ไมโครซอฟท์และผู้บริโภคร่วมกันต่อต้านการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โครงการต่างๆ เกี่ยวกับการปกป้องผู้บริโภคได้ดำเนินการในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก

ข่าวเทคโนโลยี Friday December 11, 2009 11:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ธ.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย ไมโครซอฟท์ ได้ประกาศให้ทราบถึงการแจ้งเบาะแสจากผู้บริโภคกว่า 150,000 ราย ที่ได้ซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มาโดยไม่รู้ตัว และพบว่าซอฟต์แวร์ดังกล่าวเสี่ยงต่อการติดไวรัสและมัลแวร์ ผลการรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจของผู้บริโภคต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ และความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ในการช่วยผู้บริโภคต่อต้านซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น ในวันนี้ ไมโครซอฟท์จึงได้ประกาศวัน ‘Consumer Action Day’ เพื่อถือเป็นการเริ่มการดำเนินงานที่หลากหลายในการให้ความรู้ และการปราบปรามในกว่า 70 ประเทศทั่วโลกเพื่อปกป้องผู้บริโภคและส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงจากการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ เดวิด ฟินน์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กลุ่มต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลงในระดับสากล กล่าวว่า “ผู้บริโภคต้องการการดำเนินงานที่จริงจัง การดำเนินการส่วนใหญ่ที่ได้ประกาศไปในวันนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากคำแนะนำและการแจ้งเบาะแสต่างๆ จากผู้บริโภค ผู้บริโภคที่ถูกหลอกให้ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องพบกับปัญหาการติดไวรัส การสูญเสียข้อมูล ทั้งยังเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว และสูญเสียเวลาและทรัพย์สิน การประกาศในวันนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ในการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งคู่ค้า หน่วยงานราชการ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อที่จะปกป้องผู้บริโภคจากผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์” อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้ศึกษาถึงตลาดใต้ดินในการซื้อขายซอฟต์แวร์ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้บริโภคมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ผลการศึกษาของไอดีซีเมื่อปี 2549 แสดงให้เห็นว่า หนึ่งในสี่ของเว็บไซต์ที่เสนอซอฟต์แวร์เถื่อนให้กับผู้บริโภค พยายามที่จะติดตั้งโค้ดที่ไม่พึงประสงค์ หรือ โค้ดที่เป็นอันตราย ผ่านทางการดาวน์โหลด ตามรายงานจาก Media Surveillance บริษัท โซลูชั่นต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ในเยอรมนี พบว่า อัตราดังกล่าวยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัทได้ทดลองดาวน์โหลดซอฟต์แวร์วินโดวส์ละเมิดลิขสิทธิ์ และพบว่าร้อยละ 32 ของซอฟต์แวร์ดังกล่าวประกอบไปด้วยโค้ดที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ รายงานของไอดีซียังได้รายงานถึงการซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จากตัวแทนจำหน่ายใน 17 ประเทศ ที่ระบุว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของซอฟต์แวร์ดังกล่าวบรรจุโค้ดที่เป็นอันตรายหรือ มัลแวร์เอาไว้ นอกจากนี้ ในบางกรณี ซอฟต์แวร์ดังกล่าวยังไม่สามารถแม้กระทั่งจะติดตั้งได้ เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา รายงานการใช้อินเทอร์เน็ตประจำเดือนตุลาคม 2552 ของบีเอสเอ ระบุว่า ประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงจะมีอัตราในการติดมัลแวร์สูงเช่นกัน สำหรับกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของวัน Consumer Action Day นั้น มากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกได้เปิดตัวโปรแกรมการส่งเสริมการให้ความรู้และการดำเนินการปราบปรามเพื่อปกป้องผู้บริโภคจากซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ กิจกรรมที่สำคัญๆ ภายใต้โปรแกรมดังกล่าว รวมไปถึง โปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในโรงเรียนต่างๆ ในประเทศจีน การก่อตั้ง “originals club” ในกลุ่มตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ในประเทศเยอรมนี คอร์สฝึกอบรมเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศเม็กซิโก โปรแกรมออนไลน์ในการปกป้องความปลอดภัยของเยาวชนในประเทศกรีซ และ การศึกษาถึงผลกระทบของการละเมิดลิขสิทธิ์ต่อองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศอาร์เจนตินา ผลกระทบจากมัลแวร์มีหลากหลายตั้งแต่ การรบกวนจากโฆษณาที่ไม่พึงประสงค์ ไปจนถึงการทำลายความปลอดภัยทางด้านข้อมูล จากผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ ของแฮริสัน กรุ๊ป พบว่า บริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ มีแนวโน้มที่จะพบกับความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลสำคัญหรือข้อมูลถูกทำลายสูงถึงร้อยละ 73 และมีความเสี่ยงที่คอมพิวเตอร์จะพบปัญหาร้ายแรงนานถึง 24 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นสูงถึงร้อยละ 73 เสียงจากผู้บริโภคชาวไทย นอกเหนือไปจากนี้ ผู้บริโภคจะไม่ได้รับซอฟต์แวร์ที่ตนคิดว่าได้ซื้อไป ทั้งยังต้องซื้อซอฟต์แวร์ทั้งหมดใหม่อีกครั้งโดยที่ไม่สามารถเรียกคืนเงินจากตัวแทนจำหน่ายได้เลย “ผมไม่อยากประสบกับปัญหาทางด้านความปลอดภัย และทราบดีว่าถ้าผมใช้ซอฟต์แวร์แท้ ผมจะได้รับการสนับสนุนที่ครบถ้วน ไม่ใช่ในแง่ของความปลอดภัยและชุดอัพเดทเพียงอย่างเดียวเท่านั้นนะครับ แต่ยังได้รับการอัพเดทล่าสุดสำหรับโปรแกรมและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่จำเป็นสำหรับผมด้วย” ภัทรนันท์ ลิ้มอุดมพร นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เข้าคิวเพื่อซื้อวินโดวส์ 7 แผ่นแรกในเมืองไทย ที่สยามพารากอน กล่าว “ผมคิดว่าคนทั่วไปในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น เพื่อนผมหลายคนก็เคยประสบปัญหาการใช้งานคอมพิวเตอร์ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น การติดตั้งซอฟต์แวร์มักไม่สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ หรือ อาจเจอปัญหาหน้าจอสีดำ ทั้งยังไม่สามารถอัพเดทชุดความปลอดภัยได้ สำหรับตัวผมเอง ที่มีเครื่องพีซีสำหรับใช้งานเพียงแค่เครื่องเดียว ผมจึงไม่เสี่ยงที่จะใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ครับ” การละเมิดลิขสิทธิ์นับเป็นการกระทำทางอาชญากรรมที่ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์นับร้อยแผ่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น “ซอฟต์แวร์เถื่อนก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายบ็อทเน็ท ซึ่งเป็นกองทัพของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และได้กระทำกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตที่ผิดกฎหมาย” มาร์คัส ชไวเซอร์ จาก Media Surveillance กล่าว ตัวอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ก่อให้เกิดกองทัพบ็อทเน็ท โดยนำเสนอวินโดวส์ปลอมที่บรรจุโค้ดมัลแวร์เอาไว้ และสามารถสั่งให้เครื่องพีซีเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ซึ่งควบคุมโดยอาชญากรคอมพิวเตอร์ได้ เพื่อแก้ไขปัญหาการปลอมแปลงซอฟต์แวร์ ไมโครซอฟท์ได้เสริมสร้างการดำเนินงานด้านการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ใน 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านวิศวกรรมของผลิตภัณฑ์ และการปราบปราม กิจกรรมต่างๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ทั่วโลกตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ที่จะปกป้องผู้บริโภค โดยคำแนะนำจากลูกค้าและคู่ค้ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยส่งเสริมการจัดการกับปัญหานี้ ไมโครซอฟท์ยังต้องการส่งเสริมให้ผู้ใช้งานที่สงสัยว่าตนเองซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ไปสามารถแจ้งเรื่องดังกล่าวมายัง Microsoft Customer Contact Center ที่ 02 263 6888 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์ ไลเซนส์ และ ฉลาก สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.microsoft.com/thailand/genuine/howtotell.aspx ในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบการตรวจสอบซอฟต์แวร์แท้ และกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องด้วยวินโดวส์ 7 เทคโนโลยี Windows activation ในวินโดวส์ 7 ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากแพล็ตฟอร์มในวินโดวส์ วิสต้า ซึ่งช่วยให้วินโดวส์สามารถปกป้องตนเองได้ โดยการตรวจสอบในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์พยายามที่จะหลีกเลี่ยงระบบการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และช่วยผู้ใช้งานให้สามารถเริ่มใช้งานผลิตภัณฑ์และจัดการปัญหาต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น วินโดวส์ 7 ได้นำเอาเทคโนโลยีรุ่นล่าสุด ซึ่งรวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นข้อความการแจ้งเตือนต่างๆ และสามารถทำขั้นตอนต่างๆ ให้เสร็จสมบูรณ์ได้อย่างง่ายดาย สำหรับการปราบปราม ไมโครซอฟท์ได้ลงทุนสร้างแล็บส์ 9 แล็บส์สำหรับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ (PID) ที่มีอยู่ทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายที่ทำงานในแล็บส์ต่างๆ เหล่านี้ จะใช้เครื่องมือที่ทันสมัย อาทิ ระบบลายนิ้วมือดิจิตอลดิสก์ ระบบการติดตามกระบวนการผลิตด้วยแสง เพื่อที่จะตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ และให้ข้อมูลที่สำคัญแก่หน่วยงานด้านการปราบปรามท้องถิ่น เพื่อใช้สำหรับการติดตามองค์การปลอมแปลงซอฟต์แวร์ต่างๆ ต่อไป ผลลัพธ์จากการตรวจสอบดังกล่าวมีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง โดยการทำงานของไมโครซอฟท์ในแล็บส์การวิเคราะห์ PID ก่อให้เกิดการจับกุมซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บริเวณศุลกากรชายแดนได้กว่า 1,000 ครั้ง ในเพียงช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คูนิโอ มิคูริยา เลขาธิการหน่วยงานกลางศุลกากรโลก กล่าวว่า “ปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์นับเป็นปัญหาระดับโลกที่ก่อให้เกิดการขานรับจากนานาชาติ และก่อให้เกิดการสร้างสรรค์กลยุทธ์ซึ่งมุ่งหมายที่จะจัดการกับกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มุ่งเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่รู้ตัว ด้วยการระมัดระวังและการตอบสนองอย่างกระตือรือร้นขององค์กรต่างๆ และบริษัทอย่างไมโครซอฟท์ ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจจะสามารถก้าวข้ามปัญหาเหล่านี้ไปได้อย่างแน่นอน ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการค้าของเถื่อนเหล่านี้ มันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องใช้ความพยายาม ความกล้าหาญ และความเชี่ยวชาญในการต่อสู้กับอาชญากรรมประเภทนี้ให้ได้” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: คุณศุภาดา ชัยวงษ์ ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 209 โทรสาร: 0-2627-3510 Email: sjaidee@th.hillandknowlton.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ