โซลูชั่นสำหรับการขับรถอย่างปลอดภัย ระบบความปลอดภัย ABS และ ESP?

ข่าวยานยนต์ Friday December 4, 2009 17:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ธ.ค.--โอเอซิส มีเดีย - ระบบเบรคป้องกันล้อล๊อค (ABS) และ ระบบเบรก Electronic Stability Program (ESP?) ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้ก่อนเกิดขึ้น และทำให้การขับขี่ มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น - ระบบ ABS และ ESP? เป็นระบบความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก - ในปี 2551 60% ของรถยนต์ที่ผลิตใหม่ในประเทศไทยติดตั้งระบบ ABS แต่มีเพียง 4% ที่ติดตั้งระบบ ESP? - บ๊อชยืนยันให้การสนับสนุนมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทย บ๊อช เชิญสมาชิกของสมาคมยานยนต์ต่าง ๆ ในประเทศไทยและสื่อมวลชนเข้าร่วมการสัมมนา บ๊อชขับขี่ปลอดภัย ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาได้ร่วมทดสอบการขับรถ และทดสอบประสิทธิภาพของระบบเบรก ABSและ ESP? บนสนามทดลองระบบความปลอดภัย ABS และ ESP? เป็นระบบเบรกเชิงรุก ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้ โดยช่วยให้รถยนต์ทรงตัวได้อย่างมั่นคง เป็นผลให้ผู้ขับขี่ถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย ซึ่งแตกต่างกับระบบความปลอดภัยเชิงรับ อย่างเช่น ถุงลมนิรภัย และ เข็มขัดนิรภัย ซึ่งป้องกันผู้ขับขี่เมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้มีการกล่าวถึงประสิทธิผลของเทคโนโลยีระบบ ABS และ ESP? รวมถึงการยอมรับจากหน่วยงานรัฐบาล และสมาคมยานยนต์ที่เกี่ยวข้อง ต่างๆ อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านยังมีโอกาสได้ทดลองขับขี่ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบ ABS และ ESP? ในด้านการขับขี่และความมั่นคงในการทรงตัวของรถยนต์ด้วยตนเองวัตถุประสงค์สำคัญของกิจกรรมดังกล่าวเป็นการเสริมสร้างความตื่นตัวและความรู้เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยยานยนต์ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญ ที่สามารถช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและอัตราการเสียชีวิตทางรถยนต์ได้ทางหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมของ กลุ่มริษัทบ๊อช ในการช่วยปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ พัฒนาการของระบบความปลอดภัยเชิงรุก ระบบความปลอดภัยเชิงรุกทั้งหมด เริ่มพัฒนาขึ้นจากพื้นฐานของเทคโนโลยีระบบเบรกABS ซึ่งบ๊อชเปิดตัวสู่ตลาดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ในสภาวะการขับขี่คับขันหรือโดยสภาพถนนเปียกลื่น ล้อรถยนต์อาจเกิดการล๊อคในระหว่างการหยุดรถอย่างกระทันหัน ทำให้ประสิทธิภาพของ การยึดเกาะ ระหว่างยางล้อกับผิวถนนลดลง และทำให้รถยนต์หลุดจากการควบคุม เนื่องจากรถยนต์ไม่ตอบสนองต่อการบังคับของผู้ขับขี่ ในรถยนต์ที่ติดตั้งระบบเบรก ABS เครื่องตรวจจับ ความเร็วล้อจะจับรอบความเร็วของล้อรถ และส่งสัญญาณไปยังหน่วยควบคุมของระบบ ABS ซึ่งจะคำนวนระดับแรง ไถลระหว่างล้อกับผิวถนน และวิเคราะห์ว่าล้อใดล้อหนึ่งจะล๊อคหรือไม่ หากมีโอกาสที่ล้ออาจจะล๊อคได้ ระบบเบรก ABS จะช่วยสร้างสมดุลและผ่อนแรงกดต่อ แรงดันเบรก ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้ล้อล๊อค ทำให้ผู้ขับขี่สามารถบังคับรถยนต์ได้ปกติ และหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้ในปี 2538 ระบบความปลอดภัยสำหรับการขับขี่เชิงรุกได้รับ การพัฒนาขึ้นอีกระดับ จากการเปิดตัวระบบเบรก Electronic Stability Program หรือ ESP? ของ Bosch ด้วยระบบดังกล่าว หากรถยนต์วิ่งไปในทิศทางที่ไม่ตรงกับที่ผู้ขับขี่บังคับ ระบบ ESP? จะตรวจพบสถานการณ์คับขันดังกล่าวและแก้ไขในทันที โดยใช้ระบบห้ามล้อของรถยนต์ เป็นเครื่องมือในการบังคับรถยนต์ให้กลับมาวิ่งได้ตามปกติ กล่าวคือ ใช้ระบบห้ามล้อเฉพาะ ในแต่ละล้อ เช่น ใช้ล้อหลังด้านในในการถ่ายสมดุลย์เมื่อรถออกจากศูนย์กลาง (Understeer) และใช้ล้อหน้าด้านนอกในช่วงท้ายรถปัดในขณะเข้าโค้ง(Oversteer) การแทรกแซงระบบ ห้ามล้ออย่างเฉพาะเจาะจงดังกล่าวทำให้เกิดแรงต้านที่เหมาะสม และทำให้รถยนต์สามารถวิ่งไปในทิศทางที่ผู้ขับขี่บังคับ เพื่อให้รถสามารถทรงตัวได้ดีสูงสุด ระบบESP? ไม่เพียงแต่แทรกแซงระบบห้ามล้อ แต่ยังแทรกแซงระบบเครื่องยนต์เพื่อลดความเร็วล้อระบบESP? จึงช่วยลดปัญหายุ่งยากในการขับขี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดภาระของผู้ขับขี่ ในสถานการณ์คับขัน ระบบ ESP? ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ การเพิ่มอัตราการใช้ระบบ ESP? ในยานยนต์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวางช่วยในการวิเคราะห์ผลกระทบในสถานการณ์อุบัติเหตุจริงในหลายประเทศ ในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบเบรก ESP? ในประเทศญี่ปุ่น เยอรมัน สวีเดน ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ทุกประเทศยืนยันถึงประโยชน์ของระบบเบรก ESP? บนพื้นผิวการจราจรแบบต่าง ๆ โดยใช้ระบบวิเคราะห์หลาย ๆ แบบกับรถยนต์ต่างยี่ห้อ ต่างรุ่น ซึ่งรวมถึงรถยนต์และรถ SUV รุ่นต่าง ๆ ผลตามทดสอบแสดงให้เห็นว่า ระบบเบรก ESP? เป็นระบบเบรกที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดอัตราการ เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่มีผู้ใช้ถนนอื่น ๆ ร่วมด้วย ในรถยนต์และ รถ SUV จากการศึกษาวิจัย คาดว่าระบบ ESP? ช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ระหว่าง 30% ถึง 50% ในรถยนต์และ 50% ถึง 70% ในรถ SUV การวิเคราะห์ผลได้ผลเสียที่ทำโดยมหาวิทยาลัยแห่งโคโลญ (ประเทศเยอรมนี) ในปี 2550 ระบุว่า หากรถยนต์ทุกคันติดตั้งระบบเบรก ESP? จะสามารถป้องกันอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทาง รถยนต์ร้ายแรงได้ถึง 4,000 รายและป้องกันอัตราการบาดเจ็บได้ถึง 100,000 รายในทวีปยุโรปเพียงแห่งเดียว ในประเทศสหรัฐอเมริกา The National Highway Traffic Safety Authority (NHTSA) คาดว่าหากรถยนต์ทุกคันติดตั้งระบบเบรก ESP? จะสามารถป้องกันการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ร้ายแรงได้ถึง 10,000 ราย และการบาดเจ็บได้ 250,000 ราย ระบบ ABS และ ESP? ได้รับการยอมรับทั่วโลก ในปี 2551 อัตราการติดตั้งระบบ ABS ทั่วโลกอยู่ที่ 76% สำหรับประเทศไทย มีอัตราการติดตั้งระบบเบรก ABS ที่ 60% ในรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับประเทศจีนและเกาหลีใต้ อย่างไรก็ดี มีรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่ในประเทศไทยเพียง 4% ที่ติดตั้งระบบ ESP? ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขอัตราการติดตั้งระบบ ESP? ทั่วโลกที่ 33% อยู่มาก ในทางตรงกันข้าม ในทุก ๆ วันนี้ มากกว่า 50% ของรถยนต์โดยสารที่ผลิตขึ้นใหม่และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็กในทวีปยุโรปและประเทศสหรัฐฯ ทั้งหมดติดตั้งระบบเบรก ESP? โดยผู้ผลิตในยุโรปเริ่มติดตั้งระบบ ESP? ให้กับยานยนต์ ในกลางทศวรรษ 90 โดยในระยะเริ่มต้น ระบบ ESP? เป็นเพียงอุปกรณ์เสริมในยานยนต์หรูหรา ราคาแพง แต่ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีต่อมา ผู้ผลิตชั้นนำต่างเสนอระบบเบรก ESP ให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในยานยนต์ทุกชนิด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อัตราการติดตั้งระบบเบรก ESP? ได้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอทั่วโลก นอกจากนี้ ตัวเลขตลาดโลกยังชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มในการใช้มาตรฐานความปลอดภัยยานยนต์ที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะจากเปลี่ยนจากระบบ ABS เป็น ESP? ผลการศึกษาจำนวนมากทั่วโลกเกี่ยวกับประสิทธิผลของระบบ ESP? ได้ทำให้หลายประเทศเริ่มออกกฎหมายความปลอดภัย ในต้นปี 2550 ประเทศสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายให้รถยนต์รุ่นต่าง ๆ ค่อยๆ เปลี่ยนไปใช้ระบบ ESP? ภายในปี 2555 ในขณะที่กลุ่มสหภาพยุโรประบุให้ยานยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่ทั้งหมดต้องติดตั้งระบบความปลอดภัย ESP? ภายในเดือน พ.ย. 2557 และในเดือน มิ.ย.2552 รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศให้ระบบ ESP? เป็นระบบมาตรฐานสำหรับรถยนต์โดยสารที่ผลิตขึ้นใหม่ทั้งหมดภายในเดือน พ.ย. 2556 นอกจากนี้แล้ว หลายประเทศทั่วโลกยังประกาศให้ระบบเบรกABS เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ตัวอย่างเช่น ในประเทศบราซิลได้ประกาศมาตรการบังคับให้ระบบเบรก ABS เป็นอุปกรณ์มาตรฐานโดยเริ่มทำการปรับเปลี่ยน ในช่วงปีพ.ศ. 2553 — 2557 การสนับสนุนมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทย ปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นหนึ่งประเด็นสำคัญของประเทศไทย โดยได้มีการตั้งเป้าลดตัวเลขการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จาก 12,000 รายต่อปี ให้ลดลงกึ่งหนึ่งภายในทศวรรษหน้า ซึ่งบ๊อช เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนสำคัญสำหรับมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนนดังจะเห็นได้จากนโยบายองค์กร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมทางการตลาดของบริษัทฯ ในการสัมมนาระดับชาติในหัวข้อเรื่อง ‘Partnership for Road Safety’ ในปีนี้บ๊อชได้เน้นถึงบทบาทและประโยชน์ของเทคโนโลยีระบบเบรก ABS และ ESP? และบ๊อชจะยังคงรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความรับรู้และความสนใจต่อผลกระทบของระบบความปลอดภัยเชิงรุกต่อความปลอดภัยบนท้องถนนผ่านโครงการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของบริษัทฯ ต่อไป ข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์ เพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท โอเอซิส มีเดีย จำกัด โทร.0-2937-4658-9,0-2937-4735 คุณธนะพน เขียวหวาน / คุณศรัญญรัตน์ สุวรรณคาม / คุณปิยะพร จำเนียร Email : tanapon@oasismedia.co.th, saranyarat@oasismedia.co.th , piyaporn@oasismedia.co.th ข้อมูลองค์กรเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด โทร. 02 -631-1879 คุณยุพารัตน์ เหล่าธนภัทร ผู้จัดการสื่อสารองค์กร E-mail : Yuparat.Laotanapat@th.bosch.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ