กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--เอ็มโฟกัส
ข้อคิด ในการพัฒนาซัพพลายเชนโลกในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย
โดย ดร.ปรีชา พันธุมสินชัย, CPIM, CSCP
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มโฟกัส จำกัด
ศาสตราภิชาน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค.ศ. 2003-2006
การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาความร่วมมือและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากการจัดการซัพพลายเชนมีทั้งส่วนปฏิบัติการและสว่ นวางแผน ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ทุกองค์กรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีบุคลากรที่ความเชี่ยวชาญในการดูแลทั้งสองส่วน ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้การส่งมอบสินค้าหรือวัตถุดิบมีการติดขัด การแก้ปัญหาจำเป็นต้องรว่มมือกับคู่ค้าอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะคู่ค้าที่เป็นซัพพลายเออร์
ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์และการมีซัพพลายเออรท์ ี่มีความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จและความว่องไวของซัพพลายเชน
ปัจจุบัน บริษัท Intel ซึ่งเป็นบริษัท OBM ชั้นนำของโลกรายหนึ่ง ได้ให้ความสำคัญในการสร้างบุคลากรด้านซัพพลายเชน โดยจัดให้มีตำแหน่งงานที่เรียกว่า (Senior) Supply Chain Master ซึ่งมีวุฒิภาวะเทียบเท่ากับ (Senior) Principal Engineer หรือ วิศวกรเอก (อาวุโส) ที่มีทักษะสูงสุดทางวิศวกรรม โดยกำหนดว่า ความเชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนที่บริษัทให้ความสำคัญสำหรับตำแหน่งงานนี้ประกอบด้วย การพัฒนาความร่วมมือระหว่างลูกค้าและซัพพลายเออร์ การจัดการและการต่อรองกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ การจัดการความเสี่ยง ทักษะด้านสถิติและวิศวกรรมอุตสาหการ การวางแผนและการจัดการการขนส่ง การเข้าใจดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพซัพพลายเชน การพัฒนาและการจำลองตัวแบบซัพพลายเชน กลยุทธ์ต่างๆ ในการกระจายสินค้า การทำงานของระบบ ERP การพัฒนาความร่วมมือด้านการวางแผนการพยากรณ์และการเติมเต็ม (CPFR 3) โลจิสติกส์ทักษะด้านการวางแผนทั้งระยะสั้นและยาว การมีเชาวน์ปัญญาทางธุรกิจและการเงิน การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาวิศวกรรมคุณภาพ และการบรรจุหีบห่อ4 นอกจากนั้นความสามารถในการออกแบบและควบคุมกระบวนการต่างๆ ในซัพพลายเชนให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนจะต้องพัฒนาทักษะเพิ่มขึ้น
อ่านต่อได้ที่ http://www.m-focus.co.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 025139892 Dusadee