กรุงเทพฯ--29 ธ.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ครั้งแรกกับการรวมกราฟิกและหน่วยควบคุมความจำไว้ในซีพียู เพิ่มศักยภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ ด้วยขนาดที่เล็กลง และประหยัดพลังงาน
ประเด็นสำคัญ
? การรวมเทคโนโลยีไว้ในแพ็คเกจเดียวกัน และเทคโนโลยีการผลิตแบบ 45 นาโนเมตร ทำให้การใช้พลังงานลดลง เครื่องมีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
? พลังงานที่ใช้ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน ทำให้แบตเตอร์รี่ในเน็ตบุ๊กใช้ได้นานขึ้น
? แพลตฟอร์มสำหรับเน็ตบุ๊กกว่า 80 แบบของอินเทล มัดใจผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ๆ เช่น อัสซุส เอเซอร์ เดลล์ โตชิบา ฟูจิตสึ เลอโนโว ซัมซุง เอ็มเอสไอ
? เครื่องที่ใช้แพลตฟอร์มใหม่ของอะตอม พร้อมออกสู่ตลาดตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2553
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงความพร้อมของการวางตลาด อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ ที่รวมสมรรถนะการประมวลผลกราฟิกไว้ในตัวซีพียู ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้นในขนาดที่เล็กลง และประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเจาะตลาดเน็ตบุ๊กรุ่นใหม่ และพีซีแบบเดสก์ท้อปสำหรับกลุ่มผู้ใช้ในระดับเริ่มต้น ซึ่งใช้อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ โดยผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ๆ จะทยอยนำคอมพิวเตอร์ที่ใช้อะตอม โปรเซสเซอร์และชิปเซ็ต รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดในราวต้นเดือนมกราคม 2553 เป็นต้นไป
แพลตฟอร์มรุ่นใหม่ของอินเทล อะตอม มีชื่อรหัสเดิมว่า “ไพน์เทรล” (Pine Trail) ประกอบด้วยอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ N450 และชิปเซ็ต อินเทล? เอ็กซ์เพรส NM10 สำหรับเน็ตบุ๊ก ส่วนพีซีแบบเดสก์ท้อปสำหรับผู้ใช้ระดับเริ่มต้นนั้น ประกอบด้วยอินเทล อะตอม D410 หรือ อินเทล ดูโอ คอร์ D510 จับคู่กับชิปเซ็ต อินเทล เอ็กซ์เพรส NM10 โดยอะตอมรุ่นใหม่นี้ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมด กินไฟต่ำ และมีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาโปรเซสเซอร์ทั้งหมดของอินเทล ด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบ 45 นาโนเมตร และเทคโนโลยี hi-k metal gate ของอินเทล จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีขนาดเล็กกว่าเดิมแม้จะมีชิปเซ็ตรวมอยู่ภายในด้วยก็ตาม และยังมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงอีกด้วย
อุตสาหกรรมให้การตอบรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในวงกว้าง
อินเทลมองว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ให้การตอบรับแพลตฟอร์มอะตอมอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในกลุ่มของเน็ตบุ๊กซึ่งมียอดจำหน่ายติดอันดับสูงสุดในรอบปีที่ผ่านมาทั้งๆ ที่เป็นช่วงซึ่งภาวะเศรษฐกิจมีการชะลอตัว นอกจากนี้อินเทลยังคาดว่าผู้ผลิตยังจะนำแพลตฟอร์ม อินเทล อะตอม รุ่นใหม่ไปใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหลากหลายรูปแบบและจำหน่ายในราคาย่อมเยา ซึ่งได้แก่ คอมพิวเตอร์ดีไซน์บางเฉียบ ดีไซน์แบบออลอินวันราคาเยา หรือแบบที่ไม่ติดตั้งพัดลม เป็นต้น
นับตั้งแต่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ ครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2551 เพื่อใช้กับเน็ตบุ๊กและพีซีเดสก์ท้อปของกลุ่มผู้ใช้ในระดับเริ่มต้น ตลาดโปรเซสเซอร์ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยอินเทลได้ส่งซีพียูอะตอมให้กับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั่วโลกไปแล้วกว่า 40 ล้านชิ้น ซึ่งเป็นช่วงที่เน็ตบุ๊กเองก็มี ยอดจำหน่ายที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยมียอดจำหน่ายมากกว่าโทรศัพท์ไอโฟนจากค่ายแอปเปิ้ล และเครื่องเล่นเกม Wii* จากนินเทนโด จากผลสำรวจของเอบีไอ รีเสิร์ช พบว่ายอดการจัดส่งชิปอะตอมน่าจะเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมียอดจำหน่ายประมาณ 50 ล้านชิ้นในปีนี้ และจะเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยล้านชิ้นภายในปี 2554* อย่างไรก็ตาม แม้จะประสบความสำเร็จอย่างมากแล้วก็ตาม อินเทลจะยังคงเดินหน้าคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ ได้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนระบบการประมวลผลให้กับสินค้ากลุ่มใหม่ๆ ในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา และเราเชื่อว่าการเติบโตนี้จะยังไปได้อีกไกลสำหรับสินค้าประเภทเน็ตบุ๊กและพีซีสำหรับผู้ใช้ในระดับเริ่มต้น ที่เน้นการใช้งานพื้นฐานและอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก”
“เราภูมิใจมากกับแพลตฟอร์มใหม่ของอินเทล อะตอม ที่เตรียมออกสู่ตลาดในครั้งนี้ และการได้ทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง เพราะทำให้เราสามารถก้าวไปสู่ระยะที่สองของการเติบโตได้ และยังเพิ่มศักยภาพด้านการออกเครื่องให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ มีสมรรถนะการทำงานที่ดีขึ้น มีขนาดที่เล็กลง และมีอายุการใช้งานแบตเตอร์รี่ที่นานขึ้น” นายเอกรัศมิ์ กล่าวเสริม
จนถึงขณะนี้ แพลตฟอร์มใหม่ของอะตอม โปรเซสเซอร์ กว่า 80 แบบ ได้ถูกผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำหลายรายนำไปประกอบในเครื่องรุ่นใหม่ๆ ผู้ผลิตเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้แก่ อัสซุส เอเซอร์ เดลล์ โตชิบา ฟูจิตสึ เลอโนโว ซัมซุง เอ็มเอสไอ เป็นต้น ขณะเดียวกัน มีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จำนวนมากติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7 เวอร์ชั่น Starter หรือ Home Basic เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้นในการเลือกระบบปฏิบัติการที่ตน พึงพอใจ และผู้ผลิตอีกหลายรายที่มี MoblinTM Linux v2 เพื่อให้ผู้บริโภคซึ่งต้องการระบบปฏิบัติการที่มีอินเทอร์เฟซการใช้งานที่แตกต่างและปรับได้ตามความต้องการได้เลือกใช้อีกด้วย
นอกเหนือจากวงการคอมพิวเตอร์แล้ว บริษัทโทรคมนาคมทั่วโลกที่จำหน่ายเน็ตบุ๊ก เช่น ที-โมบายล์ โวดาโฟน ออเรนจ์ และอื่นๆ อีกมาก ก็กำลังมีการขยายตัวทางธุรกิจด้วยเช่นกัน และคาดว่าการเติบโตจะสูงขึ้นอีกระลอกหนึ่งด้วย ที่ผ่านมา อินเทลได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ผลิตโมเด็มเพื่อให้เน็ตบุ๊กรุ่นต่างๆ สามารถใช้เทคโนโลยี 3G ได้ทั้งในตลาดเน็ตบุ๊กทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและในตลาดเกิดใหม่ อีกหลายแห่ง ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ราว 12 รายที่จำหน่ายเน็ตบุ๊กในตลาดต่างๆ และคาดว่าจำนวนจะเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่แพลตฟอร์มใหม่ออกสู่ตลาด
โปรเซสเซอร์และกราฟิกที่มาพร้อมกับสมรรถนะที่สูงขึ้น
จุดเด่นของแพลตฟอร์มตัวใหม่นี้คือ การรวมหน่วยควบคุมความจำและกราฟิกไว้ในซีพียูได้เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ นั่นหมายถึงว่าสามารถลดขั้นตอนการทำงานด้วยการเหลือเพียงชิปแค่สองตัว (ซีพียูและชิปเซ็ต) แทนที่จะเป็น 3 ตัว (ซีพียู ชิปเซ็ต และพอร์ต I/O) นอกจากนี้ยังทำให้ค่า TDP ลดลง ต้นทุนการผลิตต่ำลง มีขนาดเครื่องเล็กลง และประหยัดพลังงานอีกด้วย จึงทำให้แพลตฟอร์มสำหรับเน็ตบุ๊กมีสมรรถนะสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 20 รวมถึงขนาดแพลตฟอร์มของอะตอมที่เล็กลงกว่าเดิม ผู้ผลิตจึงสามารถดีไซน์เครื่องได้เล็กและกระทัดรัดมากขึ้น และแบตเตอร์รี่ก็สามารถใช้งานได้นานขึ้นอีกด้วย จากการที่อินเทลสามารถรวมกราฟิกไว้ในซีพียูได้ ทำให้แพลตฟอร์มของเน็ตบุ๊กเล็กลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 60 ส่วนพีซีเดสก์ท้อปสำหรับผู้ใช้ในระดับเริ่มต้นนั้น จะมีขนาดของเครื่องที่เล็กลงเกือบร้อยละ 70 ส่วน TDP จะลดลงประมาณร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มรุ่นเดิม
ติดต่อ:คุณดรรชนีพร พฤกษ์วัฒนานนท์ คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501 E-Mail: dudchaneeporn.pruckwattananon@intel.com E-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk