กรุงเทพฯ--7 ม.ค.--ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมิวนิเคชั่น
กรมทรัพย์สินทางปัญญาผนึกกำลังกับผู้ประกอบการ และนักออกแบบในแวดวงการ์ตูน คาแรกเตอร์ รวมถึง ธุรกิจผู้ผลิตสินค้าเมอร์แชนได้ส์ จัดสัมมนา เพื่อสร้างความเข้าใจ “ติดอาวุธทางความรู้” ให้กับ ผู้ที่เกียวข้องกับธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สร้างเม็ดเงินนับพันล้านสู่ผู้ประกอบการและนักออกแบบไทย ภายใต้นโยบาย “เศรษฐกิจสร้างสรรค์”
อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาชี้ว่า มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจ ลิขสิทธิ์ การตูน คาแรกเตอร์ ในประเทศไทยที่ผ่านมานั้นก็มีตัวเลขที่สูงถึงกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าจากมูลค่าตลาดรวมนี้ กลับมีส่วนแบ่งการตลาดที่ปันมาให้ตัวการ์ตูนคาแรกเตอร์ของเจ้าของสิทธิ์ชาวไทยเองน้อยมาก ในขณะที่นักออกแบบ หรือนักการ์ตูนชาวไทยฝีมือดีจำนวนไม่น้อย กลับต้องไปสร้างสรรค์ค์ และขายงานออกแบบให้เป็นสิทธิ์ของบริษัทต่างชาติ ก่อนที่บริษัทต่างชาติเหล่านั้น จะย้อนกลับมาขายสิทธิ์ตัวการ์ตูน คาแรกเตอร์ให้ผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆในประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา จึงได้ร่วมกันกับ เครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์ค์สังคม องค์กรสร้างสรรค์ค์และสนับสนุนให้ก่อเกิดผลงานอันมีอัตลักษณ์เฉพาะ ซึ่งประกอบด้วย สมาคมการ์ตูนไทย, สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก, สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์, มูลนิธิฟื้นฟูเมือง, สมาคมเยาวชนกรุงเทพมหานคร โครงการจัดตั้งสมาคมสื่อสร้างสรรค์ค์พัฒนาสังคม รวมถึง สมาคมภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม มากมายจัดงานสัมมนา เพื่อให้ผู้ที่เกียวข้องกับสายโซ่แห่งคุณค่า หรือ Value Chain ในอุตสาหกรรมนี้ ได้ทราบถึง การนำเอาผลงานการ์ตูน คาแรกเตอร์ มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับอุตสาหกรรมการผลิต การนำเอา ประเด็นทางลิขสิทธิ์ การตลาดการค้ามาผนวกกับ แง่มุมทางด้านการสร้างสรรค์ผลงานของนักออกแบบ
สำหรับการสัมมนานั้นแบ่งออกเป็นสองภาค ในภาคเช้าจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับ ส่วนธุรกิจ ในเรื่องว่าด้วยการนำเอา การ์ตูน คาแรกเตอร์ มาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในทางธุรกิจ ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิที่มากด้วยประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในวันนี้เราเองได้เกียรติจาก ประธานของ สมาคมลิขสิทธิ์นานาชาติในอุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าเมอร์แชนได้ส์ หรือ LIMA มิสเตอร์ ชาร์ลส์ ริอ้อตโต้ มาร่วมเสวนาด้วย
สำหรับในภาคบ่ายนั้นจะเป็นเวทีที่ ทำให้ผู้สร้างสรรค์ หรือผู้ที่อยู่ “ต้นน้ำ” ของอุตสาหกรรมนี้ ได้ทราบถึงมิติทางธุรกิจ ลิขสิทธิ์ การตลาด จากผลงานสร้างสรรค์ของพวกเขา เพื่อทำให้เขาได้ตระหนักถึงแง่มุมต่างๆนอกเหนือไปจากมิติออกแบบสร้างสรรค์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ ผลงานของตนเอง
โดยงานสัมมนานั้นยังจะทำหน้าที่เป็นเวทีในการสร้างร่วมมือกันในลักษณะต่างๆ เพื่อร่วมสนับสนุน และร่วมผลักดันผลงานลิขสิทธิ์อันมีอัตลักษณ์เฉพาะ และผลงานการออกแบบเกี่ยวเนื่องของนักออกแบบไทย ในการวางรากฐานความรู้ความเข้าใจ, กำหนดมาตรฐาน, สร้างสรรค์ค์ผลงาน, พัฒนาต่อยอด และสามารถทำการผลิต ตลอดจนทำการตลาดอย่างครบวงจร ทัดเทียมกับนานาชาติ ในโครงการการ์ตูนและ คาแรกเตอร์ไทยก้าวไกลสู่เวทีการค้าโลก โดยเฉพาะการจัดงาน Character & Licensing Expo Asia หรือ CLEA2010 ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในการสนับสนุนตามนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ค์ของรัฐบาลอีกด้วย