ไซแมนเทครายงานสถานการณ์อีเมลขยะประจำเดือนพฤศจิกายน 2552 ไทย ขึ้นท็อปชาร์ต อีเมลขยะสูงเป็นอันดับที่ 14 ของโลก โดดขึ้นมา 9 อันดับในเวลาเพียงแค่ 4 เดือน

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday November 24, 2009 13:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--เอพีพีอาร์ มีเดีย ในเดือนตุลาคม 2552 จำนวนอีเมลขยะไต่ระดับอยู่ที่ 87 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้อความอีเมลทั้งหมด โดยเรื่องเด่นในเดือนนี้คืออีเมลขยะที่มีต้นตอมาจากเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น (23 เปอร์เซ็นต์) และอเมริกาใต้ (22 เปอร์เซ็นต์) สวนทางกับอีเมลขยะที่มีต้นตอมาจากยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) ที่มีปริมาณลดลง (28 เปอร์เซ็นต์) และอเมริกาเหนือ (20 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งถ้าดูตามประเภทของอีเมลขยะทั้งหมดนั้น พบว่าอีเมลขยะประเภทอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 7 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 39 เปอร์เซ็นต์ ของข้อความอีเมลขยะทั้งหมด ซึ่งอีเมลขยะประเภทอินเทอร์เน็ต ครอบคลุมถึงอีเมลขยะประเภทที่มีการนำเสนอปริญญาบัตรออนไลน์ และติดโผหัวข้ออีเมลขยะยอดนิยม 50 เรื่องในเดือนนี้ นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิค บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เปิดเผยว่า “ผลการรายงานสถานการณ์อีเมลขยะประจำเดือนนี้ มีจุดที่น่าสังเกตคืออีเมลขยะที่มาจากเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่อีเมลขยะที่มาจากยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) กลับลดลง ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเองก็มีความเคลื่อนไหวที่น่าตกใจเช่นกัน เนื่องจากจำนวนอีเมลขยะในประเทศไทยมีปริมาณสูงขึ้นมาก จนทำให้ประเทศไทยติดอันดับประเทศที่มีอีเมลขยะมากเป็นอันดับที่ 14 ในเดือนตุลาคม 2552 จากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ประเทศไทยยังอยู่ในอันดับที่ 23 นับว่าเป็นการขยับสูงขึ้นมาถึง 9 อันดับภายในระยะรวดเร็ว เพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น” ประเด็นที่น่าสนใจในรายงานเดือนพฤศจิกายน 2552 ได้แก่ ? ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) จ้าวแห่งต้นกำเนิดของอีเมลขยะ โดนราชาคนใหม่ ท้าชิงบัลลังก์ ในรายงานสถานการณ์อีเมลขยะเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ยุโรปขึ้นครองมงกุฏในการเป็นจ้าวแห่งอีเมลขยะด้วยการเป็นต้นกำเนิดอีเมลขยะสูงถึง 44 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนอีเมลขยะทั้งหมด เทียบกับอีเมลขยะจากอเมริกาเหนือที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 35.1 เปอร์เซ็นต์ มาในเดือนตุลาคม 2552 ดูเหมือนว่าผู้นำด้านการส่งอีเมลขยะอย่าง ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) จะถูกชิงตำแหน่งจากดาวรุ่งคือเอเชียแปซิฟิกรวมถึงญี่ปุ่นและอเมริกาใต้ ในเดือนตุลาคมปี 2552 พบประเด็นที่น่าสนใจจากการสังเกตการณ์ดังต่อไปนี้ o ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) ยังคงรักษาหน้าที่หลักในการเป็นต้นกำเนิดของอีเมลขยะรายหลัก อยู่ที่ 28 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งลดลงไป 6 เปอร์เซ็นต์จากเดือนมิถุนายนปี 2552 o เอเชียแปซิฟิกรวมถึงญี่ปุ่น และอเมริกาใต้แซงหน้าอเมริกาเหนือ (สัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน) ไปด้วยจำนวน 23 และ 22 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนอีเมลขยะที่มาจากเอเชียแปซิฟิกรวมถึงญี่ปุ่นและอเมริกาใต้นับว่าเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่สร้างความประหลาดใจ เมื่อคุณทราบดีอยู่แล้วว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในภาคพื้นดังกล่าวมีการเติบโตอย่างมากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ o ปริมาณของอีเมลขยะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งในรายงานของเดือนนั้นระบุว่าจำนวนอีเมลขยะคิดเป็นอัตราที่สูงถึง 78.5 เปอร์เซ็นต์ จากอีเมลทั้งหมดที่มีการส่งระหว่างเดือนมกราคม 2551 ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากเดือนตุลาคม 2552 ที่มีการสังเกตพบว่าจุดสูงสุดของอีเมลขยะอยู่ที่ 93 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 87 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอีเมลทั้งหมด การกระจายตัวของเน็ตเวิร์คทำให้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่เชื่อมต่อบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตมีการออนไลน์ทุกวัน เส้นทางเดินทางของสแปมก็มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยปัจจุบันสแปมจำนวนมากถูกส่งตรงจากเครื่องซึ่งติดมัลแวร์ หรือผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกเจาะและถูกขโมยใช้งานผ่าน Webmail/SMTP Auth o เครือข่ายบ็อทเน็ต (Botnets) ยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่องหลังจากมีการปิด McColo จำนวนบ็อทเน็ตมีเพิ่มมากขึ้นจากที่แฮกเกอร์พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างไอทีของประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกรวมถึงญี่ปุ่นและอเมริกาใต้ o เมื่อทำการจัดอันดับประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดอีเมลขยะในเดือนมิถุนายน 2552 เทียบกับเดือนตุลาคม 2552 พบว่าประเทศอินเดีย ไต้หวัน ไทย และชิลี มีการเพิ่มขึ้นของอีเมลขยะ โดยเฉพาะเวียดนามมีการขยับอันดับขึ้นมาถึง 13 อันดับโดยตอนนี้อยู่อันดับสามของประเทศที่มีอีเมลขยะมากที่สุด ? มัลแวร์ในสแปมยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องๆ ในเดือนตุลาคม ข้อความอีเมลขยะที่แฝงมัลแวร์มาด้วยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบดู พบว่าเพิ่มจากเดือนกันยายนที่ผ่านมา 0.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจำนวนของข้อความอีเมลขยะที่แฝงมัลแวร์มีจุดสูงสุดอยู่ที่ 4.5 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอีเมลขยะทั้งหมด จากผลการรายงานสถานการณ์อีเมลขยะของไซแมนเทคในเดือนตุลาคม การที่มัลแวร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นนับว่ามีนัยสำคัญ เมื่อลองพิจารณาจะเห็นว่า 87 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้อความอีเมลขยะในเดือนตุลาคม นั้นเป็นอีเมลขยะที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีการแฝงมัลแวร์อยู่ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองเช่นกัน ? ผู้ใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายเชิงสังคม ต้องเผชิญกับการโจมตีของมัลแวร์และฟิชชิ่ง ในเดือนตุลาคม นอกจากการโจมตีของอีเมลขยะที่แฝงมัลแวร์ และมุ่งเป้าไปที่เฟซบุ๊คแล้ว ไซแมนเทคยังสังเกตพบการโจมตีของฟิชชิ่งที่มุ่งเป้าไปที่เฟซบุ๊คเช่นกัน โดยมีข้อความคล้ายกับอีเมลที่ส่งจากเฟซบุ๊คหรือส่งอีเมลแจ้งเตือนเกี่ยวกับความผิดพลาดเรื่องของรหัสผ่านในการเข้าเฟซบุ๊ค สแปมเมอร์ยังคงใช้ชื่อเสียงและความนิยมของเว็บไซต์เชิงสังคม หรือโซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีฐานผู้ใช้งานขนาดใหญ่ เป็นเครื่องมือในการส่งอีเมล และจะยังคงตกเป็นเป้าหมายสำคัญจากการโจมตีของมัลแวร์และฟิชชิ่ง ? การวิเคราะห์หัวข้อเรื่องของอีเมลขยะในเดือนตุลาคม 2552 ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก รายงานสถานการณ์อีเมลขยะหัวเรื่อง Subject ของสแปม 10 อันดับแรกกระจายทั้งแบบที่มีมัลแวร์แฝงตัวมาและอีเมลแจ้งกลับ (NDR bounce) โดยอีเมลขยะแบบ NDR bounce มีสัดส่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.54 เปอร์เซ็นต์ของอีเมลขยะทั้งหมด ในขณะที่ข้อความอีเมลขยะที่แฝงมัลแวร์คิดเป็นจำนวนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.9 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้อความอีเมลขยะทั้งหมด ? อีเมลขยะประเภทการนำเสนอปริญญาบัตรออนไลน์ติดอันดับผลการสำรวจในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา การโจมตีของอีเมลขยะประเภทการนำเสนอปริญญาบัตรออนไลน์ได้กลายเป็นประเภทอีเมลขยะที่มีความโดดเด่น ข้อความเหล่านี้พยายามโน้มน้าวผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยการนำเสนอปริญญาทางด้านการรับราชการตำรวจ การรักษาพยาบาล ครูและศิลปะการทำอาหาร การโจมตีเหล่านี้มักนำเสนอการให้ปริญญาบัตรทันที เพียงแค่โทรมาที่เบอร์ตามที่แจ้งมาในข้อความนั้นๆ และผู้ใช้จะได้รับปริญญาบัตรในทันที ? แคมเปญอีเมลขยะประเภทวันหยุด นำไปสู่แคมเปญอื่นๆ ตามมา แคมเปญอีเมลขยะวันฮาโลวีนถูกเก็บไปใช้ในปีหน้าแล้ว คราวนี้ถึงเวลาของ แคมเปญอีเมลขยะวันขอบคุณพระเจ้า วันคริสต์มาสและวันปีใหม่ ที่ถูกใช้เป็นหัวข้อสำคัญในการโจมตี ซึ่งไซแมนเทคได้เคยรายงานไปแล้วในช่วงต้นปีว่าแคมเปญอีเมลขยะพุ่งเป้าไปที่ช่วงวันหยุดปลายปี เช่น วันคริสต์มาส โดยเริ่มมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา การเฝ้าสังเกตการณ์อีเมลขยะที่เกี่ยวกับเทศกาลวันหยุดในปี 2551 o ผู้ส่งอีเมลมีการส่งข้อความที่มีคำอย่าง “ข้อตกลง” และ “ข้อเสนอ” พิเศษ มากขึ้นเรื่อยๆ (จากการสังเกตอีเมลในช่วงวันขอบคุณพระเจ้า คือ Cyber Monday และ Black Friday ในปี 2551) เพื่อพยายามขายสินค้าในช่วงเศรษฐกิจขาลง ซึ่งบรรดาสแปมเมอร์ยังคงใช้หัวข้อเรื่องเหล่านี้ในการดึงความสนใจของผู้ใช้เรื่องการประหยัดค่าใช้จ่าย o มีการเลือกใช้ข้อความ subject line ที่ใช้ทั่วไปเกี่ยวกับเทศกาลต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการคัดกรอง o หัวข้อเรื่องของอีเมลขยะในเทศกาลต่างๆ บ่อยครั้งก็ไม่ได้มีการสุ่มตัวอย่างหรือใช้เทคนิคที่ซับซ้อนอื่นๆ สำหรับสื่อมวลชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด คุณกณวรรธน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 02-655-6633 Kanawat@apprmedia.com คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ 02-655-6633 Busakorn@apprmedia.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ