ปภ. เตือนคนริมชายฝั่งทะเล รับมือคลื่นซัดฝั่งในช่วง พ.ย. 52 — ม.ค. 53

ข่าวทั่วไป Monday November 9, 2009 10:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณที่ลุ่มริมชายฝั่งทะเล กว่า 15.689 ล้านคน เตรียมพร้อมรับมือคลื่นพายุซัดฝั่งระดับรุนแรงในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 — มกราคม 2553 โดยดูแล ซ่อมแซม สิ่งปลูกสร้างและเสริมแนวคันตลิ่งริมชายฝั่งทะเลให้มีความมั่นคงและแข็งแรง ชาวประมง ห้ามนำเรือเล็กออกจากฝั่งในช่วงที่มีประกาศแจ้งเตือนภัย สำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว ให้ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ เพื่อให้ทราบระดับความแรงของคลื่นในทะเลจะได้วางแผนกิจกรรมการท่องเที่ยวได้เหมาะสมกับสถานการณ์ นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในช่วง 1 — 2 วันที่ผ่านมาพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยต้องเผชิญกับคลื่นพายุซัดฝั่ง ทำให้จังหวัดที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่ ซึ่งจากประสานการคาดการณ์ลักษณะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ช่วงเดือนพฤศจิกายน — ธันวาคมของทุกปีเป็นช่วงที่มักเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งอย่างรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่หลายส่วนของประเทศไทยจัดอยู่ในประเภทพื้นที่ลุ่มชายฝั่งที่มีความสูงไม่เกิน 10 เมตร ส่งผลให้คนไทยที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่มชายฝั่งทะเล ประมาณ 15.689 ล้านคน และแนวชายฝั่งทะเลของประเทศซึ่งมีความยาวประมาณ 2,667 กิโลเมตร มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากคลื่นพายุซัดฝั่ง สำหรับพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งระดับรุนแรง ได้แก่ บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีจนถึงจังหวัดสงขลา รวมทั้งภาคตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชลบุรีจนถึงจังหวัดตราด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือคลื่นพายุซัดฝั่งที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูมรสุม ขอแนะวิธีปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย ดังนี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเล ร่วมกันดูแลซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง และเสริมแนวคันตลิ่งริมชายฝั่งทะเลให้มีความมั่นคงและแข็งแรง ด้วยการนำยางรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้แล้ว มากลับด้านในออก นำมาเรียงต่อกันแล้วเชื่อมต่อกันด้วยสกรูที่ปลอดสนิมในลักษณะเหมือนกับรังผึ้ง วางเรียงตามแนวริมชายฝั่งทะเล แล้วใส่หินไว้ด้านใน พร้อมทั้งปลูกต้นไม้ตรงกลางยางรถยนต์จะช่วยป้องกันอันตรายจากคลื่นซัดฝั่งได้ อีกทั้งควรหมั่นติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด หากมีประกาศแจ้งเตือนภัยคลื่นซัดฝั่ง ให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ถ้าอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลให้ขนย้ายทรัพย์สิน พร้อมรีบอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย หรือออกให้ห่างจากชายฝั่งทะเลให้มากที่สุด ชาวประมง ห้ามนำเรือเล็กออกจากฝั่งในช่วงที่มีประกาศเตือนภัย หากือข้ามฟากล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิต ดินโคลนถล่มในน้ำตกซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจงหวัดต่างๆ หรือการเกิดคมีคลื่นลมแรงในขณะที่ล่องเรืออยู่กลางทะเล ให้รีบนำเรือไปหลบในบริเวณที่อับลมหรือพื้นที่ที่ปลอดภัยในทันที ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเล ควรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบระดับความแรงของคลื่นในทะเลจะได้วางแผนกิจกรรมการท่องเที่ยวได้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงตรวจสอบสภาพอากาศก่อนนำเรือออกจากฝั่งทุกครั้ง หากมีประกาศเตือนเกี่ยวกับการเกิดพายุหรือคลื่นลมแรง ควรงดการให้บริการท่องเที่ยวทางทะเล และงดนำเรือออกจากฝั่งอย่างเด็ดขาด ท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากคลื่นพายุซัดฝั่ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อจะได้ประสานการช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ