 500 ชุด
- อำเภอป่าโมก องค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง บางเสด็จ และ อปพร. เสริมคันกั้นน้ำโดยนำกระสอบทรายไปวางเป็นแนวป้องกันไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน พร้อมเร่งสูบน้ำระบายออกในจุดที่ทำแนวป้องกันในเขตชุมชน ซึ่งสามารถช่วยเหลือได้เป็นบางส่วน
- มณฑลทหารบกที่ 13 ระดมเครื่องมือ พร้อมเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 นาย ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
6.7 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อยมีระดับสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มริมฝั่งบางจุดใน 5 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลภูเขาทอง และตำบลบ้านใหม่ ซึ่งอยู่นอกแนวป้องกันน้ำท่วม ระดับน้ำสูง 0.70-1.00 ม.
2) อำเภอบางบาล น้ำในแม่น้ำน้อยได้เอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรริมน้ำ และพื้นที่การเกษตร 16 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำเต้า (หมู่ที่ 1-8) ตำบลทางช้าง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลวัดตะกู (หมู่ที่ 1-9) ตำบลกบเจ้า(หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางหลวง (หมู่ที่ 1-5) ตำบลไทรน้อย (หมู่ที่ 1-10) ตำบลบ้านกุ่ม (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบางบาล (หมู่ที่ 1-9) ตำบลวัดยม (หมู่ที่ 1-4) ตำบลสะพานไทย (หมู่ที่ 1-5) ตำบลพระขาว (หมู่ที่ 1-7) ตำบลบางหัก (หมู่ที่ 1-8) ตำบลบางหลวงโดด (หมู่ที่ 1-4) ตำบลบางชะนี (หมู่ที่ 1-5) ตำบลบ้านคลัง (หมู่ที่ 1-7) และตำบลมหาพราหมณ์ (หมู่ที่ 1-10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.10 ม. แนวโน้มสถานการณ์น้ำท่วมจะขยายวงกว้างออกไปอีก
3) อำเภอบางไทร น้ำในแม่น้ำน้อยได้เอ่อท่วมในพื้นที่บ้านเรือนราษฎรริมน้ำ และพื้นที่การเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลกระแชง (หมู่ที่ 1,2,3,5) และตำบลช้างน้อย (หมู่ที่ 1-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.00 ม.
4) อำเภอผักไห่ ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลผักไห่ (หมู่ที่ 2,3,4,11,12) ตำบลท่าดินแดง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลบ้านใหญ่ (หมู่ที่ 5,6) และตำบลกุฎี (หมู่ที่ 12) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.40 ม.
5) อำเภอเสนา น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นการเกษตรใน 7 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองเสนา ตำบลรางจระเข้ ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลสามกอ ตำบลหัวเวียง ตำบลบ้านโพธิ์ ตำบลบ้านแพน และ ตำบลบางนมโค ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอ/กิ่งอำเภอ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานในพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้นแล้ว
- เหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มอบถุงยังชีพ ยาและเวชภัณฑ์ จำนวน 1,000 ชุด
6.8 จังหวัดลพบุรี เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าตาล (หมู่ที่ 2,3,5,7,8) ตำบลท่าศาลา (หมู่ที่ 2,5,6,7) ตำบลบางขันหมาก (หมู่ที่ 9,10,11) ตำบลพรหมมาสตร์ (หมู่ที่ 3,4,5) และตำบลดอนโพธิ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2) อำเภอท่าวุ้ง เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 2 ตำบลได้แก่ ตำบลบางลี่ (หมู่ที่ 1-16) และตำบลโพตลาดแก้ว (หมู่ที่ 1,4,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
3) อำเภอบ้านหมี่ เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรของตำบลหนองเมือง (หมู่ที่ 1,2,3,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- อำเภอ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้ขุดลอกคลองและทางระบายน้ำเพื่อให้การระบายน้ำได้ดียิ่งขึ้น พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ อส. อปพร. คอยให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัย
- ชลประทานจังหวัดสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 3 เครื่อง ระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
6.9 จังหวัดปทุมธานี แม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง มีน้ำท่วมพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านกระแชง (หมู่ที่ 3) ตำบลบ้านกลาง ตำบลบางพูน ตำบลบางขะแยง และตำบลบางคูวัด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
2) อำเภอสามโคก มีน้ำท่วมพื้นที่ 1 เทศบาล 10 ตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลบางเตย ตำบลสามโคก (หมู่ 1,2,3,4) ตำบลบางกระบือ (หมู่ที่ 1,2,3) ตำบลกระแซง (หมู่ที่ 2) ตำบลคลองควาย (หมู่ที่1,10) ตำบลท้ายเกาะ (หมู่ที่1,2,3) ตำบลเชียงรากใหญ่ (หมู่ที่3,4,7) ตำบลเชียงรากน้อย(หมู่ที่ 5) ตำบลบ้านงิ้ว (หมู่ที่ 3,4,5) ตำบลบางโพธิ์เหนือ (หมู่ที่ 1,2) และตำบลบ้านปทุม (หมู่ที่ 3,6)
3) อำเภอคลองหลวง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองหนึ่ง ถึง ตำบลคลองเจ็ด
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี อำเภอ/กิ่งอำเภอ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานในพื้นที่ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
6.10 จังหวัดนนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงขึ้นไหลหลากเข้าท่วมตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 เมตร ในช่วงน้ำทะเลหนุน จังหวัดและอำเภอ ได้ระดมเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือแล้ว สำหรับพื้นที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำบางจุด มีผลกระทบเช่นเดียวกัน
6.11 จังหวัดฉะเชิงเทรา แม่น้ำบางปะกงเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของอำเภอบางคล้า มีน้ำท่วมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวไทร ตำบลท่าทองหลาง และตำบลเสม็ดใต้ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอ/กิ่งอำเภอ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานในพื้นที่ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
6.12 จังหวัดชลบุรี เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมขังในพื้นที่ อำเภอพานทอง จำนวน 1 เทศบาล 4 ตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลพานทอง (หมู่ที่ 10) ตำบล พานทอง ตำบลหนองกะขะ ตำบลมาบโป่ง (หมู่ที่ 2) และตำบลหนองหงส์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
6.13 จังหวัดปราจีนบุรี เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอกบินทร์บุรี เกิดน้ำท่วมขัง 5 ตำบลได้แก่ ตำบลวังตะเคียน (หมู่ที่ 1-3) ตำบล วังตาล (หมู่ที่ 3-8) ตำบลหนองกี่ (หมู่ที่ 1-6,9,10) ตำบลนาแขม (หมู่ที่ 1,2,8) และตำบลกบินทร์บุรี (หมู่ที่ 1,3,5,9,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. และบริเวณทางเข้านิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี สี่แยกโคกอุดม ถนนสายสุวรรณศร บริเวณหน้าเครือสหพัฒน์ ถึง โรงเรียนกบินทร์วิทยา และบริเวณตลาดเก่ากบินทร์บุรีในเขตเทศบาลตำบลกบินทร์บุรี ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2) อำเภอนาดี เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตร 3 ตำบลได้แก่ ตำบลสำพันตา (หมู่ที่ 1-3) ตำบลแก่งดินสอ (หมู่ที่4,5) และตำบลทุ่งโพธิ์ (หมู่ที่ 3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
3) อำเภอบ้านสร้าง เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตรของตำบลบ้านสร้าง (หมู่ที่ 10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี นำกำลัง อส. อปพร. เรือท้องแบน รถเครนยกรถยนต์ เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
6.14 จังหวัดจันทบุรี เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่กิ่งอำเภอเขาคิชกูฎ ที่ตำบลจันทเขลม ทำให้คอสะพานและสะพานชำรุดเสียหาย 3 แห่ง จังหวัดได้จัดส่งเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลเข้าไปถมคอสะพาน และซ่อมแซมสะพานแล้ว
6.15 จังหวัดขอนแก่น เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำในแม่น้ำชีที่ไหลมาจากจังหวัดชัยภูมิ เอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่การเกษตรของอำเภอแวงใหญ่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลโนนสะอาด และตำบลโนนทอง รวม 15 หมู่บ้าน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- ในวันพรุ่งนี้ (3 ต.ค.49) ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เหล่ากาชาดจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 6 ขอนแก่น สนับสนุนเรือท้องแบน 2 ลำ
- อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในพื้นที่สูง พร้อมจัดหาอาหารสัตว์
6.16 จังหวัดพังงา เนื่องจากฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร หมู่ที่ 8 ตำบลโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ เด็กชายวศวรรต ปรีสิงห์ อายุ 3 ปี ราษฎร หมู่ที่ 8 ตำบลโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า
6.17 กรุงเทพมหานคร ได้เกิดฝนตกต่อเนื่อง และน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นทำให้เกิด น้ำท่วมในเขตลาดกระบัง (ถนนคุ้มเกล้าฝั่งใต้ และถนนชุมทอง-ลำต้อยติ่ง) เขตวังทองหลาง (ซอยรามคำแหง 9 และซอยลาดพร้าว 91) เขตมีนบุรี (หมู่บ้านธนกรทั้ง 2 ฝั่ง และบริเวณที่กลับรถใต้สะพานข้ามคลองสามวา) เขตบางกะปิ (ถนนกรุงเทพกรีฑาและซอยแยก) เขตประเวศน์ (ซอยเฉลิมพระเกียรติ 72 และถนนสุขาภิบาล 2) เขตหนองจอก (ถนนสังฆประชา ถนนเลืยบคลองลำมะขาม-ลำกอไผ่ ถนนเลียบคลองบึงโคล่ ถนนเลียบคลองลำต้นไทร ถนนเลียบคลองลำนกแขวก เคหะฉลองกรุง ถนนเลียบคลองลำแขก ถนนเลียบคลองลำมดตะนอย ถนนซอยแก้วประดับ ถนนเลียบคลองไทรชะมด ถนนเลียบคลองลำตาอินทร์ ถนนนิลเหมนิยม ถนนเลียบคลองลำต้นกล้วย และถนนเลียบคลองลำอีรั้ว) และเขตสวนหลวง (ซอยพัฒนาการ 58 หมู่บ้านเอื้อสุข) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้ใช้กระสอบทรายวางเป็นแนวกั้นน้ำ พร้อมใช้เครื่อง สูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่แล้ว
7. สิ่งของพระราชทาน
1) เมื่อวานนี้ (1 ต.ค.49) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดเกล้าฯให้ พลตรีศักดา พลอยไป รองหัวหน้าฝ่ายที่ประทับ กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์ นำถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 1,000 ถุง มอบให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อไป
8. การให้ความช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดส่งเรือท้องแบนไปช่วยเหลือในพื้นประสบภัยของจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา จำนวน 83 ลำ แจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 55,000 ชุด และส่งรถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน ไปผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด ช่วยเหลือที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 คัน และที่จังหวัดอ่างทอง 1 คัน
9. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 2 ต.ค. 49)
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 12,679 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 783 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 94 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง 8,977 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 533 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 94 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ปริมาตรน้ำ 580 ล้าน ลบ.ม. (รับน้ำได้อีก 130 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 82 ของความจุ มีการระบายน้ำ จำนวน 104.00 ลบ.ม./วินาที และระบายน้ำโดยวิธีกาลักน้ำได้ 3.30 ลบ.ม./วินาที (วางท่อ 10 แถว) รวมระบายน้ำทั้งหมด 107.30 ลบ.ม./วินาที เพื่อพร่องน้ำในอ่างฯไว้รอรับน้ำหลากในช่วงฝนชุก
10. สภาพน้ำเจ้าพระยา
10.1 วันที่ 2 ต.ค.49 มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ จำนวน 3,444 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จำนวน 2,574 ลบ.ม./วินาที และมีปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนพระรามหก จำนวน 421 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 2,995 ลบ.ม./วินาที ทำให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นพื้นที่น้ำท่วมเหมือนกับทุกๆ ปีที่เคยเกิด (กรณีปริมาณน้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที จะทำให้น้ำท่วม อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สองฝั่งเจ้าพระยาของ จ.สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
10.2 ในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างได้มีการระบายน้ำและสูบน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 2.12 ล้าน ลบ.ม. ระบายและสูบน้ำลงแม่น้ำบางประกงวันละ 6.61 ล้าน ลบ.ม. ระบายและสูบออกทะเลวันละ 19.04 ล้าน ลบ.ม. และในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตกมีการระบายน้ำและสูบน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีนวันละ 9.17 ล้าน ลบ.ม. ส่วนในแม่น้ำเจ้าพระยามีโครงการลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการเปิดปิดบานโดยการระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเปิดบานระบายน้ำในช่วงน้ำทะเลลง และปิดบานระบายน้ำในช่วงน้ำทะเลขึ้น โดยเมื่อวันที่ 1 ต.ค.49 สามารถระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ลงแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 13 ชั่วโมง โดยมีปริมาณน้ำผ่านสูงสุด ประมาณ 500 ลบ.ม./วินาที
11. จากการตรวจสอบสภาวะฝนจากสถานีเรดาร์อุตุนิยมวิทยา ในวันนี้ (2 ต.ค.49) เวลา 16.30 น. พบ กลุ่มฝนกำลังอ่อนถึงปานกลาง ปกคลุมเกือบเต็มพื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท และปกคลุมบางส่วนของพื้นที่ของจังหวัดน่าน ตาก กำแพงเพชร สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี เลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมาสมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา และกระบี่
12. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประกาศแจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-12 และรวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ที่คาดว่าจะเกิดภัยให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
13. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ