เอชเอสบีซีเผยผู้จัดการกองทุนวิตกลงทุนในหุ้น หันสนใจตลาดพันธบัตรแทน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 29, 2009 11:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ธ.ค.--ธนาคารเอชเอสบีซี **ไม่ให้น้ำหนักการถือครองเงินสด** ธนาคารเอชเอสบีซี เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนรายไตรมาส พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้จัดการกองทุน หรือร้อยละ 56 มองว่าการลงทุนในตลาดพันธบัตรในไตรมาส 4/09 ยังสดใส โดยผู้ที่เห็นว่าตลาดพันธบัตรน่าลงทุนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30 ของไตรมาส 3/09 ผู้จัดการกองทุน 7 ใน 10 รายที่ตอบแบบสำรวจ หรือร้อยละ 71 มองว่าตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกและตลาดพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงยังน่าลงทุนในไตรมาส 4/09 โดยมุมมองดังกล่าวมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 43 ในไตรมาสก่อน ผลสำรวจยังพบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้จัดการกองทุน หรือร้อยละ 57 เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดพันธบัตรยุโรปในไตรมาส 4/09 เทียบกับเพียงแค่ร้อยละ 38 ของไตรมาสก่อน ผู้จัดการกองทุนยังลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น โดยมีเพียง 1 ใน 3 ของผู้จัดการกองทุน หรือร้อยละ 33 เท่านั้น ที่เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นในไตรมาส 4/09 ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 50 ของไตรมาส 3/09 มร. บรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร แผนกบริหารความมั่งคั่ง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า “ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยตกต่ำ ทำให้นักลงทุนลดการถือครองเงินสดลงในไตรมาสนี้ เนื่องจากต้องการมองหาการเติบโตที่มั่นคงท่ามกลางภาวะตลาดที่ยังคงผันผวน แม้ว่าการลงทุนในตลาดหุ้นจะยังมีโอกาสเติบโต แต่นักลงทุนกลับคาดหวังผลตอบแทนน้อยลง ดังที่เคยได้รับจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงกลางปี ในปีนี้ตลาดพันธบัตรสดใสนำตลาดอื่น ๆ ด้วยผลตอบแทนที่สูง อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนอาจพิจารณาลงทุนระยะสั้นถึงระยะกลางในพันธบัตรของบริษัทชั้นนำ เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย” บริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลก 13 แห่งที่ธนาคารเอชเอสบีซี จัดสำรวจความเห็นเป็นรายไตรมาสนี้ ยังวิเคราะห์ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ (FUM) การให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดต่าง ๆ กระแสเงินลงทุนทั่วโลก (Global Money Flows) โดยกระแสเงินทุนสุทธิ (Net Money Flow)2 คำนวณจากความเคลื่อนไหวของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ เปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดตราสารประเภทเดียวกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2009 ปริมาณเงินทุนที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลก 13 แห่งที่ร่วมในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้ อยู่ที่ 3.72 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือราวร้อยละ 16.5 ของประมาณการปริมาณเงินทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (Estimated total global FUM3) ผลสำรวจยังพบว่า เมื่อสิ้นไตรมาส 3/09 ปริมาณเงินทุนที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการ เพิ่มขึ้น 356 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากไตรมาส 2/09 โดยกองทุนหุ้นมีปริมาณเงินเพิ่มขึ้น 208 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 3/09 ซึ่งเติบโตเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 58.5 ของการเติบโตของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการโดยรวมในไตรมาส 3/09 ขณะที่กองทุนอื่น ๆ ก็มียอดเงินเพิ่มขึ้นเช่นกันในไตรมาส 3/09 ตารางด้านล่างแสดงถึง กระแสเงินทุนสุทธิในตลาดและตราสารแต่ละประเภท ซึ่งได้มาจากยอดเงินที่เพิ่มขึ้นของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการหักออกจากมูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3/09 กระแสเงินลงทุนสุทธิ เทียบเป็นร้อยละของปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจ ประเภทตลาด และตราสาร สิ้นไตรมาส 3/2009 สิ้นไตรมาส 2/2009 ตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) (Asia Pacific ex-Japan equities) +7.9% +11.2% ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ (North America equities) +6.3% -4.3% ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging markets equities) +1.7% +15.5% ตลาดหุ้นจีน (Greater China equities) +1.6% +7% ตลาดหุ้นทั่วโลก (Global equities) -7.9% -2.5% ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง (High-yield/emerging markets bonds) +19.4% +8.5% ตลาดพันธบัตรทั่วโลก (Global bonds) +4.5% +9.8% ตลาดพันธบัตรยุโรป (รวมสหราชอาณาจักร) (Europe (including UK) bonds) +3.0% +0.9% ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา (US bonds) +1.2% -1.8% ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง เป็นตลาดที่มีกระแสเงินสุทธิไหลเข้าสูงที่สุด เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ด้านกองทุนหุ้น พบว่า มีกระแสเงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นอเมริกาเหนือสูงที่สุดในไตรมาส 3/09 สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง ตลาดหุ้นเกิดใหม่และตลาดหุ้นจีนยังคงมีกระแสเงินไหลเข้าแม้ว่าจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป มร. ลี กล่าวว่า “ในไตรมาส 3/09 นักลงทุนต่างมองหาผลตอบแทนจากตลาดพันธบัตรในภาวะอัตราดอกเบี้ยใกล้ศูนย์เต็มที ขณะที่ยังมองหาโอกาสจากการเติบโตของตลาดหุ้นบางแห่ง เช่น ตลาดเอเชีย ซึ่งกำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากวิกฤตการเงิน เรายังคงเห็นว่านักลงทุนกำลังจับตามองตลาดอย่างใกล้ชิด ด้วยการเลือกลงทุนแบบระยะสั้น พร้อมที่จะกระจายการลงทุนใหม่ ปรับพอร์ตการลงทุนของตนเอง เพื่อผลตอบแทนสูงสุด” เอชเอสบีซี ได้จัดทำ HSBC Fund Flow Tracker ซึ่งเป็นดัชนีวัดกระแสเงินลงทุนสะสมทั้งหมดเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐตลอดระยะเวลา 13 ไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งแสดงถึงกระแสเงินที่ไหลเข้ากองทุนหุ้นลดลงในไตรมาส 3/09 และกระแสเงินไหลเข้าสุทธิ (Net inflows) ในไตรมาส 3/09 ในกองทุนพันธบัตรพุ่งขึ้นสูงสุดเทียบเท่ากับไตรมาส 1/07 และไตรมาส 2/07 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609 หรือ 0-2614-4606

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ