การเข้าถึงการรักษา: สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่แรงงานข้ามชาติหญิงในประเทศไทยยังไม่ได้รับ

ข่าวทั่วไป Monday November 6, 2006 15:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 พ.ย.--องค์การหมอไร้พรมแดน
ในโอกาสที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มประเทศอาเซียน กำลังร่วมหารือร่วมกับกองทุนพัฒนาเพื่อผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) เพื่อใช้อนุสัญญาการว่าด้วยการจัดการต่อการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) ในการแก้ปัญหาที่เกิดกับแรงงานข้ามชาติหญิง ระหว่างวันจันทร์ที่ 6 และอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2549 ณ อาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน ถือเป็นจังหวะที่ดีในการหยิบยกประเด็นการเข้าไม่ถึงการรักษาในประเทศไทยที่แรงงานต่างชาติหญิงกำลังเผชิญอยู่
ที่จังหวัดพังงา ทางใต้ของไทย ทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ขององค์การหมอไร้พรมแดน (MSF) กำลังหาทางให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานต่างชาติหญิงซึ่งไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ แรงงานต่างชาติหญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือ กองทุนสนับสนุนเพื่อที่จะเข้าถึงการรักษาของไทย ทั้งนี้จากการเข้าไม่ถึงการรักษา และขาดข้อมูลการดูแลสุขภาพของครอบครัวและชุมชน ทำให้แรงงานข้ามชาติหญิงเหล่านี้ไม่มีการวางแผนครอบครัว ไม่มีการฝากครรภ์ บ่อยครั้งคลอดลูกเองที่บ้านโดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล และเด็กจำนวนมากไม่ได้รับวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กแรกเกิดเพื่อป้องกันโรคต่างๆ อย่างที่ควรจะได้รับ ซึ่งจากการสำรวจในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีขององค์การหมอไร้พรมแดน พบว่า เด็กมากกว่า 80% ไม่ได้รับวัคซีนครบตามโปรแกรม และบางคนไม่เคยได้รับวัคซีนเลย
ทีมคลินิกเคลื่อนที่ขององค์การหมอไร้พรมแดนได้จัดการอบรมให้แก่แรงงานต่างชาติ เพื่อให้ข้อมูลและความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การสาธารณสุขมูลฐาน และการวางแผนครอบครัวในชุมชนแรงงานข้ามชาติต่างๆ ซึ่งนอกจากการบริการให้ข้อมูลตามชุมชนต่างๆ แล้ว ทีมพังงาขององค์การหมอไร้พรมแดนยังมีบริการให้ข้อมูล-ความรู้ดังกล่าว ที่คลินิก 2 แห่ง และ โรงพยาบาลอีก 2 แห่ง ในจ.พังงา ปีที่ผ่าน แรงงานข้ามชาติหญิง 771 คน จากไซท์งานก่อสร้าง สวนยางฯ และอุตสาหกรรมประมง ได้เข้าร่วมอบรมการให้ข้อมูล-ความรู้แก่ชุมชนฯ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แรงงานต่างชาติหญิงเข้าถึงการรักษาฯ จำเป็นอย่างยิ่งที่ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติไม่ได้ให้สิทธิในการรักษาฯอย่างที่คนไทยได้รับ แม้ว่าจะให้การรักษาในหลายโรคก็ตาม
ปัจจุบันรัฐบาลไทยมีช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้แรงงานต่างชาติสามารถขึ้นทะเบียนฯได้ในแต่ละปี เมื่อขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องก็จะได้สิทธิในบัตรประกันสุขภาพ แต่สิทธิที่แรงงานต่างชาติชายได้รับไม่ครบอคลุมถึงภรรยาของพวกเขา แม้แรงงานต่างชาติหญิงบางคนอาจจะมีคุณสมบัติสามารถขึ้นทะเบียนฯ และมีบัตรประกันสุขภาพได้ แต่ก็ดูเหมือนว่าระบบและขั้นตอนในการมีบัตรฯ และการได้รับสิทธินั้นจะซับซ้อนและห่างไกลเกินกว่าแรงงานต่างชาติหญิงเหล่านี้จะเข้าถึงได้
ในความเป็นจริง ไม่ใช่แต่เพียงแรงงานต่างชาติหญิงเท่านั้นที่เผชิญกับความยากลำบากเหล่านี้ แต่ยังรวมไปถึงแรงงานต่างชาติชายด้วยเช่นกัน ที่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพ และการเข้าไม่ถึงการรักษาในระบบสาธารณสุขของไทย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานขององค์การหมอไร้พรมแดน ในจ.พังงา
กรุณาติดต่อ
เพตรานา ฟอร์ด เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลและการสื่อสารภูมิภาคเอเชีย 081-582 3640 หรือ asiainfo@msf.org
คุณสุขศรี เสน่หา ผู้ประสานงานโครงการพังงา 089-881 2552

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ