รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า 2549 วันที่ 21 ตุลาคม 2549 เวลา 17.00 น.

ข่าวทั่วไป Saturday October 21, 2006 17:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--ปภ.
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม (ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม — 21 ตุลาคม 2549)
1.1 ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-3 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
1.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 312 อำเภอ 20 กิ่งอำเภอ 2,030 ตำบล 12,466 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,169,571 คน 883,048 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร
1.3 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 125 คน จังหวัดเชียงใหม่ 8 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3 คน จังหวัดลำปาง 3 คน จังหวัดสุโขทัย 9 คน จังหวัดพิษณุโลก 12 คน จังหวัดนครสวรรค์ 8 คน จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน จังหวัดชัยนาท 2 คน จังหวัดสิงห์บุรี 2 คน จังหวัดอ่างทอง 8 คน จังหวัดพิจิตร 9 คน จังหวัดปราจีนบุรี 11 คน จังหวัดจันทบุรี 3 คน จังหวัดปทุมธานี 2 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 18 คน จังหวัดชัยภูมิ 7 คน ยโสธร 9 คน ร้อยเอ็ด 2 คน จังหวัดลพบุรี 2 คน จังหวัดอุทัยธานี 3 คน จังหวัดพังงา 1 คน และกรุงเทพมหานคร 2 คน สูญหาย 1 คน (จังหวัดเชียงใหม่ 1 คน) (ยอดผู้เสียชีวิตเดิม 124 คน เพิ่ม 1 คนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็น 125 คน)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 51 หลัง เสียหายบางส่วน 8,779 หลัง ถนน 3,970 สาย สะพาน 300 แห่ง ท่อระบายน้ำ 395 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 474 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 2,419,353 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 29,108 บ่อ วัด/โรงเรียน 914 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 334,245,830 บาท
2. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 31 จังหวัด
3. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 16 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร ดังนี้
3.1 จังหวัดในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน รวม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ ริมแม่น้ำและพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ 9 ตำบล อำเภอพรหมพิราม 6 ตำบล อำเภอเมือง 1 ตำบล
- จังหวัดสุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ 11 ตำบล
- จังหวัดพิจิตร จำนวน 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 12 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลท่าฬ่อ) อำเภอสามง่าม 4 ตำบล อำเภอวชิรบารมี 3 ตำบล อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 7 ตำบล อำเภอโพทะเล 9 ตำบล อำเภอตะพานหิน 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองตะพานหิน) อำเภอบางมูลนาก 9 ตำบล และกิ่งอำเภอบึงนาราง 2 ตำบล
- จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 16 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลนครนครสวรรค์) อำเภอชุมแสง 11 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลทับกฤช) อำเภอเก้าเลี้ยว 5 ตำบล อำเภอโกรกพระ 8 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลโกรกพระ และเทศบาลตำบลบางประมุง) อำเภอพยุหะคีรี 7 ตำบล อำเภอบรรพตพิสัย 13 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลบรรพตพิสัย) และอำเภอท่าตะโก 10 ตำบล
ส่วนการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ นั้น ทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำยม ที่ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 21 ต.ค.49 ระดับน้ำสูง 42.73 ม. (ระดับตลิ่ง 40.50 ม.) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.23 ม.
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 21 ต.ค.49 ที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.00 ม. (ระดับตลิ่ง 9.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.00 ม.
3.2 จังหวัดลพบุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ในที่ลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยาเนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำลงสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 13 ตำบล อำเภอบ้านหมี่ 9 ตำบล อำเภอท่าวุ้ง 9 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 93 เครื่อง เรือท้องแบน 46 ลำรถแบ็คโฮ 2 คัน รถเกรด 4 คัน ถุงยังชีพ 9,006 ชุด รถกู้ภัย 11 คัน และกระสอบทราย 20,000 ใบ กำลังพล จากหน่วยทหาร อปพร. อส. 735 นาย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เสริมคันดิน (คลองชัยนาท-ป่าสัก) บริเวณ ต.ถนนใหญ่-ท่าแค อ.เมือง และอพยพราษฎร หมู่ที่ 4,9 ตำบลลำนารายณ์ 131 ครัวเรือน
3.3 จังหวัดสระบุรี น้ำจากแม่น้ำป่าสักเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 4 ตำบล อำเภอวิหารแดง 2 ตำบล อำเภอเสาไห้ 11 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม. อำเภอบ้านหมอ 6 ตำบล 1 เทศบาล และอำเภอหนองแซง 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-1.20 ม.
การให้ความช่วยเหลือ ได้มีการอพยพราษฎรของอำเภอบ้านหมอ จำนวน 40 ครัวเรือน 200 คน พร้อมแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค 3,479 ชุด น้ำดื่ม 21,311 ขวด และยารักษาโรค 1,708 ชุด เสื้อผ้า 45 ชุด
3.4 จังหวัดชัยนาท มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 8 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองชัยนาท) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-1.00 ม. อำเภอสรรพยา 7 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลสรรพยา และเทศบาลโพนางดำ) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.30-1.70 ม. และอำเภอหันคา 7 ตำบล 2 เทศบาล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.20 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบถุงยังชีพ 29,611 ชุด กระสอบทราย 272,800 ใบ น้ำดื่มขนาด 1,000 ลิตร 150 ถัง น้ำดื่มชนิดขวด 2,000 ขวด น้ำประปา 1,228,000 ลิตร ชุดเวชภัณฑ์ 7,487 ชุด เต็นท์ 185 หลัง เครื่องสูบน้ำ 45 เครื่อง และเรือท้องแบน 3 ลำ เสาเข็มไม้ป้องกันตลิ่งพัง 300 ต้น ส้วมชั่วคราว 64 ที่
- จังหวัดได้จ่ายเงินให้ความช่วยเหลือตามระเบียบว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ (งบ 50 ล้านบาท) เป็นเงินจำนวน 9,029,668.- บาท
3.5 จังหวัดอุทัยธานี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่อำเภอเมืองเนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรังเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 10 ตำบล รวมทั้งในพื้นที่เศรษฐกิจของเทศบาลเมืองอุทัยธานีและศาลากลางจังหวัด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.70 ม. ราษฎรยังคงเดือดร้อน 7,358 ครัวเรือน 32,518 คน
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดอุทัยธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มอบกระสอบทราย 50,000 ใบ ถุงยังชีพ 18,130 ชุด เรือท้องแบน 18 ลำ เต็นท์ 200 หลัง น้ำดื่ม 90,000 ลิตร น้ำดื่ม 56,888 ขวด ชุดเวชภัณฑ์ 12,572 ชุด รวมทั้ง นพค.15 มทบ.31 อปพร. อส. สถานีวิทยุ 934 สนับสนุนกำลังพลรวม 305 นาย ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่
3.6 จังหวัดสิงห์บุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี 6 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลอินทร์บุรี) อำเภอพรหมบุรี 6 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.30-1.70 ม. อำเภอท่าช้าง 4 ตำบล อำเภอบางระจัน 3 ตำบล อำเภอค่ายบางระจัน 2 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.90 ม. และอำเภอเมือง 4 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองสิงห์บุรี) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.30-2.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดสิงห์บุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นและได้เสริมแนวกั้นน้ำรอบตัวเมืองในพื้นที่เศรษฐกิจ กำลังพลทหารหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ 70 นาย ม.พัน 20 รอ. 85 นาย ศูนย์การทหารปืนใหญ่ 130 นาย และศูนย์การบินทหารบก 33 นาย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.7 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย รวมทั้งคลองสาขามีระดับสูงเกินตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง จำนวน 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองอ่างทอง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-1.60 ม.
2) อำเภอป่าโมก จำนวน 7 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลป่าโมก ชุมชนที่ 1-2,8-10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-1.50 ม.
3) อำเภอไชโย จำนวน 7 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลจระเข้ร้อง และเทศบาลตำบลเกษไชโย) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.25 ม.
4) อำเภอแสวงหา จำนวน 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.00 ม.
5) อำเภอวิเศษชัยชาญ จำนวน 13 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.00 ม.
6) อำเภอสามโก้ จำนวน 5 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
7) อำเภอโพธิ์ทอง น้ำจากแม่น้ำน้อยท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 15 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.55 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดอ่างทอง อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ มูลนิธิฯ องค์กรเอกชน ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดส่งรถผลิตน้ำดื่มเคลื่อนที่ 1 คัน เต็นท์ที่พักอาศัยชั่วคราว 180 หลัง น้ำดื่ม 208,424 ขวด ถุงยังชีพ 51,364 ชุด เรือเหล็ก 113 ลำ เรือท้องแบน 38 ลำ รถบรรทุก 6 คัน รถ Unimog 6 คัน เครื่องสูบน้ำ 53 เครื่อง สุขาเคลื่อนที่ 155 ห้อง
- หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษจังหวัดลพบุรีและมณฑลทหารบกที่ 13 จังหวัดลพบุรี พล ป. (ป.พัน 721) กองบิน 2 ช.พัน 1 รอ.(พล.1 รอ.) จัดส่งกำลังพลพร้อมเครื่องจักรกล ระดมเครื่องมือ เรือท้องแบน พร้อมเจ้าหน้าที่ 863 นาย ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง (อ.เมือง 603 นาย อ.ป่าโมก 160 นาย อ.ไชโย 100 นาย)
- โครงการชลประทานอ่างทอง สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 16 เครื่อง ติดตั้งในเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง
3.8 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี มีระดับสูงขึ้นท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 16 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอพระนครศรีอยุธยา จำนวน 18 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.10-1.45 ม.
2) อำเภอบางบาล จำนวน 16 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.15-1.45 ม.
3) อำเภอบางไทร จำนวน 23 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.90-1.45 ม.
4) อำเภอผักไห่ จำนวน 16 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20-1.70 ม.
5) อำเภอเสนา จำนวน 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองเสนา) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.75-1.30 ม.
6) อำเภอมหาราช จำนวน 5 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-2.00 ม.
7) อำเภอท่าเรือ จำนวน 9 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-2.00 ม.
8) อำเภอนครหลวง จำนวน 10 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-2.00 ม.
9) อำเภอบางปะหัน จำนวน 17 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-2.00 ม.
10) อำเภอบางปะอิน จำนวน 18 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.50 ม.
11) อำเภอบ้านแพรก จำนวน 5 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม.
12) อำเภอภาชี จำนวน 2 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
13) อำเภอลาดบัวหลวง จำนวน 7 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม. 14) อำเภอวังน้อย จำนวน 3 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
15) อำเภออุทัย จำนวน 11 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.60 ม.
16) อำเภอบางซ้าย จำนวน 6 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน่วยทหาร อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิฯ องค์กรเอกชน ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 152,772 ชุด เต็นท์ 183 หลัง เรือท้องแบน 30 ลำ (เรือไม้ เรือเหล็ก เรือไฟเบอร์ 826 ลำ) รถบรรทุกน้ำ 40 คัน รถแบ็คโฮ 10 คัน เครื่องสูบน้ำ 100 เครื่อง กระสอบทราย 582,000 ใบ รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน กำลังพล 4,522 คน สนับสนุนหญ้าแห้งอาหารสัตว์ 63,000 กก. ออกหน่วยเคลื่อนที่ตรวจรักษาโรคแจกจ่ายยาเวชภัณฑ์ ตั้งโรงทานประกอบอาหารเลี้ยง ผู้ประสบภัย
3.9 จังหวัดสุพรรณบุรี มีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำท่าจีน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 17 ตำบล และในพื้นที่เศรษฐกิจเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า 14 ตำบล อำเภอสามชุก 7 ตำบล อำเภอศรีประจันต์ 9 ตำบล อำเภอเดิมบางนางบวช 9 ตำบล อำเภอด่านช้าง 7 ตำบล และอำเภอสองพี่น้อง 14 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.40 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 31,124 ชุด กระสอบทราย 300,000 ใบ เครื่องสูบน้ำ 35 เครื่อง พล ร.9 และศูนย์ ปภ. เขต 2 สุพรรณบุรี จัดรถบริการรับส่งประชาชนและเรือท้องแบนให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ ที่ประสบภัย
3.10 จังหวัดปทุมธานี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณสูงขึ้นประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนได้ไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 5 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง จำนวน 13 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.60 ม.
2) อำเภอสามโคก จำนวน 11 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลบางเตย) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. 3) อำเภอคลองหลวง จำนวน 7 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม.
4) อำเภอธัญบุรี จำนวน 6 ตำบล และ 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลธัญบุรี) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
5) อำเภอลำลูกกา จำนวน 8 ตำบล 3 เทศบาล (เทศบาลเมืองคูคต เทศบาลตำบลลำลูกกา และเทศบาลตำบลลำไทร) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดปทุมธานีได้ระดมสรรพกำลังจากทุกหน่วยงานไปช่วยเสริมกระสอบทรายริมแม่น้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เหมือนเช่นปี 2538 ที่ผ่านมา
- การประปานครหลวง ได้เสริมกระสอบทราย จำนวน 150,000 ใบ เป็นคันป้องกันน้ำเพื่อไม่ให้ไหลจากคลองบางกระดีเข้าท่วมบริเวณคลองประปา
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี อำเภอ หน่วยงานในพื้นที่ มอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย จำนวน 5,924 ชุด
3.11 จังหวัดนนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงขึ้นประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนจึงทำให้น้ำเอ่อล้นไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มและบ้านเรือนราษฎรริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งลำคลองสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางกรวย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.80 ม. อำเภอเมืองอำเภอบางใหญ่ และอำเภอไทรน้อย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 24 ลำ กระสอบทราย 1,732,015 ใบ เครื่องสูบน้ำ 169 เครื่อง ถุงยังชีพ 19,815 ชุด สร้างสะพานไม้ชั่วคราว 68 แห่ง กำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัย 1,379 นาย รวมทั้งช่วยเหลือด้านยารักษาโรค
- จังหวัดได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามระเบียบฯ รวมเป็นเงิน 30,352,990.- บาท
3.12 จังหวัดปราจีนบุรี น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีมหาโพธิ 5 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ) อำเภอเมือง 11 ตำบล และอำเภอบ้านสร้าง 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 26 ลำ เครื่องสูบน้ำ 20 เครื่อง รถแบ็คโฮ 2 คัน รถยนต์บรรทุก 15 คัน รถยก 1 คัน รถกระเช้า 1 คัน รถบรรทุกน้ำ 1 คัน รถสายตรวจ 6 คัน ถุงยังชีพ น้ำดื่ม และยาสามัญประจำบ้าน 20,975 ชุด อาหารสัตว์ 35 ตัน พร้อมกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัย 501 นาย
- สร้างสะพานชั่วคราว (เเบรีย์) ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกี่ และ หมู่ที่ 10 ตำบลลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี
3.13 กรุงเทพมหานคร ปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายเข้าทุ่งฝั่งตะวันออกมีปริมาณมากทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ ดังนี้
- เขตลาดกระบัง มีน้ำท่วมขังในหมู่บ้าน ถนน ซอย โรงเรียน วัด มัสยิด จำนวน 69 แห่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.80 ม.
- เขตมีนบุรี มีน้ำท่วมขังในหมู่บ้าน ถนน ซอย โรงเรียน วัด มัสยิด จำนวน 9 แห่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.50 ม.
- เขตหนองจอก มีน้ำท่วมขังในหมู่บ้าน ถนน ซอย โรงเรียน วัด มัสยิด จำนวน 21 แห่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
- เขตสายไหม มีน้ำท่วมขังในหมู่บ้าน ถนน ซอย โรงเรียน วัด มัสยิด จำนวน 6 แห่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.05-0.10 ม.
- เขตคลองสามวา มีน้ำท่วมขังในหมู่บ้าน ถนน ซอย โรงเรียน วัด มัสยิด จำนวน 27 แห่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
- และพื้นที่นอกคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาใน 11 เขต 33 ชุมชน ราษฎรเดือดร้อน 2,111 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้เสริมกระสอบทรายเป็นแนวกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจากเดิมที่ทำไว้ 2.50 ม.รทก. เป็น 2.70-2.90 ม.รทก. พร้อมใช้เครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
- กรุงเทพมหานคร และกองบัญชาการทหารสูงสุด ได้จัดส่งกำลังพลพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักรกล ดำเนินการขุดลอกคูคลองตามแนวเหนือใต้ของถนนบางนา-ตราด และถนนมอเตอร์เวย์ ประมาณ 20 คลอง เพื่อเปิดทางน้ำไหลให้ระบายน้ำลงอ่าวไทยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4) สิ่งของพระราชทาน
4.1 สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้
1) จัด “ชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทย ช่วยผู้ประสบภัย” ไปมอบให้ผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จ.อุทัยธานี จำนวน 2,000 ชุด
2) จัดรถสื่อสารฉุกเฉินเคลื่อนที่ ให้บริการโทรศัพท์ฟรีแก่ผู้ประสบอุทกภัย ที่ตำบลป่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ระหว่างวันที่ 20-27 ต.ค.49
4.2 มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา ฯ) ยามยาก ได้จัดตั้งคลังอาหารและน้ำดื่ม หน่วยแพทย์ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น หน่วยแพทย์เคลื่อนที่เร็วป้องกันโรคระบาดที่เกิดจากอุทกภัย และมอบอาหารเสริมพระราชทานในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท (อำเภอสรรพยา) จังหวัดสิงห์บุรี (อำเภออินทร์บุรี) จังหวัดอ่างทอง (อำเภอ ป่าโมก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อำเภอบางไทร) อำเภอละ 10 จุด แต่ละจุดประกอบด้วย ข้าว 11,000 กิโลกรัม อาหารกระป๋อง 2,200 กระป๋อง น้ำดื่ม 11,000 ขวด/จุด โดยทำการสำรวจความขาดแคลนในวันจันทร์และส่งมอบสิ่งของในวันพุธของสัปดาห์ ซึ่งการมอบสิ่งของ ฯ จะกำหนดให้มีคณะกรรมการชุมชน ฯ เป็นผู้ดำเนินการมอบให้แก่ผู้ประสบภัย
5. การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัยของหน่วยงาน
1) เมื่อวันที่ 20 ต.ค.49 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายอารีย์ วงศ์อารยะ) ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการการประปาสวนภูมิภาค พร้อมคณะฯ เดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานการณ์อุทกภัย รับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์ พร้อมมอบสิ่งของอุปโภคบริโภคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 1,000 ชุด และที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 600 ชุด
2) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังนี้
2.1 ได้ระดมกำลัง เครื่องจักรกล 217 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 201 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน เต็นท์ยกพื้นพักอาศัยชั่วคราว 448 หลัง (อ่างทอง 177 หลัง นครสวรรค์ 50 หลัง อุตรดิตถ์ 121 หลัง น่าน 39 หลัง พระนครศรีอยุธยา 20 หลัง ชัยนาท 25 หลัง สิงห์บุรี 23 หลัง เชียงใหม่ 43 หลังและสุโขทัย 15 หลัง) พร้อมเจ้าหน้าที่ 614 คน และสนับสนุนถุงยังชีพ 75,200 ชุด ไปปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2.2 จ่ายเงินค่าจัดการศพ 64 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 1,685,000.- บาท คงเหลือ 61 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ
2.3 จัดส่งถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง ผ้าขาวม้า ผ้าถุง รองเท้ายาง ไปสนับสนุนจังหวัด ที่ประสบภัย คิดเป็นมูลค่า 41,649,800.- บาท
2.4 สนับสนุนขวดบรรจุน้ำดื่ม 500,000 ขวด ให้แก่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และจังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา สำหรับนำไปบรรจุน้ำดื่มแจกจ่ายช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัย
3) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้ประสานงานให้ นขต.ศบภ.ทบ. จัดกำลังพล 3,389 นาย รถยนต์บรรทุก 238 คัน และเรือท้องแบน 34 ลำ ให้การช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ประสบอุทกภัย พร้อมรับบริจาคเงิน และสิ่งของจากองค์กรภาคเอกชน ประชาชน ยอดบริจาค จำนวน 6,516,261.65.- บาท
6. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น วันที่ 20 ต.ค.49 ถึง 07.00 น วันที่ 21 ต.ค.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดตาก (อ.เมือง) 2.6 มม. จังหวัดสกลนคร (อ.นิคมน้ำอูน) 2.6 มม.
จังหวัดราชบุรี (อ.เมือง) 10.3 มม. จังหวัดปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี) 3.1 มม.
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.พรหมศรี) 85.0 มม. จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ. หัวไทร) 68.2 มม.
จังหวัดสงขลา (อ.ระโนด) 65.7 มม. จังหวัดสงขลา (อ.สทิงพระ) 35.0 มม.
จังหวัดนราธิวาส (อ.เจาะไอร้อง) 64.6 มม. จังหวัดพัทลุง (อ.บางแก้ว) 40.0 มม.
7. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 21 ต.ค.49)
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 13,310 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 152 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง 9,469 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 41 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 100 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ปริมาตรน้ำ 589 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 121 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 83 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด มีการระบายน้ำ 5.18 ล้าน ลบ.ม. (59.95 ลบ.ม./วินาที)
8. สภาพน้ำเจ้าพระยา
8.1 วันนี้ (21 ต.ค.49) เวลา 16.00 น. มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ จำนวน 5,465 ลบ.ม./วินาที (ลดลง 55 ลบ.ม./วินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จำนวน 4,096 ลบ.ม./วินาที (ระดับน้ำทรงตัว) และมีปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนพระรามหก จำนวน 554 ลบ.ม./วินาที (ลดลง 18 ลบ.ม./วินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 3,617 ลบ.ม./วินาที (จากการตรวจวัดในสนาม)
8.2 กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำในการควบคุมน้ำหลากโดยการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา (วันที่ 21 ต.ค.49) รับน้ำเข้าทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก 590 ลบ.ม./วินาที และ ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก 232 ลบ.ม./วินาที ผ่านประตูระบายน้ำปากแม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณ และคลองชัยนาท-ป่าสัก และได้กำหนดมาตรการลดปริมาณน้ำหลากสูงสุดในช่วงที่น้ำทะเลจะหนุนสูง วันที่ 23-26 ตุลาคม 2549 โดยเร่งรัดการส่งน้ำเพิ่มเติมเข้าพื้นที่ชลประทานใน 8 จังหวัดทุ่งเจ้าพระยาตั้งแต่วันที่ 16-19 ต.ค.49 เข้าพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 1,175,144 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำทั้งหมด 420.91 ล้าน ลบ.ม. (แยกเป็นในทุ่งฝั่งตะวันออก 435,000 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำ 139.68 ล้าน ลบ.ม. และทุ่งฝั่งตะวันตก 740,144 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำ 281.23 ล้าน ลบ.ม.)
9. จากการตรวจสอบสภาวะฝนจากสถานีเรดาร์อุตุนิยมวิทยา ในวันนี้ (21 ต.ค.49) เวลา 17.00 น. พบ กลุ่มฝนกำลังอ่อนถึงปานกลาง ปกคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ตาก พิษณุโลก ขอนแก่น สงขลา พังงา และยะลา
10. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2549 เวลา 17.00 น.
ด้วยความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออก มีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ สำหรับภาคใต้ มีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ในจังหวัดที่กล่าวมาระมัดระวังอันตรายภัยจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้
11. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 และรวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ที่คาดว่าจะเกิดภัยให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวร เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
12. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป
หมายเหตุ หากประสงค์จะรับข้อมูลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) โปรดแจ้ง Email ไปยัง
Disasterthailand@yahoo.com หรือ โทรสาร 0-2241-7450-6 (กลุ่มงานปฏิบัติการ ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ