ไอดีซี ชี้ HSPA กำลังปูทางไปสู่ LTE ด้วยยอดผู้ใช้งานสูงถึง 43.6 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นเมื่อสิ้นปี 2552

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday November 24, 2009 14:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--ไอดีซี เทคโนโลยี HSPA (High-Speed Packet Access) ทั้งในรูปแบบของเครื่องโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมือถือ พบว่ามีอัตราการเติบโตของการใช้งานเป็นอย่างมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดย ไอดีซี คาดการณ์ว่า จะมีผู้ใช้งานในเทคโนโลยี HSPA สูงถึง 43.6 ล้านคนเมื่อสิ้นสุดปี 2552 นายบิล โรฮาส์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านตลาดโทรคมนาคม ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิิฟิก กล่าวว่า “จากความสำเร็จของ HSPA และ ความต้องการใช้งานที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องสำหรับแบนด์วิธที่สูงขึ้นกำลังเป็นแรงผลักดันให้เกิดการใช้ LTE (Long Term Evolution) ในประเทศส่วนใหญ่ของภูมิภาคนี้้ที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยี HSPA ไปแล้ว ประสบการณ์จากการใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อที่สนับสนุนเทคโนโลยี HSPA นั้นไม่มีอะไรมากนักมันเป็นแค่เพียงปรากฏการณ์หนึ่งเท่านั้น แต่ปรากฏการณ์นี้ได้ทำให้เกิดการนำเสนอราคาที่น่าดึงดูดใจจนทำให้เกิดการเพิ่มการใช้แบนด์วิธมากขึ้น บังคับให้ผู้ให้บริการ HSPA บริหารจัดการเรื่องการนำช่องสัญญาณมาใช้งานให้เกิดประโยชน์มากที่สุดผ่านจุดเชื่อมต่อ WiFi ที่มีอยู่ การหยุดจำนวนผู้ใช้งาน HSPA แบบใช้อุปกรณ์เสริม หรือ กำหนดขนาดของข้อมูลที่อนุญาตให้ทำการดาวน์โหลดไว้ว่าสูงสุดไม่เกินกี่ GBytes สำหรับผู้ใช้งานต่อคนในแต่ละเดือน” LTE กำลังเป็นเรื่องที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื่องจากเป็นทางเลือกในการย้ายโครงข่ายของตนเองไปสู่การเชื่อมต่อผ่านไอพีทั้งหมดสำหรับผู้ให้บริการระบบ UMTS และ EVDO ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับตนเองสำหรับการุม่งไปสู่เทคโนโลยี IMT-2000 Advanced หรือ 4G ไอดีซี คาดว่า กลุ่มผู้ประกอบการบางรายที่น่าจับตามองในภูมิภาคนี้ที่กำลังให้บริการ 3G ในปัจจุบัน อาทิ DoCoMo, KDDI, eMobile, Hong Kong CSL, PCCW/HGC's joint venture, Telecom New Zealand และ China Mobile Hong Kong มีความเป็นไปได้ที่ China Mobile Hong Kong จะเป็นผู้บุกเบิกการลงทุนด้าน LTE “การให้ข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันจะเน้นที่ระบบโครงสร้างของ LTE เป็นสำคัญ สำหรับหลายประเทศในแถบภูมิภาคนี้ และในหลายประเทศดังกล่าวจะมีโทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้งานได้ทั้ง HSPA และ WiFi ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือมาก ๆ แต่ทว่าข้อมูลนี้ยังไม่นับว่าเป็นการสร้างโอกาสทองสำหรับผู้ให้บริการแต่อย่างใดในภูมิภาคนี้ แต่กลับเป็นเพียงแค่การสนับสนุนการให้บริการบรอดแบนด์สำหรับครัวเรือนต่าง ๆ ที่มีความต้องการใช้งานแต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้เท่านั้น” นายบิล กล่าวเสริม ไอดีซี คาดว่า ในตลาดบางประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ตลาดที่ยังมีความต้องการการใช้บริการที่คาดว่าน่าจะมีสูงมากหรือคิดเป็นมากกว่า 1 ใน 3 ของครัวเรือนทั้งหมดของประเทศเมื่อสิ้นปี 2552 นอกจากนี้ไอดีซี คาดการณ์ว่า อัตราการใช้งานบรอดแบนด์ต่อครัวเรือนในประเทศอินเดียจะต่ำกว่าร้อยละ 1.6 ในขณะที่อัตราการใช้บริการโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 38 หรือมีผู้ใช้สมัครใช้บริการทั้งสิ้น 439 ล้านคน “ไอดีซี ยังคาดว่าประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้จำเป็นต้องมุ่งไปสู่การมีโครงข่ายที่สนับสนุนการทำงานผ่านไอพีทั้งหมดที่เป็น 4G แต่คำถามก็ยังคงมีอยู่ว่า อะไรคือหนทางที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการเทคโนโลยี GSM ที่ไม่มีคลื่นความถี่ 3G อยู่ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการ 2G เหล่านี้สามารถกระโดดข้ามเทคโนโลยี 3G ไปได้ทั้งหมดเลยหรือไม่ และ หันไปเน้นการขยายโครงข่ายไฟเบอร์สำหรับ 4G ที่เป็น LTE หรือ IMT-2000 Advanced การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IMS และ การอัพเกรดระบบ OSS/BSS เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการต่ออายุให้กับบริการด้านเนื้อหาที่อยู่ในรูปแบบวีดีโอหรือเสียงหรือไม่” นายบิล กล่าวเสริม ไอดีซีเชื่อว่า เทคโนโลยี WiMAX และ LTE จะมีบทบาทที่มีส่วนส่งเสริมซึ่งกันและกัน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น เนื่องจากเทคโนโลยีแต่ละประเภทนั้นจะเน้นตลาดทีั่่แตกต่างกันไปบนคลื่นความถี่ที่มีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งเมื่อสองสิ่งนี้ถูกนำมารวมกันแล้วจะก่อให้เกิดเป็นเรื่องราวที่จะมีความน่าสนใจในอนาคตอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น อัตราการเพิ่มขึ้นของการใช้บริการบรอดแบนด์ของครัวเรือนในประเทศอินเดียจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งจะทำให้ประเทศอินเดียก้าวทันตามประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้บริการบรอดแบนด์ในครัวเรือนมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ผู้ ประกอบการในประเทศจีนยังจะได้ประโยชน์เช่นกัน ในเรื่องของการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครือ ข่าย Ethernet เพื่อรองรับ และ พร้อมให้บริการสำหรับประชาชนอีกด้วย “LTE และระบบ OFDM อื่น ๆ เช่น ระบบ 802.16m มีบทบาทที่สำคัญมากในการเป็นส่วนหนึ่งของทุก ๆ ส่วนในระบบโทรคมนาคมของภูมิภาคนี้ และ ขณะนี้ทุกสายตากำลังจับจ้องที่ ITU (International Telecommunications Union) ในเรื่องของการพิจารณาทางเลือกสำหรับเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่อง IMT-2000 Advanced ซึ่งมันยังด่วนเกินที่จะสรุปว่า ITU จะพิจารณาเรื่องนี้ออกมาเป็นอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่สรุปได้แน่นอน คือ ระบบ OFDMA เช่น LTE จะเป็นเทคโนโลยี ที่มารองรับการทำงานให้กับผู้ให้บริการบรอดแบนด์ผ่านโทรศัพท์มือถือในทศวรรษหน้านี้” นายบิลสรุป หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่ม หรือ สนใจที่จะซื้อรายงานในเรื่องดังกล่าวนี้ ท่านสามารถติดต่อได้ที่ คุณธัญวลัย แซ่ชั้ว โทร. 662 651 5585 หรือ ที่อีเมล์ thannwalai@idc.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : คุณศศิธร แซ่เอี้ยว ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113 sasithorn@idc.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ