กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา โปรแกรม วิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้จัดกิจกรรมชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวน สามารถมองเห็น ได้เป็นบางส่วน ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีรองศาสตราจารย์สะอาดศรี คงนิล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน เป็นประธานเปิด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไทยปัญญาจันปุ่ม ประธานโปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นผู้กล่าวรายงาน หลังจากประธานกล่าวเปิดงาน จึงเป็นการ บรรยายพิเศษเกี่ยวกับปรากฏการณ์สุริยุปราคา โดย ดร.พัฒนพงษ์ จำรัสประเสริฐ ซึ่งนอกจากการบรรยายให้ความรู้แล้ว ทางโปรแกรมวิชา ฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ยังได้จัดเตรียมอุปกรณ์ในการรับชม อย่างปลอดภัยไว้ให้กับผู้ร่วมกิจกรรม อาทิ แว่นตาสุริยะ กล้องโทรทรรศน์ ด้วยวิธีฉากรับภาพ กล้องรูเข็ม กระจกสะท้อนแสง และได้จัด ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการถ่ายภาพอย่างถูกวิธี สำหรับผู้ที่สนใจและ ต้องการถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งได้รับความ สนใจจากนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็น จำนวนมาก
การเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งเดียวในรอบปีที่สามารถ มองเห็นได้ในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเส้นทาง คราสวงแหวน แต่อยู่ในเขตที่สามารถสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนได้โดย ภาคเหนือเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด การเกิดสุริยุปราคา วงแหวนยาวนานถึง 11 นาที 8 วินาที คราสวงแหวนไปสิ้นสุดบริเวณ แหลมชานตงที่ยื่นออกสู่ทะเลเหลืองในเวลา 15.59 น. ที่กึ่งกลางเห็น สุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน 7 นาที 12 วินาที จากนั้นเงามัวของดวงจันทร์จะหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 17.08 น. ในประเทศจีน นับเป็นจุดสิ้นสุดของสุริยุปราคาในครั้งนี้ บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย แอฟริกา บางส่วนทางตะวันออก ของยุโรป มหาสมุทรอินเดีย สำหรับ ประเทศไทย บริเวณภูเก็ตเป็นจุดที่เริ่ม เห็นสุริยุปราคาเป็นที่แรก ภาคเหนือ ตอนบนเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่า ภาคอื่น ๆ และเป็นจุดสุดท้ายที่เงามัว ของดวงจันทร์พาดผ่านดวงอาทิตย์ที่ มองเห็นได้จากที่ต่าง ๆ ขณะดวงจันทร์ เข้าบังเต็มที่ สุริยุปราคาในประเทศไทย ครั้งต่อไปจะเกิดขณะดวงอาทิตย์ ขึ้นในเช้าวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 แต่ดวงอาทิตย์แหว่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และอาจมีอุปสรรคจากเมฆ หลังจากนั้น จะว่างเว้นไปนานถึง 4 ปี กว่าจะเกิด สุริยุปราคาในประเทศไทยอีกครั้งใน วันที่ 9 มีนาคม 2559 ดังนั้นสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 จึงเป็นโอกาส สำหรับการสังเกตสุริยุปราคาที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยตลอดระยะเวลา 6 ปีข้างหน้า
กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาและผู้ร่วม กิจกรรมได้ชมปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หาชมได้ยาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ มีประโยชน์ต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม อันจะมี ผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน