ผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามนโยบายรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2552

ข่าวทั่วไป Wednesday January 6, 2010 17:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ม.ค.--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง วันนี้ (6 มกราคม 2553) ที่กระทรวงการคลัง ได้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการอำนวยสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยปี 2552 โดยมีนายประดิษฐ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 6 แห่ง ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้มีการปรับเป้าหมายสินเชื่อรวมจาก 625,500 ล้านบาท เป็น 927,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2552 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่ง สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ 1,186,411 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 127.98 ของเป้าหมาย 927,000 ล้านบาท และเบิกจ่ายแล้วเป็นเงิน 1,096,592 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 118.29 ของเป้าหมาย และมีผู้ได้รับผลประโยชน์ 5,034,106 ราย โดยมีรายละเอียดแยกรายสถาบัน ดังนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป้าหมาย อนุมัติ เบิกจ่าย (ล้านบาท) จำนวนราย จำนวนเงิน ร้อยละเทียบกับเป้าหมาย จำนวนราย จำนวนเงิน ร้อยละเทียบกับเป้าหมาย (ล้านบาท) (ล้านบาท) ธ.ออมสิน 242,600 1,214,447 464,353 191.41% 1,214,381 462,268 190.55% ธ.ก.ส. 470,000 3,597,214 455,061 96.82% 3,597,214 455,061 96.82% ธอส. 100,000 210,416 130,129 130.13% 178,381* 95,228 95.23% ธสน. 37,200 557 54,298 145.96% 233 24,910 66.96% ธพว. 43,500 4,699 33,766 77.62% 14,846* 24,993 57.46% ธอท. 33,700 6,773 48,804 144.82% 6,631 34,132 101.28% รวม 927,000 5,034,106 1,186,411 127.98% 5,011,686 1,096,592 118.29% หมายเหตุ * ข้อมูลเป็นจำนวนครั้งที่เบิกจ่าย ในขณะที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแห่งประเทศไทยมีการค้ำประกันสินเชื่อทั้งสิ้น 21,389 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 71.30 ของเป้าหมาย สำหรับโครงการสินเชื่อ Fast Track ซึ่งเป็นมาตรการส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้เร่งรัดการดำเนินงานให้รวดเร็วเป็นพิเศษ และบางโครงการก็มีการผ่อนปรน ในเรื่องดอกเบี้ยและเงื่อนไขอื่นๆ ที่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2552 และสิ้นสุดโครงการวันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยมีเป้าหมายสินเชื่อ 64,000 ล้านบาท ปรากฏว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่งสามารถอนุมัติสินเชื่อได้ 107,722 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 168.32 ของเป้าหมาย และเบิกจ่ายแล้วจำนวน 73,480 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 114.81 ของเป้าหมาย มีผู้ได้รับประโยชน์ 704,674 ราย ส่วนผลการดำเนินงาน รายสถาบันสามารถสรุปได้ ดังนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป้าหมาย อนุมัติ เบิกจ่าย (ล้านบาท) จำนวนราย จำนวนเงิน ร้อยละเทียบกับเป้าหมาย จำนวนราย จำนวนเงิน ร้อยละเทียบกับเป้าหมาย (ล้านบาท) (ล้านบาท) ธ.ออมสิน 11,000 374,608 16,054 145.95 374,608 16,054 145.95 ธ.ก.ส. 22,000 282,496 25,136 114.26 282,496 25,136 114.26 ธอส. 15,000 44,689 30,948 206.32 26,671 16,771 111.80 ธสน. 5,000 376 17,579 351.57 91 2,598 51.97 ธพว. 5,000 987 10,853 217.05 593 6,465 129.30 ธอท. 6,000 1,518 7,152 119.21 890 6,456 107.59 รวม 64,000 704,674 107,722 168.32 685,349 73,480 114.81 การที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถอนุมัติและเบิกจ่ายสินเชื่อได้มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทำให้มีผลช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยประมาณการไว้เดิมอีกร้อยละ 0.17 ต่อปี ทั้งนี้ แม้ว่าเงื่อนไขผ่อนปรนเป็นพิเศษทั้งในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขอื่นๆ จะสิ้นสุดลงตามโครงการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2552 แต่ในเรื่องกระบวนการดำเนินงานที่รวดเร็วตามโครงการ Fast Track สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่องต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 02-273-9020 ต่อ 3245

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ