กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ตลอดปี พ.ศ. 2552 อินเทลยังคงให้ความสำคัญในกฎของมัวร์อย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 และ 22 นาโนเมตรที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในอีกขั้นของอินเทล นอกจากนี้ การมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องของอินเทลยังช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมการประมวลผลและการสื่อสารเติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์โมบายล์และผลิตภัณฑ์ไร้สาย ซึ่งอินเทลได้ผลักดันอย่างมากเพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์ทุกรูปแบบได้รับประสบการณ์จากการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการประมวลผลสำหรับอุปกรณ์มือถือ โน้ตบุ๊กรุ่นบางเบา จนถึงอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงในรถยนต์ โทรศัพท์ เทคโนโลยีสำหรับสิ่งแวดล้อม รวมถึงแอพพลิเคชั่นเพื่อความก้าวหน้าต่างๆ ของวงการ เรียกได้ว่า ในปีนี้ อินเทลมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง และยังประสบความสำเร็จด้านการค้นคว้าวิจัยและด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมออกมาให้เห็นอย่างมากมายและต่อเนื่อง
กลุ่มโมบิลิตี้
อินเทล? คอร์? ไอเซเว่น โมบายล์ โปรเซสเซอร์
การเปิดตัวอินเทล? คอร์? ไอเซเว่น โมบายล์ โปรเซสเซอร์ (Intel Core i7 Mobile Processor) และ อินเทล? คอร์? ไอเซเว่น โมบายล์ โปรเซสเซอร์ เอ็กซ์ตรีม เอดิชั่น (Intel Core i7 Mobile Processor Extreme Edition) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าคือโปรเซสเซอร์ที่ดีที่สุดในโลกนั้น เป็นการนำประสิทธิภาพการประมวลผลสูงสุดมาใส่ให้กับอุปกรณ์โมบายล์ต่างๆ ทำให้ผู้ใช้งานโน้ตบุ๊กได้รับสุดยอดประสบการณ์จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นเกมส์ ใช้สื่อดิจิตัล ฟังเพลง รวมถึงการใช้งานแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ หรือซอฟต์แวร์แบบมัลติเธรด ที่ต้องการประสิทธิภาพการประมวลผลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
โน้ตบุ๊ก Ultra-thin ที่บางเบาเป็นพิเศษ
อินเทลได้มีการเปิดตัวโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่พร้อมกัน 4 รุ่น ซึ่งรวมถึงรุ่นที่กินไฟต่ำเป็นพิเศษ และชิปเซ็ตราคาประหยัดสำหรับผู้ใช้โน้ตบุ๊กที่บางเบาเป็นพิเศษสำหรับตลาดผู้ใช้ทั่วไป โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ คือ อินเทล? อัลตรา-โลว์ โวลเทจ (Intel? ultra-low voltage หรือ ULV) ช่วยให้ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กสามารถดีไซน์เครื่องให้มีขนาดบางกว่าปรกติได้มากขึ้น เช่น ขนาดบางกว่า 1 นิ้ว และเบาเป็นพิเศษเพียง 1-2.5 กิโลกรัม ในราคาระดับปานกลาง โปรเซสเซอร์กลุ่มนี้ยังมีคุณสมบัติเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ กินไฟต่ำเป็นพิเศษ ทำให้สามารถใช้แบตเตอรี่ได้นานขึ้น และใช้งานโน้ตบุ๊กได้อย่างเต็มที่
อุปกรณ์โมบายล์อินเทอร์เน็ต (Mobile Internet Devices หรือ MIDs)
อินเทลได้ร่วมกับบริษัทโนเวลล์ ประกาศถึงความพยายามร่วมกันเพื่อผลักดันให้บริษัทผู้ออกแบบและบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ นำแพลตฟอร์ม “โมบลิน” (Moblin) ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ลีนุกซ์ มาใช้กับอุปกรณ์โมบายล์ต่างๆ รวมถึงเน็ตบุ๊กที่ใช้ อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน อินเทลและแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ ยังได้ร่วมกันประกาศถึงความร่วมมือในการพัฒนาอุปกรณ์ MID ที่จะใช้แพลตฟอร์ม “มัวร์สทาวน์” (Moorestown) รุ่นถัดไปของอินเทล และแพลตฟอร์มโมบลิน เวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ของลีนุกซ์อีกด้วย คาดว่าอุปกรณ์ชิ้นใหม่จากแอลจีนี้จะเป็นดีไซน์ของมัวร์สทาวน์รุ่นแรกที่วางจำหน่ายในตลาด ส่วนแพลตฟอร์มของอะตอมในรุ่นถัดไปในชื่อรหัส “ไพน์เทรล” (Pinetrail) ซึ่งใช้กับเน็ตบุ๊กและเดสก์ท้อปสำหรับผู้ใช้ในระดับเริ่มต้น จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น และมีต้นทุนของแพลตฟอร์มโดยรวมลดลง
การเปิดตัว NAND รุ่นใหม่
อินเทลมุ่งพัฒนา SSD ที่ใช้ NAND แฟลชเมมโมรี่ อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเป็นการผลิตด้วยเทคโนโลยี 34 นาโนเมตร ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากฮาร์ดไดรฟ์ โดยจะมีจุดเด่นคือ ประสิทธิภาพที่เยี่ยมยอดและเสถียรภาพของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาเข้าสู่เทคโนโลยีการผลิตแบบ 34 นาโนเมตร จะช่วยลดต้นทุนของ SSD ลงได้ถึงร้อยละ 60 สำหรับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์เดสก์ท้อปและโน้ตบุ๊ก และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ซื้อ SSD เพื่อลดขนาดของดาย (Die) และเพื่อการออกแบบทางวิศวกรรมที่ทันสมัย
เซิร์ฟเวอร์
นวัตกรรมโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์
อินเทลได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่สำหรับองค์กรถึง 17 รุ่นด้วยกัน ซึ่งรวมถึงอินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 ซึ่งเป็นรุ่นที่โดดเด่นที่สุดของอินเทล นับตั้งแต่อินเทลเริ่มเจาะตลาดองค์กรด้วยการเปิดตัว อินเทล? เพนเทียม? โปร โปรเซสเซอร์เมื่อ 15 ปีที่แล้ว โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้สามารถปรับระดับการใช้พลังงานได้โดยอัตโนมัติตามระดับการใช้งานจริง ความเร็วของการรับและส่งข้อมูลจากดาต้าเซ็นเตอร์ และศูนย์รวมฐานข้อมูลลูกค้า นอกจากนี้ ยังจะมีบทบาทสำคัญในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย
ขุมพลังสำหรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์
จากผลการสำรวจ TOP 500 พบว่า ร้อยละ 80 ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้เร็วที่สุดในโลกเป็นเครื่องที่ใช้โปรเซสเซอร์อินเทล สำหรับกลุ่มที่ใช้เครื่องที่ต้องการระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูงมาก (High Performance Computing หรือ HPC) คือกลุ่มที่มองหาอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5500 เพื่อการประมวลผลโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มประสิทธิภาพสูงที่จำเป็นอย่างมากต่อการทำวิจัยต่างๆ นับตั้งแต่ด้านการพัฒนาเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยในการสำรวจอวกาศ ไปจนถึงการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์สภาพภูมิอากาศในลักษณะต่างๆ กัน
คอมพิวเตอร์เดสก์ท้อป
การเปิดตัว อินเทล? คอร์? ไอเซเว่น โปรเซสเซอร์ และอินเทล? คอร์? ไอไฟว์ โปรเซสเซอร์
อินเทลนำสถาปัตยกรรมเนฮาเล็มรุ่นล่าสุดลงสู่ตลาดคอมพิวเตอร์เดสก์ท้อประดับเมนสตรีมและตลาดเซิร์ฟเวอร์ระดับพื้นฐาน ด้วยการเปิดตัวอินเทล? คอร์? ไอไฟว์ โปรเซสเซอร์รุ่นแรก อินเทล? คอร์? ไอเซเว่น โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่สองรุ่น และอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 3400 ในคราวเดียวกัน
โดยโปรเซสเซอร์ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นรุ่นที่ปราศจากการใช้สารตะกั่วและฮาโลเจนในการผลิต และเป็นรุ่นที่มีคุณสมบัติเด่น คือ อินเทล? เทอร์โบ บูสต์
ไวแมกซ์
สมาพันธ์ด้านการจดสิทธิบัตร (Open Patent Alliance หรือ OPA)
เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก จึงเกิดการรวมตัวของสมาชิกในกลุ่มสมาพันธ์ด้านการจดสิทธิบัตร เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนำไวแมกซ์มาใช้ให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ เอเซอร์และบริษัทอื่นๆ ซึ่งได้แก่ อัลคาเทล-ลูเซนท์ อัลวาเรียน ซิสโก้ เคลียร์ไวร์ หัวเหว่ย เทคโนโลยีส์ และซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ได้ร่วมมือกันผลักดันความพร้อมของวงการอุตสาหกรรมโดยมุ่งเน้นการนำเสนออุปกรณ์และค่าบริการที่หลากหลายและเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ทั่วโลกสำหรับใช้ร่วมกับเทคโนโลยีไวแมกซ์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับอุตสาหกรรมในวงกว้าง
ความก้าวหน้าด้านการผลิต
การสานต่อโมเดล Tick-Tock
โมเดล Tick-Tock ของอินเทลยังคงดำเนินสืบต่อไป จากการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 32 นาโนเมตร รุ่นแรกของโลกโดยใช้ชื่อรหัสว่า “เวสท์เมียร์” (Westmere) ในไตรมาสสี่ของปี พ.ศ. 2552 ซึ่งตรงตามแผนการพัฒนาเทคโนโลยีที่วางไว้ นอกจากนี้ อินเทลยังได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบบ 22 นาโนเมตรที่มีชื่อรหัสว่า “แซนดี้บริดจ์” (Sandy Bridge) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะปูทางไปสู่การผลิตโปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพการทำงานและมีคุณสมบัติโดดเด่นมากขึ้นไปอีก
โรงงานผลิตที่ทันสมัย
พอล โอเทลลินี ประธานและซีอีโอของอินเทล ได้ประกาศว่าอินเทลจะทุ่มงบลงทุนกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างโรงงานผลิตที่ทันสมัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในอีก 2 ปีข้างหน้า การลงทุนครั้งนี้เป็นการสนับสนุนแผนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร ที่ทันสมัยของอินเทล รวมถึงโรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันที่มลรัฐออริกอน แอริโซนา และนิวเม็กซิโก
กลุ่ม embedded และคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์
การควบรวมกิจการของบริษัท วิน ริเวอร์
หนึ่งในกลยุทธ์ทางธุรกิจของอินเทลคือ ขยายการใช้งานโปรเซสเซอร์และซอฟต์แวร์ของอินเทลให้ครอบคลุมตลาดส่วนอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากตลาดคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ นั่นคือ ขยายเข้าสู่ตลาดอุปกรณ์แบบ embedded และอุปกรณ์พกพาต่างๆ ดังนั้นในปีนี้ อินเทลจึงได้เข้าซื้อกิจการของบริษัทวินด์ ริเวอร์ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการผลิตซอฟต์แวร์และอุปกรณ์แบบ embedded
อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ สำหรับอุปกรณ์แบบ embedded
อินเทลเปิดตัวโปรเซสเซอร์เวอร์ชั่นใหม่พร้อมกันทั้ง 4 เวอร์ชั่น รวมทั้งการเปิดตัว ซิสเต็ม คอนโทรลเลอร์ ฮับ 2 รุ่น เพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มธุรกิจ embedded ของอินเทล ซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่นี้คือ อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ Z5XX ที่มีตัวเลือก industrial-temperature และยังเพิ่มตัวเลือกในด้านขนาดของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์อินโฟเทนเมนท์ในรถยนต์ โทรศัพท์มีเดียโฟน เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมอีกด้วย
อินเทล กับ ผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์และโทรทัศน์
อินเทลได้เปิดตัว อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ CE 4100 ซึ่งเป็นระบบ ซิสเต็ม ออน ชิป (System-on-Chip หรือ SoC) ใหม่ล่าสุดในตระกูลของมีเดียโปรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับคอนเทนท์ที่ดึงจากอินเทอร์เน็ตมาใช้โทรทัศน์ เครื่องเล่นดีวีดี รวมทั้งเซ็ทท็อปบ็อกซ์ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้เป็นรุ่นที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์รุ่นแรก โดยใช้การเทคโนโลยีการผลิตแบบ 45 นาโนเมตร และมีคุณสมบัติพิเศษด้านต่างๆ เพื่อรองรับการทำงานอินเทอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นการกระจายเสียงไว้ในชิปเพียงตัวเดียว โปรเซสเซอร์รุ่นนี้ยังมีประสิทธิภาพในการประมวลผล และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ทำให้ภาพและเสียงคมชัด และรองรับแอพพลิเคชั่นด้านมีเดียต่างๆ เช่น ภาพ 3 มิติ ได้อีกด้วย
กิจกรรมเพื่อสังคม และกิจกรรมการตลาด
ความคืบหน้าของโครงการ อินเทล? ทีช
จนถึงปัจจุบัน มีครูเป็นจำนวนกว่า 6 ล้านคนทั่วโลกแล้วที่เข้าร่วมและได้รับการอบรมจากโครงการ อินเทล ทีช ขณะเดียวกัน มูลนิธิอินเทล ยังได้จัดสรรเงินมูลค่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับเป็นการจัดสรรงบประมาณครั้งใหญ่ที่สุดของอินเทล เพื่อทุ่มเทให้กับการพัฒนาการเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
การประหยัดพลังงาน
อินเทลได้ดำเนินการลงทุนด้วยจำนวนเงินมูลค่ากว่า 23 ล้านเหรียญสหรัฐ ในโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมาตั้งแต่ปี 2001 ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐ และลดการใช้พลังงานลงได้มากกว่า 500 ล้านกิโลวัตต์
ความมุ่งมั่นในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อินเทล แคปิตอล ซึ่งเป็นองค์กรที่อินเทลจัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนในโครงการต่างๆ ทั่วโลก ยังคงมุ่งมั่นให้การสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดลัอม โดยในปีนี้ อินเทลประกาศการลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจำนวน 5 โครงการ ซึ่งรวมเป็นเงินลงทุนมูลค่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เช่น การลงทุนเป็นครั้งแรกในโครงการ CPower การลงทุนในระยะที่ต่อเนื่องของบริษัท Powervation, Convey Computer, Grid Net และ iControl
ผู้สร้างสรรค์อนาคต
ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อินเทลได้เปิดตัวแคมเปญการตลาดออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปี ภายใต้ชื่อแคมเปญ “ผู้สร้างสรรค์อนาคต” (Sponsors of Tomorrow) เพื่อสื่อให้ผู้บริโภคตระหนักว่า ความทันสมัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคดิจิตัลนี้ เป็นผลมาจากนวัตกรรมซิลิกอน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของโปรเซสเซอร์ และนวัตกรรมซิลิกอนส่วนใหญ่ก็มาจากอินเทลนั่นเอง
ภายในแคมเปญการตลาดระดับโลกนี้ อินเทล ประเทศไทย ได้จัดแคมเปญการตลาดสำหรับคนไทยขึ้น โดยใช้ชื่อแคมเปญว่า ‘Innovator of Thailand’ พร้อมเชิญชวนให้ผู้สนใจทั่วไปได้เข้าร่วมประกวดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการสเก็ตช์ภาพนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเองคิดว่าจะช่วยทำให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมทั้งเขียนคำอธิบายประกอบภาพสเก็ตช์โดยสรุป บนเว็บไซต์ www.intel.com.th/innovation ของอินเทล โดยมีการส่งภาพนวัตกรรมเข้าร่วมประกวดจำนวนมาก
ติดต่อ:
คุณดรรชนีพร พฤกษ์วัฒนานนท์ คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: dudchaneeporn.pruckwattananon@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk