พรวิมล เอสเทธิค แนะนำ วิธีการรักษาฝ้า อย่างถูกวิธี

ข่าวทั่วไป Wednesday December 9, 2009 15:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ธ.ค.--พรวิมล เอสเทธิค ฝ้า Melasma ฝ้า คือ จุดสีน้ำตาลอ่อน หรือ น้ำตาลเข้ม บนใบหน้า มักพบได้ที่บริเวณโหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง, หน้าผาก, จมูก, เหนือริมฝีปาก ฝ้า ที่เห็นนั้นเกิดจาก เซลล์สร้างเม็ดสี ในบริเวณผิวหนังทำงานผิดปกติ และส่งเม็ดสีขึ้นมาบนผิวหนังด้านบนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ความเข้มของสีผิวไม่สม่ำเสมอ มักจะพบใน ผู้หญิง มากกว่า ผู้ชายและ พบมากในวัยกลางคนอายุประมาณ 30-40 ปี สาเหตุ เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ผิวหนังมีการสร้างเม็ดสี (pigment) มากกว่า ปกติพบมากในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กินหรือ ฉีดยาคุมกำเนิด แต่ก็อาจพบใน ผู้ชายได้ และผู้หญิงทั่วไป ผู้ที่ถูกแสงแดด หรือแสงไฟ (แสงอัลตราไวโอเลต) บ่อยอาจมีโอกาสเป็นฝ้าได้ง่าย และเชื่อว่ากรรมพันธุ์ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดฝ้า นอกจากนี้ความเครียด สารเคมี (เช่น น้ำมันดิน) น้ำหอม เครื่องสำอาง ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดฝ้า หรือรอยด่างดำบนใบหน้าได้ผู้ที่เป็นโรคบางชนิด เช่น เนื้องอกของรังไข่ โรคแอดดิสัน ก็อาจทำให้หน้าเป็นฝ้าดำได้เช่นกัน บางคนอาจเกิดฝ้าโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้ ข้อแนะนำ 1. ฝ้าที่เกิดจากการตั้งครรภ์ หรือกินหรือฉีดยาคุมกำเนิด อาจหายได้เองหลังคลอด หรือหลังหยุดใช้ยาคุมกำเนิด (อาจใช้เวลาเป็น สองเท่าของระยะเวลาที่กินยาคุมกำเนิด เช่น ถ้ากินยาอยู่นาน 1 ปี ก็อาจใช้เวลาถึง 2 ปีกว่าฝ้าจะหาย) 2. ฝ้า อาจมีสาเหตุจากโรคที่ซ้อนเร้นภายในร่างกาย เช่น เนื้องอกของรังไข่ โรคแอดดิสัน เป็นต้นนอกจากนี้โรคเอสแอลอี ก็อาจมีผื่นแดงขึ้นที่แก้ม คล้ายรอยฝ้าได้ ดังนั้นถ้าพบมีอาการผิดสังเกตอื่น ๆ เช่น อ่อนเพลีย เป็นลมบ่อย ปวดข้อ ผมร่วง เป็นไข้เรื้อรัง เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ 3. ยารักษาฝ้าบางชนิด อาจมีสารเคมีที่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocytes) ทำให้หน้าขาววอก หรือเป็นรอยแดงหรือรอยด่างอย่างน่าเกลียด ดังนั้น จึงควรระมัดระวังอย่าซื้อยาลอกฝ้ามาทาเองอย่างส่งเดชโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาที่โฆษณาว่าทำให้หายได้ทันที ยาลอกฝ้าที่เข้าสารปรอท อาจทำให้ฝ้าจางลง แต่อาจมีอันตรายจากการสะสมปรอทที่ผิวหนัง และในร่างกายได้ 4. ในการรักษาฝ้า อาจต้องใช้เวลานานเป็นแรมเดือน หรืออาจไม่มีทางรักษาให้หายขาด เพียงแต่ใช้ยากันแสง และยาลอกฝ้าทาไปเรื่อย ๆ ถ้าหยุดยา อาจกำเริบได้ใหม่ ฝ้าที่อยู่ตื้น ๆ (สีน้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม) มักจะรักษาได้ผลดี แต่ฝ้าที่อยู่ลึก (สีน้ำตาลเทา หรือสีดำ) อาจได้ผลช้าหรือไม่ได้ผลเลย การรักษา ฝ้า 1. พยายามหาสาเหตุ และแก้ไข หรือ หลีกเลี่ยงสาเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ฝ้า เข้มขึ้น โดย - หลีกเลี่ยงแสงแดด ใช้ ครีมกันแดด ที่มีค่าป้องกัน (SPF) สูง - หลีกเลี่ยงการได้รับ ฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด, เครื่องสำอาง ที่มีฮอร์โมนผสมอยู่ หรือมี สารสเตียรอยด์ เป็นส่วนผสม 2. ทำให้ ฝ้า จางลง โดยการใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี โดยไม่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี 3. การขจัด ฝ้า Chemical Peeling, การเร่ง ผลัด เซลล์ผิว ด้วย AHA TRETMENT , dermabrasion และการใช้เครื่องมือ เช่น เลเซอร์ ในรายที่แพทย์เห็นสมควร เช่น การลอกฝ้า ข้อมูลโดย คุณหมอ พรวิมล นรเพชร กรรมการผู้จัดการ พรวิมล เอสเทธิค
แท็ก เซลล์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ