UAM รุกตลาดญี่ปุ่น สุพรรณ มั่นใจมืออาชีพสร้างผลตอบแทนที่ดีได้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 17, 2009 10:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 พ.ย.--บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูไนเต็ด "สุพรรณ" เล็งตลาดนักลงทุนชาวญี่ปุ่น ดัน UAM สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในภาวะการณ์ปัจจุบันทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน ให้กับนักลงทุนชาวญี่ปุ่น ที่ต้องการมาลงทุนในประเทศไทย ผ่านกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ให้ลูกค้าสามารถหากำไรในตามจังหวะการขึ้น-ลงของตลาดหุ้นไทย รวมไปถึงอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าต่างประเทศในเรื่องของกระแสเงินจากการลงทุน เพราะลูกค้าไม่ต้องมาทำธุรกรรมด้วยตนเอง ชูงานเด่น Cash Management บริหารเงินสดให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ และให้บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ หรือ Advisory business นายสุพรรณ เศษธะพานิช ผู้อำนวยการ ฝ่ายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูไนเต็ด จำกัด หรือ UAM กล่าวถึงการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในภาวะการณ์ปัจจุบันทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน จำเป็นต้องใช้เวลาและความเชี่ยวชาญ สืบเนื่องจากภาวะการผันผวนของผลตอบแทนที่มีผลมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเมือง ทั้งในระดับภูมิภาคและประเทศ ด้วยประสบการณ์ของทีมงาน เชื่อว่าการใช้มืออาชีพในการดูแลการลงทุน สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนและเสถีรภาพของผลตอบแทนให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนได้ดียิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนชาวญี่ปุ่น ที่ต้องการมาลงทุนในประเทศไทย โดยสามารถที่จะใช้บริการอย่างน้อย 3 รูปแบบ คือ หนึ่งคือ การให้บริการกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ที่เน้นการให้บริการอย่างเฉพาะเจาะจงกับลูกค้า เริ่มจากการทำความเข้าใจกับข้อจำกัด และความคาดหวังในการลงทุนเพื่อประเมินนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งนี้เล็งเห็นว่า ส่วนใหญ่นักลงทุนญี่ปุ่นที่มีบัญชีซื้อขายกับ บล.ยูไนเต็ด โดยเฉพาะลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่เปิดบัญชีอินเตอร์เน็ตเทรดดิ้งเสียโอกาสในการขายทำกำไร หรือเพิ่มการลงทุนในขณะที่ตลาดปรับตัวขึ้นลง เนื่องจากขาดผู้เชี่ยวชาญในการดูแลและให้คำแนะนำ "วิธีแก้ไขปัญหาคือ เรสามารถจะเข้าไปให้บริการลูกค้าในกลุ่มนี้ มาทำเป็น Private Fundโดย UAM จะดูแลพอร์ตลงทุน พร้อมกับแนะนำให้ลูกค้าสามารถหากำไรในตามจังหวะการขึ้น-ลงของตลาดหุ้นได้" นอกจากผลประโยชน์ทางด้านการลงทุนแล้ว UAM ยังสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าต่างประเทศในเรื่องของกระแสเงินจากการลงทุน เพราะลูกค้าไม่ต้องมาทำธุรกรรมด้วยตนเอง โดยกองทุนส่วนบุคคลจะจัดการเรื่องต่างๆเหล่านี้ให้หมด ต่อมาคือ การให้บริการด้าน Cash Management หรือการให้บริการบริหารเงินสดที่มีอยู่ของบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทในเครือ APF Group “บริษัท เอ.พี.เอฟ. ประกันภัย” ก็ใช้บริการของเราในด้านนี้อยู่เช่นกัน "โดยส่วนใหญ่แล้ว บริษัทต่าง ๆ ไม่ค่อยมีเวลาในการบริหารเงินสดที่มีอยู่มากนัก โดยบริษัทเหล่านั้นสามารถมาว่าจ้างให้ UAM ทำหน้าที่ในการบริหารเงินให้แทนได้ โดยค่าธรรมเนียมไม่ได้สูงเนื่องจากจุดประสงค์คือเพิ่มผลตอบแทนจากสภาพคล่อง โดยการที่ให้ UAM มาบริหารเงินนั้น เราสามารถที่จะออกแบบการลงทุนที่เหมาะสม และสร้างผลตอบแทนที่ดีได้มากกว่าการฝากเงินธนาคาร เช่น ลงทุนในตราสารทางการเงินที่มีสภาพคล่อง, BE, PN เป็นต้น ในฐานะที่ UAM เป็นนักลงทุนสถาบัน ทำให้ง่ายต่อการหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายมากกว่า รวมทั้งสามารถคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี "เราอยู่กับตลาดทางด้านการเงิน การลงทุน เรื่องของความเจนตลาดความชำนาญเรามีมากกว่า เราสามารถประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยได้ชัดเจน เรารู้ภาคเศรษฐกิจ อีกทั้งเรามีอำนาจต่อรองในเรื่องราคาได้ดีกว่า และที่สำคัญคือผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินบางอย่างผู้ออกเลือกที่จะ approach นักลงทุนสถาบันเท่านั้น ทำให้เรามี privilege มากกว่านักลงทุนทั่วไป” สุดท้ายคือ การให้บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ “Advisory business” ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งในการให้บริการของ UAM ที่บริษัทในเครือ APF Group ให้ความสนใจอยู่มาก ประกอบด้วย การให้คำปรึกษาในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund ในลักษณะ Employee’s Choice ซึ่งช่วยให้พนักงานแต่ละท่านสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนของตัวเองได้โดยที่ไม่ติดข้อจำกัดเรื่อง one investment policy for the company and applied to all. รูปแบบของ provident fund แบบเดิมทั้ง single fund และ pooled fund นี้มีข้อเสียคือ การดำเนินนโยบายของกองทุนนั้น จะต้องใช้นโยบายกลาง พนักงานทุกท่านจำเป็นต้องใช้นโยบายเดียวกัน ทั้งที่จริงแล้วข้อจำกัดในการลงทุนแตกต่างกันมาก ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ข้อจำกัดในการลงทุนแตกต่างกันนั้นมาจากเรื่อง อายุที่ต่างกัน สถานภาพทางครอบครัวและสังคม รวมถึงระดับรายได้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการบริหารเงินสำรองเลี้ยงชีพคือการให้พนักงานแต่ละท่านกำหนดนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมด้วยตัวเอง “ตัวอย่างที่ดีที่สุดจะเห็นได้จากปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นลง แน่นอนว่าทุกคนย่อมไม่ชอบการลงทุนในหุ้นแน่นอน แต่เมื่อนโยบายกองทุนในรูปแบบเดิม ผู้ที่เป็นพนักงานก็ไม่สามารถทำอะไรได้ หากคณะกรรมการการลงทุนไม่เปลี่ยนนโยบาย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับเงินออมเพื่อการเกษีณที่มาจากการลงทุน ย่อมนำมาซึ่งความรู้สึกทีไม่พอใจ และอาจจะลามถึงความไม่แน่ใจในระบบจัดการของบริษัท เหมื่อนกรณีทีเกิดขึ้นกับ กบข. หากพวกเขาใช้ Employee’s choice นั้น ปัญหาเหล่านี้จะถูกแก้ไปโดยปริยาย เพราะพนักงานทุกคน สามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้ตามที่ตนเองต้องการ บริษัทมีเพียงหน้าที่ชี้แนะและให้การแนะนำ" นอกจากานั้นทาง uam ก็มีแผนกในการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนสำหรับลูกค้าที่มีความปราถนาที่จะลงทุนในประเทศไทย และต้องการข้อมูลหรือการแนะนำ เพื่อที่จะใช้เวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน ลักษณะการทำงานเป็นมาตราฐานเดียวกับการบริการ private fund เพียงแต่บริษัทจะจำกัดด้วยเองให้อยู่ในเรื่องการการแนะนำและข้อมูลตามมาตรฐานของวิชาชีพเป็นหลัก โดยไม่ชี้นำหรือรตัดสินใจลงทุนให้ลูกค้า

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ