กรุงเทพฯ--12 ม.ค.--เซ็นทรัลพัฒนา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ สร้างสรรค์กิจกรรม พร้อมผลงานการออกแบบ เพื่อลดภาวะโลกร้อน และวัสดุที่จะก่อให้เกิดการทำลายธรรมชาติ ด้วยงาน “Change for life ลดโลกร้อน” เมื่อวันที่ 2 — 7 มกราคม 2553 ณ บริเวณชั้น 2 หน้าลิฟท์แก้ว ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานในครั้งนี้
ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบการจัดนิทรรศการ ทั้งในทางทฤษฎีและปฎิบัติ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาหลักสูตรออกแบบผลิตภัณฑ์ให้บุคคลภายนอกได้ชม และได้รับรู้ความคิด ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยการนำพลาสติก, แก้ว, ขวด และยาง โดยที่ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก และใช้เวลานาน เมื่อขยะเหล่านี้รวมกันเป็นจำนวนมากจนทำให้เกิดก๊าซอันตรายจากการกำจัดที่ไม่ถูกวิธี เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ และก๊าซคาร์บอน มอน๊อกไซค์ โดยที่ก๊าซอันตรายเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อนกระจายจนทำให้เกิดปัญญาภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน
หลักสูตรออกแบบผลิตภัณฑ์ ภาคพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จึงทำการนำวัสดุจากของเหลือใช้มาออกแบบรีไซเคิล ผสมผสานกับวัสดุจากธรรมชาติ และโลหะนำมาประยุกต์ในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ โดยแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านการออกแบบ และเทคโนโลยีการผลิตรวมถึงความสวยงาม และความแตกต่างแปลกใหม่ในด้านรูปทรง และการนำวัสดุมาผสมผสานได้อย่างลงตัว ซึ่งได้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ออกแบบมาให้เข้ากับยุคสมัยในสไตล์การอนุรักษ์ธรรมชาติ และช่วยลดโลกร้อน ผสมผสานกับความเป็นโมเดิร์น เช่น เก้าอี้พักผ่อน, ชุดรับแขก ฯลฯ โดยในด้านการออกแบบจะทำให้เห็นถึงคุณค่าของวัสดุเหลือใช้ และวัสดุธรรมชาติ โดยเลือกกรรมวิธีการผลิตอย่างง่ายสามารถผลิตได้เอง โดยผลงานแต่ละชิ้นได้ถูกออกแบบอย่างโดดเด่น และลงตัว เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุเหลือใช้มากที่สุด โดยยังคงชิ้นงานเหล่านี้ไว้ซึ่งเอกลัษณ์ให้คนรุ่นหลังได้ดู และศึกษากันสืบไป
ทั้งนี้มีผลงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ทั้งสิ้น 15 ท่าน โดยมีรายละเอียดของผลงานที่โดดเด่น ดังนี้
ผลงาน “Clothe Scraps Spoon”
ชื่อนักศึกษา นางสาวปราณี ถาวงศ์
คอนเซ็ป ช้อนกลางเปรียบเสมือนจุดรวมของทุกคนบนโต๊ะอาหาร เพราะช้อนกลางเป็นสิ่งของสิ่งเดียวบนโต๊ะอาหารที่ต้องใช้ร่วมกัน จึงเป็นแรงบันดาลใจ ในการออกแบบ Clothe Scraps Spoon ที่นำรูปของช้อนลางมาใช้ในการออกแบบ เพราะอยากให้ Clothe Scraps Spoon เป็นที่พักผ่อนของทุกคน Clothe Scraps Spoon เป็นผลิตภัณฑ์แบบ Recycle ที่ทำมาจากเหล็ก เพื่อต้องการความแข็งแรงทนทาน และเศษผ้าเพิ่มความรู้สึกพริ้วไหว และอ่อนนุ่ม เพิ่มควาโดดเด่นด้วยสีสันที่หรูหรา และรูปทรงที่แปลกตามไม่เหมือนใคร ทำให้ดูงดูดสายาตาให้เข้ามาสัมผัส ดั่งต้องมนต์สะกด
ผลงาน “Light Shine”
ชื่อนักศึกษา พ.อ.ท.พิษณุ เอมโอช
คอนเซ็ป เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่นำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์ผลงานที่นำเอาหลอดไฟมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากความสว่างของแสงไป ส่วนคำว่า Light Shine แปลว่าแสงสว่าง
ผลงาน “So Cool”
ชื่อนักศึกษา นายดนุพล ขุ่ยอาภัย
คอนเซ็ป So cool ได้มาจากคำว่า (So=sofa) + (Cool=ความเย็นของตู้เย็น) เมื่อนำมารวมกันกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และ So cool ยังมีอีกความหมายคือ เจ๋ง, สุดยอด จึงเป็นโซฟารูปแบบใหม่ที่สวยงาม แปลกใหม่ สะดุดตา
So cool เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นำเอาตู้เย็นที่ไม่สามารถใช้ได้แล้วนำมาประยุกต์ ตกแต่ง ดัดแปลง ให้เป็นโซฟาที่เต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอย พร้อมตกแต่งด้วยการนำเอาช่องเก็บอาหารนำมาเลี้ยงปลาสวยงาม ส่วนบริเวณพื้นที่นั่งนำวัสดุได้มาประดับตกแต่ง ด้วยไม้ตะเคียนทอง โดยมีการบุผ้ามาเป็นส่วนประกอบบริเวณพื้นที่นั่ง และด้านข้าง, ด้านหลัง เป็นชั้นวางหนังสือและเก็บของได้เอนกประสงค์
ผลงาน “Solo”
ชื่อนักศึกษา นายประเทือง สาปคำ
คอนเซ็ป Solo คือท่อนหนึ่งของเพลงที่เรียกว่าได้เป็นท่อนเด็ดที่หลายคนคอยฟังเพราะท่อน Solo จะมีความโดดเด่นน่าสนใจ เป็นท่อนที่รวมอารมณ์เพลงทั้งหมดไว้เปรียบเสมือนผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้มีความโดดเด่นน่าสนใจ Solo ได้รับแรงบันดาลใจจากตัวโน๊ต 5 เส้น นำมาประยุกต์ใช้กับวัสดุที่ไม่ใช้ประโยชน์อย่างโลหะ สายยาง พลาสติก นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพักผ่อน Style modern ทำให้สวยงามด้วยสีของสแตนเลส ดูโดดเด่นน่าสนใจ เหมือนกับท่อน Solo ของบทเพลงอันไพเราะไม่มีผิดเพี้ยน
ผลงาน “Sofa”
ชื่อนักศึกษา นายยลระบิล นุตตะลพ
คอนเซ็ป กบ คือ กระจกสะท้อนถึงสภาพแวดล้อมบริเวณที่มันอาศัยอยู่ ถ้าหากบริเวณนั้นมีกบตายมากหรือมีกบที่มีรูปร่างแปลกไปจากเดิมก็แปลว่า บริเวณนั้นมีสภาพแวดล้อมที่แย่แล้ว ผู้ออกแบบจึงอยากให้ทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมจึงได้นำกบมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้
Sofa ทำมาจากเศษไม้ เพราะไม่ต้องการให้มีการตัดไม้ทำลายป่า sofa มีจุดเด่นตรงสีสันที่ใช้ผ้าลายสก็อตที่มีความยสวยงามในตัวเอง sofa เป็นผลิตภัณฑ์ที่แฝงถึงความรู้สึกอยากให้ทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
ผลงาน “Recharge”
ชื่อนักศึกษา นายบุณลทอ เนียมรินทร์
คอนเซ็ป ถังน้ำมัน คือ วัสดุที่ใช้บรรจุเชื้อเพลิง เพื่อใช้เติมพลังงานให้กับเครื่องจักร เมื่อใช้งานถังนั้นจนผุพังก็หมดประโยชน์ไป แต่ถ้าเรานำกลับมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้สำหรับพักผ่อน ถังใบนี้ก็สามาถเติมพลังให้กับเราได้ Recharge เป็นผลิตภัณฑ์ Style modern ใช้หนังสีขาวเพื่อให้รู้สึกสบายตาน่าสัมผัสใช้วัสดุ Recycle เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
สำหรับผู้ที่สนใจชิ้นงานการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของนักศึกษาออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0-5388-5555 ต่อ สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุกวันทำการ ตั้งแต่เวลา 08.30 — 16.30 น.
สิริรัตน์ จันทร์พิลา (เก็ท) แผนกประชาสัมพันธ์ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
โทร. 0-2667-5555 ต่อ 4114 / 08-1531-8787 โทรสาร 0-2264-5575 Call Center 0-2635-1111
E-Mail: jusirirat@cpn.co.th / pr.ho@cpn.co.th Website: www.centralplaza.co.th.