รายงานสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 5 ก.ย.49 เวลา 07.00 น.

ข่าวทั่วไป Tuesday September 5, 2006 10:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ก.ย.--ปภ.
1. อิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่
ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 4 คน จังหวัดลำปาง 1 คน (อำเภอแม่เมาะ) จังหวัดสุโขทัย 3 คน (อำเภอเมือง 1 คน อำเภอสวรรคโลก 2 คน)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 14 หลัง ( จ.ลำพูน ) ความเสียหายด้านอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจและได้ตรวจสอบไปยังจังหวัดที่ประสบภัยเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันนี้ (5 ก.ย.49) ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำพูน สุโขทัย พิษณุโลก ตาก และพิจิตร ดังนี้
1.1 จังหวัดสุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลปากแคว (หมู่ที่ 1-9) ตำบลตาลเตี้ย (หมู่ที่1- 4) ตำบลยางซ้าย (หมู่ที่ 2,9,11,12) ตำบลวังทองแดง (หมู่ที่ 1,3,5,6) ตำบล บ้านสวน (หมู่ที่ 1-4,6,9,11,12) ตำบลบ้านหลุม (หมู่ที่ 1,4,9) และตำบลปากพระ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. ระดับน้ำทรงตัว ส่วนในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน น้ำยังคงท่วมขังที่ชุมชนโพทางข้าม ชุมชนบ้านเกาะ ชุมชนหลังตลาด ชุมชนหน้าโบสถ์ ชุมชนบ้านนอกตอนเหนือ และชุมชนบ้านนอกตอนใต้ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. ระดับน้ำทรงตัว
- ทางหลวงหมายเลข 101 ระหว่าง กม.ที่ 32-33 บริเวณวัดปากแคว ตำบลปากแควน้ำท่วมขังเป็นช่วงๆ สูงประมาณ 0.50 ม. ระยะทางประมาณ 800 เมตร รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้
2) อำเภอศรีสำโรง ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลสามเรือน ตำบลวัดเกาะ ตำบลบ้านนา ตำบลวังทอง ตำบลวังใหญ่ ตำบลทับผึ้ง และตำบลคลองตาล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. ระดับน้ำทรงตัว
- ทางหลวงหมายเลข 1056 ตอนศรีสำโรง-วัดเกาะ เชิงสะพานศรีสำโรง น้ำท่วมขังเป็นช่วงๆ สูงประมาณ 0.40 ม. ระยะทางประมาณ 800 เมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้
3) อำเภอกงไกรลาศ น้ำจากแม่น้ำยมได้ไหลเอ่อเข้าท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าฉนวน (หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12) ตำบลบ้านกร่าง (หมู่ที่ 3-5) ตำบลกง (หมู่ที่ 1,2,5,6,12)
ตำบลป่าแฝก (หมู่ที่ 2,3-9) ตำบลหนองตูม (หมู่ที่ 2-6) ตำบลไกรกลาง ตำบลไตรใน ตำบลกกแรด และตำบลบ้านใหม่สุขเกษม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ ที่ลุ่มแอ่งกะทะ และไม่มีตลิ่ง
4) อำเภอสวรรคโลก ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลปากกุมเกาะ (หมู่ที่ 1-4,9) ตำบลในเมือง (หมู่ที่ 3,4,9) ตำบลวังไม้ขอน (หมู่ที่ 1,2) ตำบลวังพิณพาทย์ (หมู่ที่ 1-3) ตำบลย่านยาว (หมู่ที่ 1-6,8,10-11) ตำบลคลองกระจง (หมู่ที่ 1-9) ตำบลท่าทอง (หมู่ที่ 2,3,4,6,7) ตำบลเมืองบางยม (หมู่ที่ 1-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
5) อำเภอศรีสัชนาลัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีสัชนาลัย (หมู่ที่ 1,2) ตำบลแม่สิน ตำบลสารจิตร และตำบลบ้านแก่ง (หมู่ที่ 10,11,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. ระดับน้ำลดลง
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 5 ก.ย.49 ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง (สถานี Y.1C) อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำสูง 3.08 ม. (ระดับตลิ่ง 8.20 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 5.12 ม. ที่ (สถานี Y.33) อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.75 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 0.75 ม. และที่ (สถานี Y.4) อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 6.66 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.79 ม. ที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.12 ม.(ระดับตลิ่ง 9.00ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.12 ม.
3.2 จังหวัดพิษณุโลก ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 7 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอวังทอง ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรใน 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าหมื่นราม ตำบลวังทอง ตำบลวังพิกุล ตำบลแม่ระกา ตำบลวังนกแอ่น ตำบลดินทอง ตำบลหนองพระ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. และ ตำบลพันชาลี (หมู่ที่ 1-4) ยังคงมีน้ำท่วมขังเนื่องจากเป็นที่รับน้ำจากตำบลท่าหมื่นราม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
2) อำเภอบางกระทุ่ม ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลวัดตายม (หมู่ที่ 1,2,3,5,7,8,) ที่ตำบลเนินกุ่ม (หมู่ที่ 1,7,8,9,11) ตำลบนครป่าหมาก (หมู่ที่ 7,8,9,10,13) และตำบลไผ่ล้อม (หมู่ที่ 5,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
3) อำเภอบางระกำ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 4 ตำบล ได้แก่ตำบลชุมแสง (หมู่ที่ 1,2,3,5,8,9) ตำบลคุยม่วง (หมู่ที่ 6,8,9) ตำบลท่านางงาม (หมู่ที่ 1,2,3) และตำบลนิคมพัฒนา ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
4) อำเภอพรหมพิราม ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตร 2 ตำบล ได้แก่ ตำบล ตลุกเทียม (หมู่ที่ 1-9) และตำบลหอกลอง (หมู่ที่ 6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
5) อำเภอนครไทย น้ำในลำคลองแควน้อยได้เอ่อล้นตลิ่งท่วมถนนทางหลวงหมายเลข 1143 กม.ที่ 19-29 เป็นช่วงๆ ระหว่างอำเภอนครไทย-ชาติตระการ ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำ บริเวณหมู่ 8 ตำบลบ้านพร้าว ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 เมตร
6) อำเภอชาติตระการ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตรของตำบลท่าสะแก (หมู่ที่ 1) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-0.80 ม. เนื่องจากเป็นที่ลุ่ม และที่หมู่ 4 ระดับสูงประมาณ 0.10-0.30 ม. ตำบลบ่อภาค ถนนสายนครไทย-พิษณุโลก น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-0.60 ม. รถเล็กไม่สามารถผ่านได้
7) อำเภอวัดโบสถ์ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านท้อแท้ (หมู่ที่ 3) ตำบลบ้านยาง ตำบลท่างาม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. เนื่องจากเป็นที่รับน้ำจากตำบลชันโค้งและตำบลหินลาด
3.3 จังหวัดลำพูน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอบ้านธิ ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มบริเวณริมน้ำแม่กวง ของตำบลบ้านธิ (หมู่ที่ 7,10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม. เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำกวง ยังมีระดับที่สูง
2) อำเภอแม่ทา ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลทาปลาดุก (หมู่ที่ 1-4) และ ตำบลทากาศ (หมู่ที่ 4-6,11) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
3) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองลำพูน บริเวณถนนหน้าสถานีรถไฟ โรงเรียนจักรคำคณาทร ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 เมตร รถเล็กสัญจรผ่านได้ ส่วนบริเวณชุมชนศรีบุญอ้น ชุมชนบ้านหลวย ชุ่มชนช่างฆ้อง ชุมชนไก่แก้ว ชุมชนสันป่ายางหน่อม ระดับน้ำ ยังสูง ประมาณ 0.50-1.00 ม. รถยนต์ไม่สามารถสัญจรได้
พื้นที่นอกเขตเทศบาล ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเหมืองง่า (หมู่ที่ 1-4,10) ตำบลต้นธง (หมู่ที่ 3,4,5,9,10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.00 ม. ตำบลเวียงยอง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลอุโมงค์ (หมู่ที่ 3,4,5,8,10,11) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม. และตำบลบ้านแป้น (หมู่ที่ 2,9) ระดับน้ำสูง 1.00-1.70 เมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ริมแม่น้ำทา ระดับน้ำลดลงอย่างช้าๆ
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำแม่กวง เมื่อเวลา 06.00 น. วันนี้ (5 ก.ย.49) ที่สะพานท่าสิงห์พิทักษ์ (P.5) อำเภอเมืองลำพูน ระดับน้ำสูง 5.82 (ระดับตลิ่ง 5.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 0.82 ม.
3.4 จังหวัดตาก น้ำในแม่น้ำวังได้เอ่อเข้าท่วมในพื้น 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอสามเงา น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลวังหมัน (หมู่ที่ 2-7) ตำบลวังจันทร์ หมู่ที่ 1-4) และตำบลยกกระบัตร (หมู่ที่ 1-9,11) ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม. ระดับน้ำเริ่มลดลง
2) อำเภอบ้านตาก น้ำในแม่น้ำวังเริ่มเอ่อไหลเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลแม่สลิด (หมู่ที่ 1-5,11) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-1.00 ม. ระดับน้ำทรงตัว
3.5 จังหวัดพิจิตร น้ำจากแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านเริ่มไหลเอ่อเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มริมน้ำ 5 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม ตำบลรังนก (หมู่ที่ 1-12) อำเภอเมือง ตำบลในเมือง ตำบลฆะมัง (หมู่ที่ 3) ตำบลปากทาง และตำบลท่าฬ่อ อำเภอวชิรบารมี ตำบลบ้านนา ตำบลวังโมกข์ และตำบลหนองหลุม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ตำบลหนองจิก กิ่งอำเภอสากเหล็ก ตำบลสากเหล็ก ตำบลท่าเยี่ยม ตำบลหนองหญ้าไทร ตำบลวังทับไทร และตำบลคลองทราย กิ่งอำเภอดงเจริญ ตำบลวังบ้านงิ้ว ตำบลวังบ้านงิ้วใต้ ตำบลขุนเณร ตำบลห้วยพุกและตำบลห้วยร่วม และอำเภอวังทรายพูน ตำบลวังทรายพูน (หมู่ที่ 4,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
2. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น วันที่ 4 ก.ย.49 ถึง 01.00 น วันที่ 5 ก.ย.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ.เมือง) 27.5 มม.
จังหวัดนนทบุรี (อ.บางบัวทอง) 17.5 มม.
จังหวัดกรุงเทพมหานคร (เขตหนองจอก) 17.5 มม.
จังหวัดชัยภูมิ (อ.เมือง) 7.4 มม.
3. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 5 กันยายน 2549 ออกประกาศเวลา 06.00 น.
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ทำให้ทุกภาคของประเทศมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่
4. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตาม และรายงาน ให้ทราบต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
(กลุ่มงานปฏิบัติการ) โทร. / โทรสาร 0-2241-7450-6 สายด่วน 1784

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ