การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย

ข่าวทั่วไป Tuesday December 22, 2009 16:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--กรมศุลกากร วันนี้ (22 ธันวาคม 2552) คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงการคลังใน ”การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย” ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างภาษีดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีนำเข้าระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตบางรายการที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ หรือมีการผลิตได้แต่มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ และยังคงมีอัตราอากรขาเข้าในอัตราที่สูงกว่าอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิต 3 อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด (ร้อยละ 1 สำหรับวัตถุดิบ ร้อยละ 5 สำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และร้อยละ 10 สำหรับสินค้าสำเร็จรูป) ทำให้เกิดปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีนำเข้า และเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย กระทรวงการคลังได้พิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าว และ เห็นควรปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย โดย 1. ปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรวัตถุดิบ / ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยจำนวน 9 ประเภทย่อย รายการ อัตราปัจจุบัน อัตราใหม่ เมล็ดโกโก้ ร้อยละ 30 ร้อยละ 5 สิ่งสกัดจากมอลต์ ร้อยละ 35 ยกเว้นอากร สินแร่ หัวแร่ทองแดง ร้อยละ 10 ยกเว้นอากร ก้านไม้ขีด ร้อยละ 40 ยกเว้นอากร เฉพาะถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ จัดทำด้วยเหล็กกล้า ร้อยละ 17 ยกเว้นอากร (1 มกราคม 2552 — 31 ธันวาคม 2553) 2. ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติประเภทถังเหล็ก จำนวน 4 ประเภทย่อย 3. ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำรายการสินค้าที่มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราขาเข้าไปแล้ว จำนวน 3 ประเภทย่อย การปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรวัตถุดิบ / ปัจจัยการผลิตตามข้อเสนอดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในประเทศ เนื่องจากวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตดังกล่าว ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตในประเทศหรือมีการผลิตได้ในประเทศ แต่มีความจำเป็นต้องนำเข้าเนื่องจากมีปริมาณการผลิตที่ไม่เพียงพอ การดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปประมาณ ปีละ 35 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภาพรวมที่ประเทศได้รับ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ให้สามารถแข่งขันได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตในส่วนของภาระภาษีนำเข้าลดลง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ