กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--เอพีพีอาร์ มีเดีย
และนี่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่สแปมเมอร์พุ่งเป้ามาที่เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์คที่ดูน่าเชื่อถือ เพื่อล่อลวงเหยื่อที่ไม่ทันระวังตัว ซึ่งครั้งนี้เป็นคราวของเฟซบุ๊คนั่นเอง ฝ่ายปฏิบัติการตอบสนองภัยคุกคามของไซแมนเทคพบว่าสแปมเมอร์อาศัยความนิยมของเฟสบุ๊คมาเป็นช่องทางในการปล่อยไวรัส Trojan.Bredolab ซึ่งเป็นไวรัสประเภทโทรจันที่แพร่กระจายไปสู่วงกว้างอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โทรจันตัวนี้มีความสามารถในการโหลดแอพลิเคชันขโมยรหัสผ่านบอท รูทคิท และโปรแกรมหลอกลวงต่างๆ เข้าสู่ระบบ
สแปมเมอร์ทำการหลอกลวงผู้ใช้ด้วยการส่งอีเมลแจ้งเตือนเกี่ยวกับความผิดพลาดเรื่องของรหัสผ่านในการเข้าเฟสบุ๊ค โดยโน้มน้าวให้ผู้รับทำการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ โดยให้เข้าไปที่ zipไฟล์ ที่แนบมาเพื่อดูรหัสใหม่ ซึ่งใน zip ไฟล์ ที่ว่าจะแฝงไวรัส Trojan.Bredolab มาด้วย ตามตัวอย่างอีเมลด้านล่าง
ไซแมนเทค ได้แนะนำการป้องกันภัยจากการถูกโจมตีในลักษณะนี้ ได้แก่
- ก่อนจะคลิ๊กเข้าไปที่ไหนก็ตาม ให้ระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวลาคลิกลิงก์ที่ไม่ทราบที่มา
- ควรจำไว้เสมอว่าห้ามทำการโต้ตอบกับอีเมลขยะ เพราะการตอบรับจะยิ่งทำให้สแปมเมอร์รู้ว่าอีเมลขยะที่ส่งหว่านออกไปมีผู้รับที่แท้จริง จะทำให้ได้รับอีเมลขยะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการคลิกลิงค์ในอีเมลขยะ เพื่อปฏิเสธการรับข้อความ จะยิ่งเป็นการยืนยันกับสแปมเมอร์ว่ามีคนเปิดอ่านอีเมลขยะ ควรลบอีกเมลขยะที่น่าสงสัยในทันทีโดยไม่ต้องเปิดอ่าน
- มีอีเมลเอาไว้ใช้หลายอันสำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ โดยมีหนึ่งอีเมลเอาไว้สำหรับใช้งานส่วนตัวเช่นติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูง มีอีเมลอีกหนึ่งอันเอาไว้รับข่าวสารต่างๆ และอีกหนึ่งอันเอาไว้สั่งซื้อของทางอินเทอร์เน็ต
- ระวังให้ดีก่อนที่จะกรอกอีเมลแอดเดรสของคุณลงในเว็บ เพราะอีเมลของคุณที่โชว์อยู่บนเว็บเพจเหล่านี้สามารถถูกอ่านได้ด้วยโปรแกรมบอทที่ทำหน้าที่คอยเก็บสะสมอีเมลตามเว็บเพจต่างๆ
- ติดตั้งระบบป้องกัน และต้องมั่นใจว่าโซลูชันรักษาความปลอดภัยที่คุณใช้นั้นมีการอัพเดทอยู่ตลอด เพื่อช่วยป้องกันอีเมลขยะ และไวรัสได้ ในขณะที่คุณสามารถรับอีเมลอื่นได้ตามปกติ ซึ่งคุณอาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยอย่าง Norton Internet Security 2010 โดยสามารถเข้าไปดูบริการด้านความปลอดภัยของเว็บเช่น Norton Safe Web ที่เป็นชุมชนของบรรดาคนใช้เว็บที่ช่วยกันรายงานเรื่องของเว็บไซต์อันตรายที่มีฟิชชิ่งและซอฟต์แวร์อันตรายทำงานอยู่
สำหรับสื่อมวลชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด
คุณกณวรรธน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 02-655-6633, Kanawat@apprmedia.com
คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ 02-655-6633 Busakorn@apprmedia.com