กรุงเทพฯ--16 พ.ย.--โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนตุลาคม 2552 ปริมาณการขาย 53,271 คัน เพิ่มขึ้น 8.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 22,747 คัน เพิ่มขึ้น 23.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 30,524 คัน อัตราการเติบโตไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 26,487 คัน เพิ่มขึ้น 1.5%
สถิติการขายสะสม 10 เดือนของปี 2552 มีปริมาณทั้งสิ้น 419,755 คัน ลดลง 17.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 175,552 คัน ลดลง 5.0% รถเพื่อการพาณิชย์ 244,203 คัน ลดลง 25.0% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 211,377 คัน ลดลง 24.2%
p ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์เดือนตุลาคม มีปริมาณการขาย 53,271 คัน เพิ่มขึ้น 8.8% เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และสูงสุดในรอบ 18 เดือน โดยตลาดรถยนต์นั่งเติบโต 23.4% สูงสุดในรอบปี จากความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์หลายรุ่นทั้งขนาดกลางและเล็ก ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตไม่เปลี่ยนแปลง โดยตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.5% เป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการลงทุนของภาคเอกชน ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ส่งผลต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อที่ไม่เปลี่ยนแปลง และราคาสินค้าการเกษตรบางชนิดมีการปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
2. ตลาดรถยนต์สะสม 10 เดือนมีปริมาณการขาย 419,755 คัน ลดลง 17.7% เป็นอัตราการเติบโตที่หดตัวน้อยที่สุดของปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 5.0% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 25.0% ทั้งนี้ยอดขายรถยนต์สะสมยังคงหดตัวแต่เป็นการหดตัวที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในท้ายไตรมาส 3 ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การเร่งจ่ายงบประมาณภาครัฐ ตลอดจนการดำเนินการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ดำเนินการในครึ่งปีหลัง ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น
3. สำหรับตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน คาดว่าจะมีปริมาณการขายดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแนะนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ๆ ตลอดจนข้อเสนอพิเศษต่างๆ ที่แต่ละค่ายนำมาเสนอต่อผู้บริโภค เพื่อหวังบรรลุเป้าหมายทางการขายในช่วงสิ้นปี ประกอบกับราคาสินค้าการเกษตรที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการประกันราคาพืชผล ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน แต่อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจซึ่งต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนตุลาคม 2552
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 53,271 คัน เพิ่มขึ้น 8.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 23,786 คัน เพิ่มขึ้น 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 44.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,614 คัน เพิ่มขึ้น 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 19.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,009 คัน เพิ่มขึ้น 9.9% ส่วนแบ่งตลาด 16.9%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,747 คัน เพิ่มขึ้น 23.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,983 คัน เพิ่มขึ้น 36.4% ส่วนแบ่งตลาด 48.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 8,628 คัน เพิ่มขึ้น 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 693 คัน เพิ่มขึ้น 13.8% ส่วนแบ่งตลาด 3.0%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 26,487 คัน เพิ่มขึ้น 1.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,465 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 43.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,865 คัน เพิ่มขึ้น 4.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,813 คัน เพิ่มขึ้น 14.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,871 คัน
โตโยต้า 1,493 คัน - มิตซูบิชิ 654 คัน - อีซูซุ 612 คัน - ฟอร์ด 112 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 23,616 คัน ลดลง 0.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,972 คัน ลดลง 0.5% ส่วนแบ่งตลาด 42.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,253 คัน เพิ่มขึ้น 2.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,813 คัน เพิ่มขึ้น 14.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 30,524 คัน ไม่เปลี่ยนแปลง
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,803 คัน เพิ่มขึ้น 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,614 คัน เพิ่มขึ้น 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,842 คัน เพิ่มขึ้น 15.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%
p สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — ตุลาคม 2552
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 419,755 คัน ลดลง 17.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 177,666 คัน ลดลง 17.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 85,772 คัน ลดลง 23.3% ส่วนแบ่งตลาด 20.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 72,008 คัน ลดลง 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 17.2%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 175,552 คัน ลดลง 5.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 78,505 คัน ลดลง 11.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.7%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 67,967 คัน เพิ่มขึ้น 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 6,832 คัน เพิ่มขึ้น 10.3% ส่วนแบ่งตลาด 3.9%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 211,377 คัน ลดลง 24.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 89,659 คัน ลดลง 22.6% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 80,054 คัน ลดลง 24.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 15,180 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 21,167คัน
โตโยต้า 12,002 คัน - อีซูซุ 4,371 คัน - มิตซูบิชิ 4,268 คัน - ฟอร์ด 526 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 190,210 คัน ลดลง 27.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 77,657 คัน ลดลง 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 75,683 คัน ลดลง 24.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 15,180 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 244,203 คัน ลดลง 25.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 99,161 คัน ลดลง 22.4% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 85,772 คัน ลดลง 23.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 15,471 คัน ลดลง 24.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%