กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศฯ รุกจัดสัมมนาทั่วประเทศ กระตุ้นผู้ประกอบการ SMEs

ข่าวทั่วไป Thursday December 24, 2009 11:03 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศฯ รุกจัดสัมมนาทั่วประเทศ กระตุ้นผู้ประกอบการ SMEs รายสาขาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม กาแฟ และมะพร้าว อาหาร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยว การบริการด้านสุขภาพ ใช้ประโยชน์เปิดเสรีสินค้า บริการ และลงทุนในอาเซียน ดีเดย์ 1 มกราคม 2553 ลดภาษีสินค้าเป็นศูนย์ 0 กว่า 8,000 รายการ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดสัมมนาปูพรมทั่วภูมิภาค เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเร่งรัดให้ใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าภายใต้อาเซียน เพื่อการปรับตัวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีตลาดและฐานการผลิตการตลาดเดียวกัน ปราศจากปัญหาอุปสรรคในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในอาเซียนในปี 2558 บริการ และการลงทุน ที่มีผลลดภาษีร้อย 0 ในทุกสินค้าในปี 2558 โดยในวันที่ 1 มกราคม 2553 อัตราภาษีเป็นศูนย์ กว่ามีการนำร่องลดภาษีสินค้ากว่า 8,000 รายการ เป็น 0 หวังให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์ เพิ่มโอกาสทางการค้า การลงทุน ในเจาะตลาดอาเซียน และอาเซียนกับตลาดโลก นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รวมทั้งและไทย ซึ่งจะต้องลดภาษีมีอัตรายกเลิกภาษีสินค้า 8,000 กว่ารายการ เป็นร้อยละศูนย์ในทุกรายการรวมแล้วประมาณ 8 พันกว่ารายการ ยกเว้นรายการที่ผูกพัน หรือเก็บไว้ในบัญชีอ่อนไหว ซึ่งได้แก่ กาแฟ มันฝรั่ง มะพร้าวแห้ง และไม้ตัดดอก อาเซียนเดิมยังต้องยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีด้วย 0 เพื่อรองรับ และในอีก 56 ปี ข้างหน้า หรือภายในปี 2558 ส่วนสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามจะลดภาษีทุกรายการเป็น ร้อยละ 0 ในปี 2558 และสามารถยืดหยุ่นในบางรายการได้ในปี 2561 ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA ได้เปลี่ยนเป็นความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน หรือ ATIGA (ASEAN TRADE IN GOODS AGREEMENT) ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน จะมีเนื้อหาที่ครอบคลุมกฎเกณฑ์ทางการค้าประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากการลดภาษี อาทิ มาตรการสุขอนามัยพืชและสุขอนามัยสัตว์ มาตรการด้านมาตรฐาน ความร่วมมือด้านศุลกากร มาตรการที่มิใช่ภาษีอื่นๆ และกระบวนการระงับข้อพิพาท เป็นต้น จากการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติตามความตกลง ATIGA จะส่งผลให้การค้าภายในอาเซียนมีความโปร่งใส และสามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าทั้งในอาเซียนและผู้ที่สนใจจะทำการค้าและลงทุนในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต นอกจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงข้อมูลการเปิดเสรีทางการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุนในอาเซียน และใช้ประโยชน์จากความตกลงให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ภายใต้อาเซียนจะลดภาษีระหว่างกันแล้ว ยังมุ่งเป็นฐานการผลิตร่วมกันทั้งด้านสินค้า บริการและการลงทุน เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงข้อมูลการเปิดเสรีทางการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุนในอาเซียน และใช้ประโยชน์จากความตกลงให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จึงมีโครงการ จัดมีโครงการจัดสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อการพัฒนา อาเซียน เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เรื่อง “การพัฒนาการเปิดเสรีสาขาสินค้า สาขาบริการ ในอาเซียนสู่การเป็น AEC” ที่มีประจำปีงบประมาณ 2552 โดยมีแผนจัดสัมมนาอีกทั้งสิ้น 12 ครั้ง ทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด โดยจะจัดสัมมนา เน้นกลุ่มสินค้า บริการ และการลงทุน ที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม กาแฟ และมะพร้าว ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน นอกจากนี้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศยังร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาให้สมาชิกหอการค้าทั่วประเทศ ให้รู้จักใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีในอาเซียนได้มากที่สุด รู้จักปรับตัว และรับการเยียวยาหากได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี เพื่อนำไปสู่การรวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการ และทำให้นักธุรกิจไทย เป็นนักธุรกิจอาเซียนในลักษณะ “เคลื่อนพล SMEs ไทยสู่ AEC” ที่มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในอนาคต เช่น วันพุธที่ 13 มกราคม 2553 โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค สุขุมวิท วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2553 โรงแรมเทพนคร จังหวัดบุรีรัมย์ วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 โรงแรมเมโทรโปล จังหวัดภูเก็ต วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2553 โรงแรมอรัญเมอร์เมด จังหวัดสระแก้ว เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยว การบริการด้านสุขภาพและด้านเทคโนโลยี เพื่อกระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้รับทราบ และรู้จักใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีในอาเซียนได้มากที่สุด พร้อมทั้งรู้จักปรับตัว และรับการเยียวยาหากได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี รวมถึงก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ เพื่อ “เคลื่อนพล SMEs ไทยสู่ AEC” ให้มีความเข้มแข็ง และประกอบธุรกิจได้อย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อสร้างนักธุรกิจไทยให้เป็นนักธุรกิจอาเซียนในอนาคต อธิบดี กล่าวต่อว่า “สำหรับแผนการสัมมนาทั้ง 12 ครั้ง มีเป้าหมายที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจ และกระตุ้นผู้ประกอบกรใช้ประโยชน์จากความตกลงในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการ เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง สมาคมฯ และภาครัฐ ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมจำนวน 2,200 ราย โดยมีรายละเอียดการจัดสัมมนา ดังนี้ สัมมนาครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2552 จำนวน 500 คน หัวข้อสัมมนา “การใช้ประโยชน์จาก AFTA สู่ ATIGA” วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2552 จำนวน 500 คน นอกจากนี้สัมมนาครั้งที่ 2-8 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเรื่อง “โอกาสทางการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนของผู้ประกอบการ (SMEs) กับการเป็น AEC : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวม 6 ครั้ง ประกอบด้วย เริ่มวันพุธที่ 13 มกราคม 2553 โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค สุขุมวิท จำนวน 200 คน และต่างจังหวัด ประกอบด้วย วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2553 โรงแรมเทพนคร จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 200 คน วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2553 โรงแรมอิมพีเรียล ธารา จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 200 คน วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 โรงแรมเมโทรโปลรอยัล ภูเก็ตซิตี้ จังหวัดภูเก็ต จำนวน 200 คน วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2553 โรงแรมอรัญเมอร์เมด จังหวัดสระแก้ว ฯลฯ และเดือนเมษายน 2553 โรงแรมไดมอนด์ สุราษฏร์ธานี จำนวน 200 คน นอกจากนี้ และ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดสัมมนากลุ่มย่อยรายสาขาที่เกี่ยวข้อง ต่างๆ ในกรุงเทพฯ จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 100 คน อีกด้วย” อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวเสริมว่า “สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สามารถติดต่อได้ที่ Call Center 02-507-7555 และทางเว็บไซต์ www.dtn.go.th และ www.thaifta.com”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ