กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--Sir (Thailand)
ในปี ทีมPlasma-Z จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรองชนะเลิศจะเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก 2006 ด้วยเช่นกัน
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับส่งทีมฟุตบอลหุ่นยนต์ Revenger จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ซึ่งเป็นทีมชนะเลิศจากการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2549 เป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก 2006 (World RoboCup 2006) ที่ประเทศเยอรมนี ในเดือนมิถุนายน ศกนี้
ในปีนี้คณะกรรมการมี มติเห็นชอบในการเปิดโอกาสให้ทีม Plasma-Z ได้ร่วมเดินทางไปแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ ชิงแชมป์โลก 2006 เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากทีมหุ่นยนต์ Plasma-Z จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอีกทีมหนึ่งที่มีศักยภาพ และมีคุณสมบัติเหมาะสม ตลอดจนทีมได้แสดงสปิริตความมีน้ำใจนักกีฬาในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในประเทศไทย เมื่อ เดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ทีมหุ่นยนต์ Revenger และทีมหุ่นยนต์ Plasma-Z จะเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก 2006 ในประเภท หุ่นยนต์ขนาดเล็ก (Small Size League) ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างทีมฟุตบอลหุ่นยนต์สองทีม แต่ละทีมประกอบด้วย หุ่นยนต์ ขนาดเล็กจำนวน 5 ตัว หุ่นยนต์แต่ละตัวเล่นฟุตบอลด้วยระบบเซ็นเซอร์ในสนามที่มีกล้อง ซึ่งส่งข้อมูลเกี่ยวกับเกมการแข่งขัน เช่น ลูกบอล ตำแหน่งของหุ่นยนต์เตะฟุตบอลของตนเองและตำแหน่งของหุ่นยนต์คู่แข่งไปยังคอมพิวเตอร์ การแข่งขันรายการนี้ จัดว่าเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ทั้งระบบ vision ระบบสื่อสารแบบไร้สาย และการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)
คณะผู้จัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2549 จึงขอเชิญชวนชาวไทยร่วมเป็นกำลังใจแก่ทีมหุ่นยนต์ Revenger และทีมหุ่นยนต์ Plasma-Z ในการแข่งขันกับทีมหุ่นยนต์จากทั่วโลกที่จะจัดขึ้น ณ เมืองเบรเมน ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 14 - 20 มิถุนายน ศกนี้
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจและดำเนินงานเกี่ยวข้องกับ วิศวกรรมหุ่นยนต์ อันประกอบไปด้วย นักวิชาการ นักวิจัย และนักอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้และ เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ เป็นศูนย์กลางทางด้านข่าวสารในวิทยาการใหม่ ๆ ของหุ่นยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่านสามารถติดต่อสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยได้ที่ โทร. 0-2218-6982 และ 0-2218-6956 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.trs.or.th
ซีเกทเป็นผู้นำทั่วโลกในการออกแบบ การผลิตและการตลาดฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อันหลากหลาย สำหรับองค์กร เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Mobile Computing) และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Consumer Electronics) รูปแบบการดำเนินธุรกิจของซีเกทช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและการผลิต ระดับโลกเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีคุณภาพในระดับชั้นนำของอุตสาหกรรมไปยังลูกค้าทั่วโลก รวมทั้งเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำในทุกตลาดที่เรามีส่วนร่วม บริษัทมีความมุ่งมั่นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลและมี คุณภาพดีที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการบันทึกข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซีเกทได้รับการยกย่องให้เป็นบริษัทแห่งปี 2006 จากนิตยสารฟอร์บส์ ท่านสามารถพบซีเกทได้ทั่วโลกและพบข้อมูลซีเกทที่ www.seagate.com
ซีเกท ซีเกท เทคโนโลยีและโลโก้เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาของบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนอื่น ๆ ทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของเจ้าของตามที่กล่าวมา ข้างต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาส จงสถิตย์วัฒนา นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
โทร. 0-2218-6982 และ 0-2218-6956
หรือนางสาวขวัญจิต สุดสวัสดิ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์
บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 0-2715-2919
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net