รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า วันที่ 11 ธันวาคม 2549 เวลา 17.00 น.

ข่าวทั่วไป Tuesday December 12, 2006 09:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--ปภ.
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในลุ่มเจ้าพระยา
1.1 ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-3 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
1.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 442 อำเภอ 40 กิ่งอำเภอ 16 เขต 3,054 ตำบล 20,625 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,198,814 คน 1,430,085 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร
1.3 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 316 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 72 คน อ่างทอง 31 คน พิจิตร 31 คน นครสวรรค์ 27 คน สิงห์บุรี 21 คน สุพรรณบุรี 18 คน สุโขทัย 14 คน พิษณุโลก 12 คน ปราจีนบุรี 12 คน ชัยภูมิ 10 คน ชัยนาท 11 คน ยโสธร 9 คน เชียงใหม่ 7 คน อุทัยธานี 7 คน ปทุมธานี 6 คน ลพบุรี 6 คน แม่ฮ่องสอน 3 คน ลำปาง 3 คน จันทบุรี 3 คน ร้อยเอ็ด 3 คน กรุงเทพมหานคร 2 คน ศรีสะเกษ 2 คน เพชรบูรณ์ 1 คน พังงา 1 คน นครปฐม 1 คน นครราชสีมา 1 คน อุตรดิตถ์ 1 คน และอุดรธานี 1 คน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 649 หลัง เสียหายบางส่วน 36,735 หลัง ถนน 10,391 สาย สะพาน 671 แห่ง ท่อระบายน้ำ 1,085 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 778 แห่ง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 5,605,559 ไร่ (ข้อมูลจากการบูรณาการระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) บ่อปลา/กุ้ง 113,260 บ่อ กระชังปลา 12,433 กระชัง ปศุสัตว์ 142,211 ตัว วัด 743 แห่ง โรงเรียน 682 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 7,636,574,897 บาท
2. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 43 จังหวัด
3. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม และนนทบุรี ในจำนวน 15 อำเภอ แยกเป็น
1) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมหาราช (3 ตำบล) อำเภอบางปะหัน (2 ตำบล) อำเภอบ้านแพรก (3 ตำบล) อำเภอลาดบัวหลวง (6 ตำบล) และอำเภอบางซ้าย (2 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน่วยทหาร อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 391,614 ชุด น้ำดื่ม 1,347,970 ขวด เต็นท์ 183 หลัง เรือท้องแบน 30 ลำ เรือไม้/เรือเหล็ก/เรือไฟเบอร์ 826 ลำ รถบรรทุกน้ำ 40 คัน รถแบ็คโฮ 10 คัน เครื่องสูบน้ำ 100 เครื่อง กระสอบทราย 820,730 ใบ รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน ห้องสุขาลอยน้ำ 70 ห้อง กำลังพล 4,796 คน สนับสนุนหญ้าแห้งอาหารสัตว์ 63,000 กก. มอบยาเวชภัณฑ์จำนวน 20,884 ชุด
2) จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (3 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม. อำเภอบางปลาม้า (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.50-0.90 ม. และอำเภอสองพี่น้อง (9 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.60-1.10 ม. ระดับน้ำลดลง
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 164,064 ชุด น้ำดื่ม 7,000 ขวด ยาเวชภัณฑ์จำนวน 1,000 ชุด กระสอบทราย 300,000 ใบ เครื่องสูบน้ำ 35 เครื่อง เรือท้องแบน 22 ลำ พล ร.9 และศูนย์ ปภ.เขต 2 สุพรรณบุรี
จัดรถบริการรับส่งประชาชนและเรือท้องแบนให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัย
3) จังหวัดนครปฐม น้ำที่ระบายจากคลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล คลองบางเลน ไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน (15 ตำบล) เทศบาลตำบลบางหลวง เทศบาลตำบลลำพญา และเทศบาลตำบลบางเลน ระดับน้ำสูง 0.40-0.70 ม. อำเภอนครชัยศรี (12 ตำบล) เทศบาลตำบลนครชัยศรี (ชุมชนริมคลองบางแก้วฟ้า และชุมชนคลองเจดีย์บูชา) อำเภอพุทธมณฑล (3 ตำบล) น้ำท่วมชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ ริมคลองโยง และริมคลองทวีวัฒนา และอำเภอกำแพงแสน (ตำบลห้วยม่วง หมู่ที่ 1,10) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 31,406 ชุด เรือท้องแบน 93 ลำ เครื่องสูบน้ำ 44 เครื่อง กระสอบทราย 2,379,112 ใบ รถบรรทุก 2 คัน ชุดยาเวชภัณฑ์ 24,124 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมสนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,692,134.40 บาท
4) จังหวัดนนทบุรี น้ำยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำจากทุ่งเจ้าเจ็ดผ่านคลองพระยาบรรลือ และคลองพระพิมล 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางกรวย ระดับน้ำสูง 0.40-1.25 ม. ระดับน้ำลดลง
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 154 ลำ กระสอบทราย 1,768,495 ใบ เครื่องสูบน้ำ 169 เครื่อง เรือสุขา 3 ลำ ถุงยังชีพ 38,204 ชุด สร้างสะพานไม้ชั่วคราว 68 แห่ง กำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัย 1,379 นาย รวมทั้งช่วยเหลือด้านยารักษาโรค และจัดรถบริการรับส่งประชาชนและเรือท้องแบนให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัย
4. การให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัย
4.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้
(1) เครื่องจักรกล 153 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 142 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน เต็นท์ยกพื้นพักอาศัยชั่วคราว 555 หลัง (อ่างทอง 177 หลัง พระนครศรีอยุธยา 142 หลัง สุโขทัย 20 หลัง นครสวรรค์ 50 หลัง อุตรดิตถ์ 70 หลัง น่าน 39 หลัง ชัยนาท 35 หลัง และ สิงห์บุรี 22 หลัง) เต็นท์อำนวยการ 15 หลัง บ้านน็อกดาวน์ 10 หลัง(เชียงใหม่) สะพานเบลี่ย์ 57 เมตร พร้อมเจ้าหน้าที่ 642 คน และสนับสนุนถุงยังชีพ 80,359 ชุด ไปปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(2) จ่ายเงินค่าจัดการศพ 273 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 7,095,000 บาท (คงเหลือ 43 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ) ทั้งนี้จังหวัดที่ประสบภัยได้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 719.28 ล้านบาท
(3) จัดส่งถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง ผ้าขาวม้า ผ้าถุง รองเท้ายาง ไปสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัย คิดเป็นมูลค่า 41,649,800 บาท
4.2 กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยในฤดูฝนปี 2549 ทั่วประเทศ รวม 681 เครื่อง แยกเป็นเพื่อการเกษตร 327 เครื่อง การอุปโภคบริโภค 6 เครื่อง และช่วยเหลืออุทกภัย 348 เครื่อง นอกจากนี้ได้ส่งเครื่องผลักดันน้ำช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 37 เครื่อง แยกเป็นจังหวัดนนทบุรี 6 เครื่อง กรุงเทพมหานคร 14 เครื่อง สมุทรสาคร 6 เครื่อง นครปฐม 5 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 6 เครื่อง
5. สภาพน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ข้อมูลวันที่ 10 ธ.ค.49) โดยกรมชลประทาน
- ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 541 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 180 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 16 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 905 ลบ.ม./วินาที
6. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 11 ธ.ค. 2549 เวลา 12.00 น.
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศเย็นและมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปมีฝนฟ้าคะนองกระจายในระยะนี้ อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “อูตอร์” ในทะเลจีนใต้ เมื่อเวลา 10.00 น. (11 ธ.ค.) มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 300 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ หรือ ที่ละติจูด 13.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนืออย่างช้าๆ พายุนี้อยู่ห่างจากประเทศไทยมากยังไม่มีผลกระทบกับลักษณะอากาศของประเทศไทยในระยะ 2-3 วันนี้
7. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น วันที่ 10 ธ.ค.49 ถึง 07.00 น วันที่ 11 ธ.ค.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดพัทลุง (กิ่ง อ.ศรีนครินทร์) 60.0 มม. (อ.เมือง) 50.0 มม.
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.ปากพนัง) 45.0 มม. จังหวัดภูเก็ต (อ.ถลาง) 39.4 มม.
จังหวัดสงขลา (อ.เมือง) 25.0 มม. จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ.ชัยบุรี) 24.0 มม.
8. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11,12 จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดจากอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และ คลื่นลมแรง ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในระหว่างวันที่ 9-12 ธันวาคม 2549 และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในเขตความรับผิดชอบ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้น จัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
9. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ