กรุงเทพฯ--19 พ.ย.--ไอดีซี
จากผลการสำรวจล่าสุดของไอดีซี ผ่านเว็บไซท์ในเรื่อง Examining Usage, Perceptions, and Monetization: The Coming of Age for Social Network Sites in Asia/Pacific [Doc #AP628202S] พบว่า ผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ social network site (SNS) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกล่าวว่า โทรศัพท์มือถือที่กำลังเป็นอุปกรณ์ที่มาแรง มีแนวโน้มที่จะแซงหน้าคอมพิวเตอร์พีซี ในฐานะที่เป็นทางเลือกของอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้าสู่โลกออนไลน์
ในบางประเทศเช่น ประเทศจีน อินเดีย เกาเหลีใต้ และไทย มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจยังคงมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายสังคมออนไลน์หลายๆ แห่งผ่านโทรศัพท์มือถือทุกๆ สัปดาห์ เรื่องดังกล่าวนี้กำลังเป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน และ ประเทศไทย ซึ่งพบผู้ใช้ งานมากถึงร้อยละ 62 และ ร้อยละ 65 ตามลำดับ โดยผู้ใช้จะรับข้อมูลข่าวสาร ตอบรับข้อความสั้น อัพโหลดรูปภาพ หรือ อัพเดตข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้ทันสมัย บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านบราวเซอร์ของโทรศัพท์มือถืออย่างสม่ำเสมอ
ในทางกลับกัน ประเทศออสเตรเลียและสิงค์โปร์ พบว่ามีสัดส่วนของผู้ใช้งานที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมออนไลน์น้อยที่สุด ซึ่งพบเพียงร้อยละ 19 และ ร้อยละ 25 ตามลำดับ โดยจะเป็นผู้ใช้งานที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ทุกๆ สัปดาห์ ผ่านบราวเซอร์โทรศัพท์ มือถือ
“ด้วยความแพร่หลายของโทรศัพท์มือถือทีมีมากกว่าคอมพิวเตอร์พีซี ในประเทศจีน อินเดีย และไทย ได้ส่งผลเชิงบวกโดยตรงต่อความนิยมในการเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์ มือถือ” กล่าวโดย เด็บบี้ สวี นักวิเคราะห์ตลาดด้าน Emerging Technologies ไอดีซีเอเชียแปซิฟิก “อย่างไรก็ตาม ในประเทศเกาหลีที่พบว่ามีสัดส่วนของการใช้งานมากนั้น มาจากเหตุผลประการอื่น ได้แก่ ประเทศเกาหลีนั้นมีความก้าวหน้าในเรื่องเทคโนโลยีเป็นอย่างมากและก็ยังมีการประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลายเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่ถูกสำรวจในครั้งนี้ด้วย
สำหรับประเทศออสเตรเลีย และ สิงค์โปร์นั้น แม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยี แต่ทว่า ผู้ใช้งานยังคงให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์พีซีมากกว่าโทรศัพท์มือถือ สิ่งนี้จะเป็นตัวชะลอให้เกิดการประยุกต์ใช้งานการเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
จากการสำรวจของ ไอดีซี ยังพบว่า กลยุทธ์การกำหนดราคาของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ มีโอกาสที่จะทำให้ผู้ที่ยังไม่เคยใช้งาน หนีการใช้บริการการเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมผ่านโทรศัพท์มือ ถืออีกด้วย โดยจากข้อมูลของผู้ใช้งานในปัจจุบันส่วนใหญ่ที่ไม่เคยล๊อกอินเข้าสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือมาก่อนนั้น ได้กล่าวว่า อัตราค่าบริการที่แพงสำหรับสำ การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้น กำลังเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของตลาด โดยอัตราค่าบริการเหล่านี้สามารถพบได้ ในรูปแบบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ การใช้ SMS หรือ MMS เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยังยืนยันว่า พวกเขาเหล่านี้ยังอยากที่จะทดลองการเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ถ้าหากผู้ให้บริการจะนำเสนออัตราค่าบริการที่เหมาะสม นอกจากนี้ ความพร้อมในเรื่องของการมีแอพพลิเคชั่นที่สะดวกต่อการใช้่งานสำหรับผู้ใช้ ยังเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องได้รับการปรับปรุง แม้ว่าจะเป็นเรื่องสำคัญในลำดับท้าย ๆ
“ผลของการสำรวจยังได้แสดงให้เห็นว่า โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือกำลังเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับการข้าสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศที่สัดส่วนของการใช้คอมพิวเตอร์ค่อนข้างต่ำ โทรศัพท์มือถือจะเป็นโอกาสและทาง เลือกที่เหนือกว่าคอมพิวเตอร์พีซีในการที่จะเข้าสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์” กล่าวโดย เด็บบี้
“สำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในประเทศจีน อินเดีย และ ไทย ไอดีซีเชื่อว่า การคิดค่าบริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านมือถือแบบอัตราคงที่ จะมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณการใช้งานในบริการดังกล่าว อย่างไรก็ตามในประเทศออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และ สิงค์โปร์ มีอัตราค่าบริการการรับส่งข้อมูลที่มีราคาค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว ผู้ให้บริการโืทรศัพท์มือถือจำเป็นจะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับ ผู้ใช้งานที่ยังคงเข้าใจผิดในเรื่องการคิดค่าบริการ ซึ่งทำได้โดยการชี้แจงผ่านการโฆษณาประชา- สัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ความล้มเหลวจากเรื่องความไม่เข้าใจเรื่องอัตราค่าบริการดังกล่าวจะส่งผลถึงแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เล่นผ่านมือถือและบริการอื่นๆ ที่จะตามมาไม่เฉพาะแค่เพียงการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่องนี้จะต้องใช้เวลาอีกนานกว่าเราจะได้เห็นตลาดนี้เติบโตอย่างแท้จริง” กล่าวเสริมโดย เด็บบี้
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่ม หรือ สนใจที่จะซื้อรายงานในเรื่องดังกล่าวนี้ ท่านสามารถติดต่อได้ที่ คุณธัญวลัย แซ่ชั้ว โทร. 662 651 5585 หรือ ที่อีเมล์ thannwalai@idc.com
คำนิยามของ ไอดีซี
Social Networking Sites (SNSs) — คือบริการต่างๆ ผ่านเว็บไซท์ซึ่งช่วยสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลต่างๆ โดยที่บุคคลเหล่านั้นได้รับอนุญาตให้ 1. สร้างข้อมูลสาธาณะ หรือกึ่งสาธารณะ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าระดับของความเป็นส่วนตัว สำหรับเป็นสิ่้งที่แสดงถึงตัวบุคคลเหล่านั้น 2. เชื่อมโยงกับรายชื่อของผู้ใช้งานคนอื่นๆ ที่กำลังมีการใช้งานร่วมกันอยู่ 3. แสดงถึงรายชื่อของบุคคลที่เชื่อมต่อและสิ่งต่างๆ เหล่านั้นที่บุคคลนั้นๆ ได้ทำขึ้นภายในระบบ การทำงานและการจัดระเบียบของการเชื่อมต่อเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของเวปไซด์ SNSs ได้แก่ Friendster, Facebook, Hi5, และ MySpace. Non-SNS ได้แก่ YouTube, Amazon, Wikipedia.
เกี่ยวกับการสำรวจ IDC’s 2009 Asia/Pacific Social Networking Sites (SNS) โดยฝ่ายวิจัย ERS ของ ไอดีซี
การสำรวจ IDC's Asia/Pacific Social Networking Sites (SNS) โครงการนี้ได้ถูกดำเนินการโดยฝ่าย End-User Research and Statistics (ERS) ของ ไอดีซี ซึ่งได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริโภคมากกว่า 1,400 คนที่เป็นผู้ใช้งาน SNS โดยมีอายุระหว่าง 15-35 ปี ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจในช่วงเดือนธันวาคม 2551 ถึง มกราคม 2552 โครงการสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจโครงใหญ่เพื่อต้องการประเมินถึงผลกระทบของ Web 2.0 ที่มีต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยการสำรวจครอบคลุม 7 ประเทศคือ ออสเตรเลีย อินเดีย จีน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และ ไทย
เกี่ยวกับไอดีซี
ไอดีซี บริษัทที่ปรึกษา และ วิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และ คอนซูเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการ วิเคราะห์เจาะลึก แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้บริหาร และ นักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ จัดซื้อเทคโนโลยี และ กำหนด กลยุทธ์ทางธุรกิจ ปัจจุบัน ไอดีซี มีนักวิเคราะห์ กว่า 1,000 คน ใน 110 ประเทศทั่วโลก ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ อย่างรอบด้าน แก่ลูกค้าในเรื่อง เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจ และ แนวโน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ ระดับประเทศ ด้วยประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญที่สะสมมามากว่า 45 ปี เพื่อช่วยให้ลูกค้า บรรลุทุกวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ไอดีซี เป็นบริษัทในเครือของ ไอดีจี ซึ่งดำเนิน ธุรกิจสื่อสารเทคโนโลยี วิจัย และ จัดงานสัมมนาชั้นนำระดับโลก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idc.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
คุณศศิธร แซ่เอี้ยว
ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113
sasithorn@idc.com