กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “วันพ่อแห่งชาติ พ.ศ. 2552” ช่วงเวลาสำรวจระหว่างวันที่ 28 — 30 พฤศจิกายน 2552 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 1,412 คน แบ่งเป็นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ พื้นที่ละ 279 — 289 หน่วยตัวอย่าง โดยลักษณะทั่วไปของหน่วยตัวอย่างกระจายอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 18 — 39 ปี ในทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ ผลการสำรวจสามารถสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ดังนี้
ประชาชนทุกคนตั้งใจ ทำดีต่าง ๆ กัน เพื่อถวายในหลวงในวันเฉลิมพระชนมพรรษา (วันพ่อแห่งชาติ) ประชาชน (อายุ 18 — 39 ปี) เป็นห่วงอยากให้ในหลวงหายประชวรโดยเร็ววัน ทุกคนตั้งใจทำความดีต่าง ๆ เพื่อถวายในหลวง ได่แก่ ตั้งใจคนดี /ไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม/เชื่อฟังพ่อแม่ — ครูบาอาจารย์ (ร้อยละ 35) ทำบุญ/ตักบาตร/เข้าวัด/ฟังธรรม/สวดมนต์ (ร้อยละ 27) ปลูกต้นไม้/รักษาสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 13) ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน/ตั้งใจทำงาน/ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน (ร้อยละ 9) ประหยัด อดออมตามเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 7) บริจาคโลหิตและบริจาคสิ่งของต่าง ๆ (ร้อยละ 5) และทำความดีอื่น ๆ (ร้อยละ 4) เช่น การบวช บำเพ็ญประโยชน์ และทำทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว รายละเอียดแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ร้อยละของประชาชนในแต่ละภาค จำแนกตามสิ่งที่ตั้งใจทำเพื่อ
สิ่งที่ตั้งใจทำเพื่อถวายในหลวง ร้อยละ
ปฏิบัติตนเป็นคนดี /ไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม/เชื่อฟังพ่อแม่ — ครู 35.4
ทำบุญ/ตักบาตร/เข้าวัด/ฟังธรรม/สวดมนต์ ขอพรให้ทรงหายประชวร 26.6
ปลูกต้นไม้/รักษาสิ่งแวดล้อม/ประหยัดพลังงาน/ทำความดี 12.7
ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน/ตั้งใจทำงาน/ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน 9.4
ประหยัด อดออมตามเศรษฐกิจพอเพียง 6.5
บริจาคโลหิตและบริจาคสิ่งของต่าง ๆ 5.2
อื่น ๆ เช่น การบวช บำเพ็ญประโยชน์ และ ทำทุกอย่าง 4.3
รวม 100.0
ประชาชนมากกว่าร้อยละ 17 “ไม่เคยบอกรักพ่อ”
ถึงแม้ว่าจะมีประชาชน (อายุ 18 — 39 ปี) จำนวนมาก ”บอกรักพ่อ” บ่อยมาก (ร้อยละ 18) หรือ “บอกรักพ่อ” นาน ๆ ครั้ง (ร้อยละ 64) แต่ก็ยังมีประชาชน (อายุ 18 — 39 ปี) อีกมาก (ร้อยละ 17) ที่ไม่เคยบอกรักพ่อ
เหตุผลหลักที่ทำให้ลูก ”ไม่บอกรักพ่อ” คือ ความเขิน/อายที่จะบอกรักพ่อ (ร้อยละ 8 จาก 17) เหตุผลในอันดับรองลงมาคือ ไม่ได้อยู่ด้วยกัน หรืออยู่ห่างไกลกัน (ร้อยละ 4 จาก 17) แต่ก็ยังมีอีกบางส่วนที่ไม่ได้บอกรักด้วยคำพูด แต่ใช้การแสดงออกหรือส่งเป็น SMS (ร้อยละ 2 จาก 17) ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากความ “เขิน/อาย” และอีกส่วนหนึ่งมาจากความคิดที่ว่า “การกระทำสำคัญกว่าการบอกด้วยวาจา
ประชาชนเห็นพ่อเป็น “ซุปเปอร์แมน” และเหมือน “พี่เบิร์ด”
เมื่อเปรียบเทียบพ่อกับ ”ฮีโร่ในการ์ตูน” ประชาชน (อายุ 18 — 39 ปี) ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 55) เห็นว่าพ่อไม่หมือนใคร แต่ก็ยังมีบางส่วนเห็นพ่อเป็นอีโร่ ดังนี้
ร้อยละ 22 เห็นพ่อเป็น ”ซุปเปอร์แมน” เพราะ พ่อช่วยเหลือ ปกป้อง ดูแล รักและทำเพื่อลูกได้ นอกจากนี้ยังเป็นคนเก่ง ขยันและฉลาด
ร้อยละ 7 เห็นพ่อเป็น ” โดเรม่อน” เพราะ พ่อให้ได้ทุกอย่าง
เมื่อเปรียบเทียบพ่อกับ ”คนดังหรือผู้มีชื่อสียง” ปรากฏว่า ในบรรดาประชาชน (อายุ 18 — 39 ปี) ที่เห็นว่าพ่อหมือนใครคนใดคนหนึ่งนั้น ปรากฏว่า
ร้อยละ 14 เห็นพ่อเหมือน ”พี่เบิรดิ์ ธงไชย แมคอินไตย” เพราะ สนุกสนานร่าเริง ทำให้ลูกมีความสุข และ ร้องพลงเก่ง
ร้อยละ 11 เห็นพ่อเหมือน ”นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เพราะ เก่ง มีหลักการ เป็นคนดี มีความรู้
ร้อยละ 6 เห็นพ่อเหมือน ”อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร” เพราะทำงานเก่ง บริการเก่ง มีทรัพย์สิน
ร้อยละ 5 เห็นพ่อเหมือน ”เคน ธีระเดช” เพราะรักลูก รักครอบครัว
ร้อยละ 5 เห็นพ่อเหมือน ”อดีตนายกชวน หลีกภัย” เพราะนิสัยบุคลิกคล้ายกัน คืออยู่อย่างพอเพียง ใจดี อบอุ่น
ร้อยละ 4 เห็นพ่อเหมือน ”สมบัติ เมทะนี” เพราะรักครอบครัว แข็งแรง อบอุ่น
สิ่งไม่เคยทำและที่อยากทำให้พ่อ ปีนี้ คือ “ดูแลปรนนิบัติ และกอดพ่อและบอกรักพ่อ”
วันพ่อปีนี้ลูกทุกคนมีสิ่งที่ไม่เคยทำแต่ตั้งใจทำดีเพื่อพ่อ เช่น ดูแลปรนนิบัติ/พาไปทานข้าว/ไปเที่ยว (ร้อยละ 28)
ลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ไม่ดี (ร้อยละ 27) บอกรักพ่อ/กอดพ่อ (ร้อยละ 23) ให้เงินพ่อ/มอบของขวัญ/สิ่งของ (ร้อยละ 13) และทำสิ่งดี ๆ อื่น ๆ
รายละเอียดรายงานผลการสำรวจฉบับสมบูรณ์ download ได้จาก http://nidapoll.nida.ac.th
ติดต่อ สำนักงานศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” โทร. 02 727 3310 โทรสาร 02 374 275
Email: nida_poll@nida.ac.th