กรุงเทพฯ--15 ม.ค.--ศรีปทุมโพล
“ศรีปทุมโพล” โดยสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร หัวข้อ “การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการรับข่าวสาร” จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,000 คน ซึ่ง ดร.ปิยากร หวังมหาพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้สรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่มีวันหยุดพักผ่อนคือวันเสาร์และวันอาทิตย์ ร้อยละ44.50 รองลงมา คือ วันอาทิตย์ ร้อยละ 24.00, ไม่มีวันใดเป็นวันหยุด ร้อยละ 11.27, วันใดวันหนึ่งหรือหลายวันในระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ร้อยละ 10.07, วันเสาร์ ร้อยละ 9.20 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.97
ในวันจันทร์ถึงศุกร์ ท่านรับข่าวสารจากสื่ออะไรมากกว่าสื่ออื่นๆ ประชาชนให้ความเห็นว่ารับข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ มากที่สุด ร้อยละ 40.80 รองลงมา คือ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 15.57, โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ มากกว่าวิทยุ ร้อยละ 13.07, เว็บไซต์ ร้อยละ 7.97, โทรทัศน์และ เว็บไซต์ มากกว่าหนังสือพิมพ์และวิทยุ ร้อยละ 7.37, วิทยุ ร้อยละ 6.53, ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 5.73, หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ มากกว่าโทรทัศน์และวิทยุ ร้อยละ 1.97 และไม่รับข่าวสารจากสื่อใดเลย ร้อยละ 1.00 ส่วนสาเหตุที่เลือกสื่อดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า เพราะสะดวก ร้อยละ 49.47, รวดเร็ว ร้อยละ 10.07, เข้าใจง่าย ร้อยละ 9.47, ราคาถูก(ฟรี) ร้อยละ 9.23, ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 7.93, ใช้เวลาน้อย ร้อยละ 6.33, ได้ข้อเท็จจริง ร้อยละ 4.73, อ้างอิงได้ ร้อยละ 1.53 และตรวจสอบได้ ร้อยละ 1.23
กรณีที่เป็นวันเสาร์และอาทิตย์ ท่านรับข่าวสารจากสื่ออะไรมากกว่าสื่ออื่นๆ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกรับข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 54.63 รองลงมา คือ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 12.00, โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์มากกว่าวิทยุ ร้อยละ 10.27, โทรทัศน์และเว็บไซต์มากกว่าหนังสือพิมพ์และวิทยุ ร้อยละ 6.33, เว็บไซต์ ร้อยละ 5.73, วิทยุ ร้อยละ 5.13, ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 3.30, หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ มากกว่าโทรทัศน์และวิทยุ ร้อยละ 1.37 และไม่รับข่าวสารจากสื่อใดเลย ร้อยละ 1.23 ส่วนสาเหตุที่เลือกสื่อดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าสะดวก ร้อยละ 48.27 รองลงมา คือ เข้าใจง่าย ร้อยละ 11.40 และ รวดเร็ว ร้อยละ 11.40, ราคาถูก(ฟรี) ร้อยละ 8.47, ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 6.30, ใช้เวลาน้อย ร้อยละ 5.87, ได้ข้อเท็จจริง ร้อยละ 5.50, ตรวจสอบได้ ร้อยละ 1.67 และ อ้างอิงได้ ร้อยละ 1.13
เมื่อถามถึงการติดตามข่าวของหนังสือพิมพ์ที่ปรากฏจากสื่อใดเป็นหลัก ประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่าติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์จากรายการเล่าข่าวทางทีวี เช่น เรื่องเล่าเช้านี้ มากที่สุด ร้อยละ 31.33 รองลงมา คือ อ่านจากหนังสือพิมพ์โดยตรง ร้อยละ 22.27, หนังสือพิมพ์และรายการเล่าข่าวทางโทรทัศน์ ร้อยละ 18.03, รายการเล่าข่าวทางวิทยุ เช่น ข่าวเด่นประเด็นร้อน เก็บตกจากเนชั่น ร้อยละ 6.73, เว็บไซต์ ร้อยละ 5.87, เว็บไซต์และรายการเล่าข่าวทางโทรทัศน์ ร้อยละ 5.50, หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ ร้อยละ 3.93, หนังสือพิมพ์และรายการเล่าข่าวทางวิทยุ ร้อยละ 3.83, ไม่ได้ติดตามข่าวจากสื่อใดเลย (หากตอบข้อนี้หยุดการสัมภาษณ์) ร้อยละ 2.43 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.07 ส่วนสาเหตุที่เลือกสื่อดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าสะดวก มากที่สุด ร้อยละ 39.57 รองลงมา คือ เข้าใจง่าย ร้อยละ 14.77, ราคาถูก (ฟรี) ร้อยละ 11.07, ได้ข้อเท็จจริง ร้อยละ 9.47, รวดเร็ว ร้อยละ 8.60, ใช้เวลาน้อย ร้อยละ 5.67, ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 4.83, อ้างอิงได้ ร้อยละ 3.30 และ ตรวจสอบได้ ร้อยละ 2.73
สำหรับความถี่ในการอ่านหนังสือพิมพ์ (ที่เป็นกระดาษ) ประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่าอ่านทุกวันที่มีโอกาส ร้อยละ 38.97 รองลงมา คือ อ่านทุกวัน ร้อยละ 19.90, ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ร้อยละ 12.27, ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ร้อยละ 8.50, ไม่อ่านเลย ร้อยละ 8.27, ทุกวันอาทิตย์ ร้อยละ 4.97, ทุกวันเสาร์ ร้อยละ 3.47, ทุกวันหลังวันผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล ร้อยละ 1.87 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 1.80
ส่วนสถานที่ที่อ่านหนังสือพิมพ์ (ที่เป็นกระดาษ) เป็นประจำ ประชาชนส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามจะอ่านที่บ้าน ร้อยละ 24.00 รองลงมา คือ ที่ทำงานหรือสถานศึกษา ร้อยละ 19.27, ที่บ้านและที่ทำงานหรือสถานศึกษา ร้อยละ 15.57, ที่ร้านอาหาร ร้อยละ 11.63, ที่บ้านหรือที่ร้านอาหาร ร้อยละ 10.10, ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 10.07 และที่ทำงานหรือสถานศึกษาและที่ร้านอาหาร ร้อยละ 9.37
เมื่อถามถึงในหนึ่งสัปดาห์อ่านหนังสือพิมพ์ (ที่เป็นกระดาษ)ในวันใดมากที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่าอ่านทุกๆ วัน เท่าๆ กัน ร้อยละ 24.03 รองลงมา คือ เท่าๆ กัน ทุกๆ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ แต่มากกว่าวันเสาร์และวันอาทิตย์ ร้อยละ 18.57, วันอาทิตย์ ร้อยละ 13.53, เท่าๆ กัน ทุกๆ วันเสาร์และวันอาทิตย์ แต่มากกว่าวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ร้อยละ 11.73, ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 9.30, วันจันทร์ ร้อยละ8.13, วันเสาร์ ร้อยละ 7.67 และวันใดวันหนึ่งในวันอังคาร ถึงวันศุกร์ที่อ่านมากกว่าวันอื่นๆ ร้อยละ 7.03
ด้านดร.จินตวีร์ เกษมศุข หัวหน้าภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า โดยปกติแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่มักจะมีวันหยุดพักผ่อนตามปกติ คือ วันเสาร์และวันอาทิตย์ ซึ่งในวันหยุดพักผ่อนนี้ก็มักจะรับข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ ด้วยเหตุเพราะว่า สะดวกและรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ประชาชนหันมารับข่าวสารที่แต่เดิมอาจจะอ่านจากหนังสือพิมพ์มาเป็นการรับข่าวสารผ่านทางรายการเล่าข่าวทางโทรทัศน์ เช่น รายการเรื่องเล่าเช้านี้ หรือรายการข่าวทางวิทยุ และเว็บไซต์มากขึ้น รวมแล้วกว่าร้อยละ 77.73 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 22.27 ก็ยังคงอ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์เช่นเคย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประชาชนจำนวนไม่น้อยเลยที่เลือกรับข่าวสารโดยผ่านสื่อต่างๆ ที่ไม่ใช่การอ่านจากหน้าหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะว่า มีความสะดวก เข้าใจง่าย ทั้งยังไม่ต้องอ่านข่าวเอง ได้อรรถรสในการฟัง ให้ความตื่นเต้นเร้าใจ รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือพิมพ์อีกด้วย ซึ่งผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ประชาชนที่ยังอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวันนั้นมีเพียงร้อยละ 19.90 นอกน
นจะอ่านเมื่อมีโอกาส แต่ไม่ได้อ่านเป็นประจำ โดยส่วนมากจะอ่านที่บ้านมีเพียงร้อยละ 24.00 แสดงให้เห็นว่า ต้องการความสะดวกสบายในการรับข่าวสาร หากแต่กลุ่มคนส่วนมากมักจะหันไปอ่านหนังสือพิมพ์ตามสถานที่ทำงาน สถานศึกษา ร้านอาหาร แทนการซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่านเองที่บ้าน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกลุ่มคนเหล่านี้น่าจะไม่มีเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ที่บ้านมากนัก เนื่องจากต้องออกจากบ้านเพื่อไปเรียน ทำงาน หรือทำกิจธุระอื่นนอกบ้าน จึงเลือกที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ที่มีไว้ให้บริการตามสถานที่ต่างๆ ดังกล่าว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0845817766 ธัญญากร สวยรูป