สารไตรคลอโรเอทธิลีน (TCE) ภายใต้ระเบียบ REACH

ข่าวทั่วไป Wednesday November 11, 2009 14:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ย.--คต. นายวิจักร วิเศษน้อย รักษาการอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.)ได้กล่าวถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานที่สัมผัสกับสารTCE (Trichloroethylene CAS NO 79-01-6) ในไทยตามที่ได้รับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของกระทรวงสาธารณสุขว่า สาร TCE เป็นสารอินทรีย์ระเหยชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางและกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศ การเผาไหม้ หรือการระเหยของสารTCE จะเกิดสารระคายเคืองและก๊าซพิษ ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสสาร TCE ได้ง่าย คือ แรงงานที่ทำงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ การทอผ้า การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และอื่นๆ การรับสาร TCE โดยการสัมผัสจะทำให้สารชนิดนี้กระจายไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย โดยผ่านทางเลือดไปเลี้ยงสมอง และทาง สายรก รวมทั้งสามารถสะสมได้ในเนื้อเยื่อไขมัน กรณีมีการสัมผัสทางผิวหนังจะทำให้เกิดผื่นแดง แต่หากได้รับสารพิษอย่างเฉียบพลันจะทำให้เกิดการทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ปอด ตับ ไต และมีผลต่อระบบหัวใจหลอดเลือด และระบบทางเดินอาหาร หมดสติ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นายวิจักร กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีการนำสาร TCE มาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลายทั่วโลกในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2551 ไทยมีการนำเข้าสาร TCE ในปริมาณมากถึงกว่า 4 หมื่นตัน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้า ส่วนหนึ่งเพื่อการส่งออก เนื่องจากสาร TCE จัดเป็นสาร CMR (ก่อให้เกิดมะเร็ง สะสมในสิ่งมีชีวิตอย่างยาวนานและเป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์) การใช้สารดังกล่าวของผู้ผลิต และผู้บริโภคจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง แม้ว่าขณะนี้ สาร TCE ยังไม่ถูกบรรจุใน Candidate และ/หรือ Authorization List คาดว่า EU อาจจะประกาศให้อยู่ใน List รายการทั้ง 2 List ดังนั้น ต้องแจ้งการใช้งาน และ/หรือต้องขออนุญาตก่อนการใช้ในที่สุด ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมที่ต้องใช้สารนี้ในการผลิตสินค้าต้องปรับตัวหาสารอื่นทดแทน อย่างไรก็ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในสายการผลิตของการใช้สารTCE ต้องตระหนักถึงการใช้สารดังกล่าว ติดตามความคืบหน้าและเร่งทำความเข้าใจกับระเบียบ REACH อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะรายชื่อของสารเคมีรายการอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเข้าข่ายสาร CMR ที่จำเป็นต้องแจ้งข้อมูลการใช้/ขออนุญาตก่อนใช้ ประกอบกับหลายประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ เป็นต้น กำลังนำระเบียบดังกล่าวมาปรับและประกาศใช้บังคับเช่นเดียวกับ EU โดยที่หน่วยงานจัดการสารเคมียุโรป (ECHA) อยู่ระหว่างการเร่งเตือนผู้ใช้สารเคมีปลายน้ำ (บริษัท/ผู้ประกอบการที่มีการใช้สารเคมีมากกว่า 1 ตัน/ปี) ต้องแจ้งข้อมูลการใช้ประโยชน์ สถานะตลอดจนเงื่อนไขการใช้ประโยชน์จากสารเคมีเป็นลายลักษณ์อักษรให้กับ Suppliers ของตน ให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 เพื่อให้ Suppliers ดำเนินการจดทะเบียนสารเคมีให้ทัน ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ศกนี้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการท่านใด สนใจรายละเอียดสามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=02059และ http://www.tcetoday.com/MagPDFs/791legal.pdf

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ