รมว.คลัง รับรางวัล รมว.รัฐมนตรีคลังโลกแห่งปี 2010 และ รมว.คลังเอเชียแห่งปี 2010 จากสื่อในกลุ่ม Financial Times

ข่าวทั่วไป Monday January 11, 2010 15:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ม.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2553 ณ 1.00น. เวลาประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรณ์ จาติกวณิช ได้เข้าพิธีการมอบรางวัลรัฐมนตรีคลังโลกแห่งปี 2010 และ รัฐมนตรีคลังเอเชียแห่งปี 2010 จากสื่อในกลุ่ม Financial Times (นิตยสาร Banker Magazine) ลอนดอน,สหราชอาณาจักร - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรณ์ จาติกวณิช ได้รับเลือกให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโลกแห่งปี 2010 ควบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเชียแห่งปี 2010 โดยรางวัลทั้งสองมอบโดยนิตยสารชั้นนำของประเทศอังกฤษ The Banker ในกลุ่ม Financial Times ที่ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1926 รัฐมนตรี กรณ์ เป็นรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติทั้งสองนี้ รัฐมนตรี กรณ์ จาติกวณิช ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่เดือนธันวาคม 2008 และได้รับเลือกให้เป็นผู้ถูกคัดเลือกรอบสุดท้ายพร้อมๆกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจากประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งใน อเมริกาเหนือ ยุโรป อาฟริกา และ ตะวันออกกลาง ทั้งนี้ผู้ได้รับรางวัลรัฐมนตรีคลังภูมิภาคได้แก่ ลูอิส คาร์เรนซ่า (Luis Carrenza)จากประเทศเปรู: รัฐมนตรีคลังแห่งอเมริกา ยาเซค โรสโตฟสกี้ (Jacek Rotowski) จากประเทศโปแลนด์ รัฐมนตรีคลังแห่งยุโรป กรณ์ จาติกวณิช (Korn Chatikavanij) จากประเทศไทย รัฐมนตรีคลังแห่งเอเชีย ชาร์ส โคฟี ดีบี้ (Charles Koffi Diby) จากประเทศ ไอวอรี่โคสต์ รัฐมนตรีคลังแห่งแอฟริกา ยูซุฟ บูโทรส-กาลี (Yousuf Boutros-Ghali) จากประเทศอียิปต์ รัฐมนตรีคลังแห่งตะวันออกกลาง จากจดหมายที่แจ้งผลรางวัลให้กับรัฐมนตรี กรณ์ ทางนิตยสารได้อธิบายถึงวิธีการตัดสินรางวัล อันรวมถึงความคิดเห็นภายในผู้จัดทำนิตยสารพร้อมๆกับผลสำรวจความคิดเห็นจากนักวิเคราะห์ นายธนาคาร และนักเศรษฐศาสตร์จากทั่วโลก ทั้งนี้เกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโลก ได้แก่ 1. ความสามารถในการจัดการกับปัญหาวิกฤตการเงินได้ดี 2. สไตล์การบริหารงานที่ก้าวหน้า ยกต้วอย่างเช่น รัฐมนตรีผู้ที่ผลักดันนโยบายปฎิรูปประเทศชาติ 3. ความเป็นผู้นำที่มีความชัดเจน 4. ผลงานที่ได้เอาชนะปัญหาอันท้าทาย ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง “ผลสำรวจความคิดเห็นที่ทางนิตยสารได้รวบรวมมารวมกับผลการทำงานท่ามกลางปัญหาทางการเมืองในประเทศ รัฐมนตรี กรณ์ จาติกวณิช ได้ผลักดันและชี้นำทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจากช่วงที่เลวร้ายที่สุดจากวิกฤตการเงินของโลก ในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐมนตรี กรณ์ ได้เปิดเผยแผนการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยโดยการเพิ่มสัดส่วนมูลค่าการบริโภคและลงทุนในประเทศและเพิ่มโอกาสการหาเงินทุนสำหรับธุรกิจในประเทศโดยเปิดให้มีการแข่งขันในระบบการเงิน พร้อมๆกับการดำเนินการปฎิรูปตลาดทุนในประเทศ แม้ว่าช่วงเวลาที่รัฐมนตรี กรณ์ จาติกวณิช เข้ารับตำแหน่งนั้นยังไม่นานมาก แต่รัฐมนตรี กรณ์ ได้ดำเนินแผนปฎิรูปในเชิงรุกซึ่งประสบความสำเร็จในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทยได้กลับเข้าสู่หนทางเติบโตอีกครั้งหนึ่งหลังจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจชะงักงันและความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล แต่ความสำเร็จของรัฐมนตรี กรณ์ จาติกวณิช ก็ไม่ได้จำกัดอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น รัฐมนตรี กรณ์ ในฐานะผู้เชื่อมั่นในความสำเร็จจากการร่วมมือกันในสังคมชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ดำรงตำแหน่งประธานให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลงานของรัฐมนตรี กรณ์ ยังรวมถึง ASEAN electronic link-up ในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 อันเป็นแผนการซึ่งจะทำให้นักลงทุนต่างชาติสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ข้ามพรมแดนได้ แผนนี้จะยกระดับให้หลักทรัพย์ในตลาด ASEAN เป็น Asset Class ซึ่งความพยายามครั้งนี้ รัฐมนตรีกรณ์ ได้ริเริ่มนโยบายที่จะทำให้ประชาคม ASEAN มีระบบเศรษฐกิจเป็นหนึ่งเดียว อันจะส่งผลให้เป็นกลุ่มการค้าระดับโลกในที่สุด” นายไบรอัน แคพแพล่น (Brian Caplen) บรรณาธิการนิตยสารกล่าว รัฐมนตรี กรณ์ ได้กล่าวแสดงความรู้สึกว่าหลังจากได้รับรางวัล รัฐมนตรีคลังโลกและเอเชีย-แปซิฟิกประจำปี 2010 จากนิตยสาร The Banker ของอังกฤษ ที่อยู่ในเครือของ Financial Times รางวัลที่ได้รับมาทั้งสองรางวัลอาจจะถือว่ายังเร็วเกินไปที่จะได้รับเนื่องจากข้อเท็จจริงคือประชาชนคนไทยยังมีปัญหาและอุปสรรคอีกมากที่รัฐมนตรีคลังและรัฐบาลจะต้องแก้ไขจัดการก่อนที่จะพูดได้อย่างเต็มปากว่างานของรัฐบาลนี้เสร็จสิ้นแล้ว จริงๆแล้ว การที่จะตัดสินผลงานของรัฐมนตรีคลังจากนโยบายเศรษฐกิจเพียงช่วงเวลาหนึ่งปีไม่น่าจะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเช่นประเทศไทยที่ประชาชนจำนวนมากยังขาดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมตามควรและโครงสร้างเศรษฐกิจของเรายังมีปัญหาทางด้านประสิทธิภาพที่ยังต้องปรับปรุงและพัฒนา แต่อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีกรณ์และรัฐบาลจะใช้รางวัลนี้เป็นกำลังใจในการทำงานเพื่อประชนคนไทยต่อไป รัฐมนตรี กรณ์ ได้กล่าวว่าความท้าทายหลักๆในการทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี 2553 มีอยู่สามเรื่อง ได้แก่ การให้โอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับทางด้านเประชาชนทุกคน การพยายามเพิ่มประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและการเพิ่มความรับผิดชอบในภาครัฐที่สามารถตรวจสอบได้(Accountability) โดยประเด็นหลักๆในการที่จะตัดสินผลงานทางงด้านเศรษฐกิจมของรัฐบาลคือความคืบหน้าในโครงการดังต่อไปนี้ 1. รัฐบาลจะต้องผลักดันและขับเคลื่อนการปฏิรูปโครงสร้างภาษีโดยเฉพาะภาษีทรัพย์สินและที่ดินเพื่อเพิ่มความโปรงใสในการจัดเก็บและในความยุติธรรม 2. รัฐบาลจะต้องริเริ่มโครงการกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนกว่า 20 ล้านชีวิตที่เป็นแรงงานนอกระบบ 3. รัฐบาลจะต้องพัฒนาโครงการสินเชื่อเพื่อรายย่อย (microfinance) เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยหรือกลุ่มรากหญ้าสามารถเข้าถึงสู่แหล่งทุนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมนอกระบบอีกต่อไป 4. รัฐบาลยังจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนการเงินของภาคธุรกิจผ่านการขับเคลื่อนแผนพัฒนาตลาดทุนและแผนแม่บทพัฒนาสถาบันการเงินที่รัฐบาลได้นำเสนอไว้ในปี 2552 รวมไปถึงการลดต้นทุนของภาคธุรกิจทางด้างการขนส่งและพลังงาน 5. รัฐบาลจะต้องเสริมประสทธิภาพของภาครัฐทั้งในแง่ของความโปร่งใสและประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมูลค่ารวมเกือบร้อยละ 5 ของเศรษฐกิจในปี 2553

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ