กรุงเทพฯ--5 ม.ค.--ม.เกษตรศาสตร์
ในโลกที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หากมองทางด้านมุมบวก เทคโนโลยีมีส่วนในการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจมากมาย หากพิจารณาผลกระทบทางด้านลบ เทคโนโลยีไอซีทีก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมหลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติสังคมที่เกิดกับเด็กและเยาวชน กระทบและสร้างปัญหาที่รุนแรง เช่นปัญหาเด็กติดเกม ติดเน็ต ติดแชต ปัญหาการถูกล่อลวง ปัญหาการใช้สื่อไม่เหมาะสม ปัญหาการไม่รู้คุณค่าของไอซีที การใช้ไอซีทีอย่างฟุ่มเฟือย การหลงในเรื่องไร้สาระ โดยเฉพาะความสนุกสนาน ทำให้ไม่สนใจเรียนหนังสือ การหนีเรียน การเรียนตกต่ำ สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ปกครองในยุคสมัยนี้อย่างมาก
เนื่องจากเทคโนโลยีไอซีทีได้รับความสนใจในหมู่เด็กและเยาวชนมาก เด็กและเยาวชนเรียนรู้เร็ว การแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีคือ การหาสิ่งที่มีสาระมาทดแทน และสร้างภูมิคุ้มกัน โดยเปิดพื้นที่กิจกรรมทางเลือกที่สนุกสนาน มีสาระ และสร้างความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ทำให้เกิดความสนุกสนานและมีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้อ ความสนใจของเด็กและเยาวชน กับเรื่องไอซีทีเป็นทุนเดิม การสร้างพื้นที่กิจกรรมที่สนุกและมีสาระทำให้เด็กได้เห็นและเข้าใจเทคโนโลยี และสามารถพัฒนาตามแนวคิดจินตนาของตัวเอง
ปัจจุบัน ทักษะการโปรแกรมกำลังเป็นหนึ่งในทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการ และเหล่านักการศึกษาต่างก็ให้ความสำคัญกับการศึกษาทางด้านนี้ จึงได้มีการนำเครื่องมือต่างๆ มาประยุกต์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมีเหล่านี้ ก็คือการใช้หุ่นยนต์ขนาดเล็กเพื่อประกอบการเรียนการสอนนั่นเอง หนึ่งในโปรแกรมเหล่านั้นคือ หุ่นยนต์โรโบโค้ด หุ่นยนต์ในไซเบอร์สเปซแบบโอเพ็นซอร์ส ที่ช่วยในเรื่องการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) โดยมีกลุ่ม Cubic Creative ผู้ซึ่งมีส่วนในการริเริ่มจัดกิจกรรมโปรแกรมโอเพนซอร์ส โรโบโคดจูเนียร์ มานานกว่าสามปี เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม เพื่อเน้นเรื่องสำคัญในเรื่องการพัฒนาความรู้ทางด้านการแก้ปัญหาและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบสนุกสนาน และ สร้างสรรค์เยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการกระตุ้นความสนใจด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อส่งสริมการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2554 ทางคณะวิศวฯ อยากให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การจัดโครงการค่ายเยาวชนการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์แบบเสมือน Cubic Robocode Camp ครั้งนี้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ใกล้เคียงกับฐาน จำนวน 60 คน พี่เลี้ยงและทีมงานจากกลุ่ม Cubic Creative โดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้การสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์บังคับหุ่นยนต์แบบเสมือนที่ผสมกับกิจกรรมที่ท้าทาย สร้างสรรค์ และสนุกสนาน
น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Cubic Robocode Camp On-tour #2
กิจกรรมโครงการ
กิจกรรมในค่ายการพัฒนาหุ่นยนต์แบบเสมือนผ่านกิจกรรมที่น่าสนใจ สนุก ตื่นเต้น ท้าทาย โดยจะรับสมัครผู้เข้าร่วมจากนักเรียน/ครู/อาจารย์ในพื้นที่ชุมชนต่างๆ ใกล้เคียงแต่ละพื้นที่มาเข้าร่วมกิจกรรมโดยเน้นที่กลุ่มโรงเรียนทั้งในกรุงเทพ และในจังหวัดภูมิภาค โดยทีมงานจากคิวบิกจะสัญจร (Cubic Robocode on tour #2)ไปจัดยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อขยายผลเข้าสู่เด็กและเยาวชนให้มากที่สุด เป็นผลทำให้เกิดประโยชน์ในเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์จาวาแบบเปิดในวงกว้าง และส่งผลระยะยาว อีกทั้งเป็นการลดช่องว่างระหว่างเด็กในเมืองและในต่างจังหวัด อีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดความรักในการเขียนโปรแกรมที่จะเป็นรากฐานการพัฒนาเข้าสู่การแข่งขัน คอมพิวเตอร์โอลิมปิกในระดับประเทศของ สสวท. ต่อไป โดยมีศูนย์โรงเรียนเป็นแกนนำในการร่วมจัดกิจกรรมครั้งนี้ คือ
โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม, 9-10 ม.ค 2553
โรงเรียนลำปางกัลยาณี, 16-17 ม.ค 2553
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย , 23-24 ม.ค 2553
โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน, 30-31 ม.ค 2553
โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย, 6-7 ก.พ 2553
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา, 13-14 ก.พ 2553
โรงเรียนระยองวิทยาคม, 13-14 มี.ค 2553
ตารางกิจกรรม
กิจกรรมวันที่ 1
- 9.00-10.30 แนะนำให้รู้จักกับโรโบโค้ด, ติดตั้งโปรแกรม, สร้างหุ่นยนต์ตัวแรก
- เนื้อหารวมถึงกายวิภาคของหุ่นยนต์ (robot anatomy) แนะนำส่วนประกอบของหุ่นยนต์ รูปแบบการเล่น สนาม และ เป้าหมาย(Build the Best, Destroy the Rest!)
- 10.30-12.00 เรียนรู้คำสั่ง ควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์
- Event Run
- คำสั่ง ahead, turnLeft, turnRight, turnTo, turnAheadRight, turnAheadLeft, turnBackRight, turnBackLeft
- ทบทวน-สอน คณิตศาสตร์เกี่ยวกับมุมที่จำเป็นต้องใช้ใน robocode
- ทำโจทย์ทดสอบความเข้าใจ เช่น ให้เคลื่อนที่เป็นรูปเรขาคณิต เป็นต้น
- 13.00-14.30 เรียนรู้คำสั่งควบคุมปืนและการยิง
- Event OnScannedRobot
- คำสั่ง turnGunLeft, turnGunRight, turnGunTo, fire
- กระสุนวิภาคและฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้อง (ความสัมพันธ์ระหว่างความแรง ความเร็ว และขนาดของกระสุน)
- ทำโจทย์สร้างหุ่นปราบหุ่นยนต์ sample บางตัว เช่น Fire, TrackFire, myFirstRobot
- 14.30-16.00 เรียนรู้คุณสมบัติอื่นๆ และการสร้างหุ่นยนต์สู้กันเอง - การเปลี่ยนสีหุ่นยนต์ และ กระสุน
- กลยุทธ์ในการสู้แบบตะลุมบอน และ หนึ่งต่อหนึ่ง
- การนำหุ่นไปสู้กับหุ่นของเพื่อนๆ
พักผ่อนเตรียมสมองมาเรียนรู้ในวันถัดไป
กิจกรรมวันที่ 2
- 9.00-10.30 เรียนรู้คำสั่งเกี่ยว event และ การจัดการหุ่นยนต์รูปแบบต่างๆ
- Event Concept
- แนะนำEventทั้งหมดที่ต้องใช้ (run, onScannedRobot, onHitWall, onHitRobot, onHitByBullet)
- ทำโจทย์สร้างหุ่นปราบหุ่นยนต์ sample บางตัว เช่น spinbot, ramfire, wall
- 10.30-12.00 อธิบายการแข่งขัน และให้เวลาทำหุ่นเพื่อส่งแข่งขันในช่วงบ่าย
- 13.00-16.00 แข่งขัน และ มอบรางวัล