กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--สกว.
ปัจจุบันประเทศไทยพบค้างคาวจำนวนไม่น้อยกว่า 120 ชนิด ค้างคาวมีระบบตอบสนองต่อการติดเชื้อไวรัสที่ดี คือมักจะไม่แสดงอาการเมื่อมีการติดเชื้อไวรัส และยังสามารถดำรงชีวิตอยู่กับไวรัสได้ โดยไม่ทำให้ค้างคาวเจ็บป่วย กลุ่มไวรัสที่พบการติดเชื้อในค้างคาวมีหลายชนิด เช่น ไวรัสในกลุ่ม arbovirus ไวรัสที่นำโดยแมลง ,rhabdoviruses ไวรัสในกลุ่มโรคพิษสุนัขบ้า arenaviruses ไวรัสในกลุ่มโรคไข้ Lassa , reovyrus ไวรัสกลุ่มที่ทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินอาหาร และ paramyxovyres ไวรัสกลุ่มที่ทำให้เกิดโรคหลายชนิดทั้งในคนและสัตว์ โดยเฉพาะไวรัสในกลุ่ม Henipavirus ถือได้ว่าเป็นกลุ่มไวรัสที่มีผลกระทบต่อปัญหาสาธารณสุขในคนและสัตว์อย่างชัดเจน มีค้างคาวเป็นพาหะนำโรค และล่าสุดมีรายงานพบเชื้อไวรัส corona ที่เป็นไวรัสในกลุ่มเดียวกับที่ทำให้เกิดโรค SARS
จากความหลากหลายของค้างคาวในประเทศไทยและจำนวนของข่าวที่พบไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัวทั่วประเทศ การบริหารจัดการแหล่งอาศัยของค้างคาว การศึกษานิเวศวิทยาของค้างคาว การรู้เท่าทันไวรัสที่พบในค้างคาวในไทย และการป้องกันการแพร่กระจายไวรัสสู่สัตว์อื่นหรือคน จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงกำหนดจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “ค้างคาวไทยน่ากลัวจริงหรือ ?” ขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฏาคม 2549 เวลา 9.00 — 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 โรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์ ถ.พระราม 4
กำหนดการ
09.00 น. พิธีเปิด โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
หัวหน้าโครงการวิจัยการศึกษาโรคสมองอักเสบอุบัติใหม่ที่เกิดจากไวรัสนิปาห์ในค้างคาวไทย สกว.
กล่าวเปิดการสัมมนา โดย ศ.ดร.วิชัย บุญแสง ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สกว.
09.20 น. บรรยายเรื่อง “ความหลากหลายของค้างคาวในประเทศไทย”
โดย นางกัลยาณี บุญเกิด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
10.00 น. รับประทานอาหารว่าง
10.15 น. บรรยายเรื่อง “สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสในค้างคาวไทย”
โดย ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาฯ
น.สพ.บุญเลิศ ล้ำเลิศเดชา สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
10.45 น. เสวนาเรื่อง “ค้างคาวไทยน่ากลัวจริงหรือ?”
โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายไสว วังหงษา กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
( ดำเนินรายการโดย สพ.ญ.ดร.สุดารัตน์ ดำรงวัฒนโภคิน สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์)
12.00 น. ปิดการสัมมนา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
โทร. 0-2619-9701 email : pr@pr-trf.net