เมืองต่างๆ จะตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะได้รับโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉิน

ข่าวเทคโนโลยี Friday January 15, 2010 10:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ม.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ในอีก 5 ปีข้างหน้า เมืองต่างๆ จะสามารถป้องกันอาชญากรรมและภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ด้วยประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ในการตรวจจับและคาดการณ์เกี่ยวกับภัยคุกคามและเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น: การรักษาความสงบเรียบร้อยโดยอาศัยการคาดการณ์ล่วงหน้า ? ปัจจุบัน กรมตำรวจประจำเมืองเอ็ดมอนตัน ประเทศแคนาดา (Edmonton Police Services) ใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจของไอบีเอ็ม เพื่อช่วยลดจำนวนอาชญากรรม เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน และความปลอดภัยให้แก่ประชาชน ? ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับไอบีเอ็ม หน่วยงานดังกล่าวฯ ใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อดูข้อมูลที่ใกล้เคียงเวลาจริงหรือเกือบจะเป็นข้อมูลเรียลไทม์ และส่งข้อมูลเรื่องอาชญากรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่กำลังออกตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยโดยตรง หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็จะสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อระบุปัญหา แนวโน้มที่เกี่ยวข้อง และสถานที่เกิดอาชญากรรม เพื่อหาวิธีรับมือและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ? นอกจากนี้ หน่วยงานดังกล่าวยังสามารถประเมินผลและตรวจสอบระยะเวลาในการตอบสนองเมื่อได้รับการแจ้งเหตุ เช่น ความล่าช้าในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปยังสถานที่เกิดเหตุ และระยะเวลาเดินทาง เพื่อระบุปัญหาที่มีผลกระทบต่อเวลาที่ใช้การตอบสนองโดยรวม ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ จะช่วยให้ตำรวจสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานในระยะยาว รวมถึงผลการปฏิบัติงานในแต่ละวันเพื่อหาทางปรับปรุงการทำงานให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพดีขึ้นอีกด้วย ? โซลูชั่นการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยอาศัยการคาดการณ์ล่วงหน้า (Predictive Policing) เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรม ได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เพราะเป็นแนวทางใหม่ที่จะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่หน่วยลาดตระเวนสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลประวัติที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น การกระทำความผิด การจับกุม และบันทึกการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย เพื่อระบุแบบแผนและอัตราการเกิดอาชญากรรมได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น การเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็วนี้เอง ช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น และทำการตัดสินใจได้อย่างทันท่วงทีเพื่อรับมือกับอาชญากรรมทุกรูปแบบ ? ระบบวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมของไอบีเอ็มช่วยให้หน่วยงานตำรวจได้รับข้อมูลที่ถูกต้องภายในเวลาที่เหมาะสม แม้กระทั่งก่อนที่จะมีการก่ออาชญากรรมเสียอีก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาในพื้นที่สามารถดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อรับมือกับแนวโน้มและปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่การก่ออาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบดับเพลิงอัจฉริยะ - FDNY ? หน่วยดับเพลิงแห่งนครนิวยอร์ก (Fire Department of the City of New York - FDNY) ได้ไว้วางใจให้ไอบีเอ็มช่วยพัฒนาระบบที่ทันสมัยสำหรับการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลร่วมกันในแบบเรียลไทม์ เพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ และคุ้มครองเจ้าหน้าที่ดับเพลิง รวมถึงเจ้าหน้าที่หน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยอื่นๆ เมื่อมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น ? ระบบวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบอาคาร (Coordinated Building Inspection and Data Analysis System - CBIDAS) ของ FDNY จะใช้เทคโนโลยีบิสซิเนส อินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence) รวมถึงการสร้างแบบจำลองการคาดการณ์ และระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับความเสี่ยงของอัคคีภัย และช่วยวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงกระบวนการที่ช่วยลดความเสี่ยง เช่น การเก็บรวบรวมและการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบอาคาร ใบอนุญาต และการทำผิดกฏหมายในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น ? โครงการนี้ ช่วยปรับปรุงการติดต่อสื่อสาร การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการประสานงานเกี่ยวกับการตรวจสอบเพลิงไหม้ และข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร/สถานที่เกิดเหตุ ภายในแผนกต่างๆ ของ FDNY รวมทั้งระหว่าง FDNY กับหน่วยงานอื่นๆ ในนครนิวยอร์ก เช่น หน่วยงานโยธา หน่วยงานผังเมือง และหน่วยงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น ? โครงการปฏิรูปหน่วยงาน FDNY จะช่วยปรับปรุงความสามารถในการป้องกันอัคคีภัย โดยอาศัยการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับอาคารสถานที่อย่างครบวงจร การปรับปรุงการใช้ทรัพยากรเพื่อการตรวจสอบ การวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดการและการวางแผนเกี่ยวกับความพร้อม รวมถึงระบบตรวจสอบความเสี่ยงสำหรับการตรวจสอบในภาคสนาม ระบบดับเพลิงอัจฉริยะ — การรับมือกับไฟป่า (Smart Firefighting — Forest Fires) ? ศูนย์ประสานงานด้านอัคคีภัยแห่งชาติของสหรัฐฯ (U.S. National Interagency Fire Center) ระบุว่า ไฟป่าเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายอย่างมากต่ออาคารพาณิชย์ บ้านพักอาศัย และประชาชน เฉพาะในปี 2552 ที่ผ่านมา มีไฟป่าเกิดขึ้นกว่า 76,000 ครั้ง และเผาผลาญพื้นที่ป่าไปประมาณ 5.8 ล้านเอเคอร์ ? รายงานตรวจสอบอัคคีภัยประจำปี 2552 ของหน่วยงานดังกล่าวชี้ว่า ภัยคุกคามจากไฟป่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาวะที่แห้งแล้งมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ? ไอบีเอ็มทำงานร่วมกับนักวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อประมวลผลข้อมูลสำหรับการคาดการณ์ทางด้านไฟป่า โดยลดการถ่วงเวลา (Delay) จากเดิมที่มีการประมวลผลทุกๆ 6 ชั่วโมง ให้สามารถประมวลผลได้ในแบบเรียลไทม์ในปัจจุบัน ซึ่งความสามารถดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถควบคุมเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังช่วยปรับปรุงการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการอพยพประชาชนและการแจ้งเตือนเรื่องสุขภาพได้อีกด้วย ? นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ บัลติมอร์ เคาน์ตี้ (University of Maryland, Baltimore County - UMBC) ใช้เทคโนโลยีของไอบีเอ็มเพื่อวิเคราะห์รูปแบบของควันไฟในระหว่างที่เกิดไฟไหม้ป่า เป้าหมายของงานวิจัยนี้ทำขึ้นคือ เพื่อให้เจ้าหน้าที่หน่วยดับเพลิงและหน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยสามารถประเมินเหตุเพลิงไหม้ได้ในแบบเรียลไทม์ และช่วยให้การตัดสินใจทำได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการอพยพประชาชนและการแจ้งเตือนเรื่องสุขภาพ ? นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังได้ร่วมมือกับกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาระบบที่ใช้ในการวางแผนรับมืออัคคีภัย การจัดสรรงบประมาณสำหรับหน่วยงาน 5 แห่งที่ดูแลเรื่องไฟป่าทั่วประเทศ โครงการวิเคราะห์ข้อมูลไฟป่า (Fire Program Analysis - FPA) ดังกล่าวนี้ช่วยให้กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร, สำนักงานจัดการที่ดิน กระทรวงมหาดไทย, กรมอุทยานแห่งชาติ, กรมประมงและสัตว์ป่า และสำนักงานกิจการของชนเผ่าอินเดียนแดง มีระบบที่ใช้งานร่วมกันสำหรับการวิเคราะห์ วางแผน และจัดสรรงบประมาณเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับไฟป่า ? ระบบใหม่นี้ช่วยแสดงทางเลือกในการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด (เช่น รถดับเพลิง เรือดับเพลิง เฮลิคอปเตอร์ ฯลฯ) สำหรับการดับไฟป่า รวมถึงการคำนวณจำนวนพื้นที่ที่สามารถคุ้มครองหรือปรับปรุงที่มีผลจากไฟป่า ภายใต้งบประมาณที่แตกต่างกันได้อีกด้วย ระบบควบคุมอุทกภัยแบบอัจฉริยะ (Smart Flood Control) ? ความเสียหายจากอุทกภัยในปัจจุบันจะกลายเป็นอดีต เพราะเมืองต่างๆ ในอนาคตจะพัฒนาระบบตรวจสอบและแจ้งเตือนเกี่ยวกับเขื่อนเพื่อกันน้ำท่วม ซึ่งครอบคลุมระบบที่ทำงานระยะไกลในแบบเรียลไทม์ ? เซนเซอร์อัจฉริยะจะถูกติดตั้งบนเขื่อนกันน้ำท่วมตลอดแนวชายฝั่งและแม่น้ำลำคลอง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยในการคาดการณ์และป้องกันก่อนที่อุทกภัยจะเกิดขึ้น ? กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลและที่ราบลุ่มแม่น้ำมีความเสี่ยงสูงที่จะประสบเหตุอุทกภัยกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภายใน เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นและสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ทั้งนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เช่น 40 สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และจีน ในปัจจุบัน ต้องรับมือกับภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นจากคลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surge), น้ำล้นตลิ่ง และช่วงเวลาที่มีฝนตกหนัก ? ศูนย์จัดการน้ำระดับโลก (Global Center for Water Management) ของไอบีเอ็ม ซึ่งตั้งอยู่ที่นครอัมสเตอร์ดัม กำลังบุกเบิกการใช้เซนเซอร์เพื่อตรวจสอบสภาวะของเขื่อนกันน้ำท่วมในแบบเรียลไทม์ ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการดำเนินโครงการในลักษณะดังกล่าว ? ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ในโครงการดังกล่าว มีการทดลองโดยการพังเขื่อนกันน้ำภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดเพื่อวัดค่าในด้านต่าง ๆ ถึง 32 ล้านรายการ โดยกิจกรรมดังกล่าวทำขึ้นโดยครอบคลุมการวัดแรงดันน้ำ อุณหภูมิ และความเคลื่อนไหว และช่วยเพิ่มความสามารถในการคาดการณ์ว่าเขื่อนกันน้ำท่วมจะสามารถรับแรงดันได้มากเท่าใดก่อนที่จะพังทลาย ซี่งประโยชน์ที่ได้จากการทดลองดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดหรือป้องกันความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในอนาคตได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ