กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน
โครงการประกวดจิตรกรรมระดับอุดมศึกษา
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
เกี่ยวกับช้างไทย
ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ความเป็นมา
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงตระหนักว่า ช้างนั้นเป็นสัตว์ที่มีคุณแก่แผ่นดินตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ทรงสนพระทัยโครงการอนุรักษ์ช้างไทยและทรงพระกรุณาพระราชทานความช่วยเหลือช้างไทยในหลายโอกาส เช่น เสด็จทอดพระเนตรการแสดงช้างและเป็นประธานในพิธีสู่ขวัญช้าง ในโอกาสเดียวกันได้พระราชทานชื่อ“จุฑานันท์” ให้แก่ช้างพังพระธิดาและพระราชทานแผ่นทองคำสลักพระนามหนึ่งสลึงพร้อมทั้งกระดึงผูกคอให้แก่ช้างพังพระธิดาเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาได้พระราชทานชื่อ“วนาลี” และ “อลีนา” ให้แก่ลูกช้าง กับทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ ทรงส่งเงินอุดหนุนเป็นประจำทุกเดือน และทรงตรวจรายงานการเจริญเติบโตอย่างสนพระทัย ตลอดจนทรงเยี่ยมชมกิจการด้านต่างๆของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย และพระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสวัสดิการของควาญช้าง
เมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จสิ้นพระชนม์ ก็ยังความวิปโยคโศกอาดูรยิ่งต่อประชาชนชาวไทย แม้วันวารผ่านล่วงไป ก็หาควรที่จะลืมพระกรุณาธิคุณอันมีในพระองค์และละจากความประสงค์ที่จะเฉลิมพระเกียรติคุณ วิยุลยศให้ปรากฏไว้ในแผ่นดินไม่ ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน จึงจัดโครงการประกวดจิตรกรรมระดับอุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เกี่ยวกับช้างไทย ขึ้น เพื่อระลึกถึงพระกรุณาธิคุณและเป็นประจักษ์พยาน แห่งความจงรักภักดีไม่มีประมาณของพสกนิกรไทย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศสำหรับการประกวดดังกล่าว
กิจกรรมในโครงการ
- แถลงข่าวประชาสัมพันธ์โครงการฯ ณ กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๓
- เปิดรับผลงานจิตรกรรมเยาวชน วันที่ ๒๖ - ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๓
- ตัดสินการประกวดฯ วันที่ ๒๙ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓
- ประกาศผลการตัดสิน วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓
- จัดแสดงนิทรรศการและพระราชทานรางวัล วันที่ ๒๙ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ณ Hall of Mirrors ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน
แนวคิด
แสดงให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติของไทยและแสดงให้เห็นถึงบทบาท ความสำคัญของช้าง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย นอกจากนี้ควรแสดงให้เห็นถึงพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อันเนื่องด้วยการอนุรักษ์ช้างไทย
ข้อกำหนดของงานจิตรกรรม
- เป็นภาพเขียนที่มีแนวเรื่องตามที่กำหนดในแนวคิด โดยใช้สีน้ำมันหรือสีอะคิริก ขนาดของผลงาน ๕๐ X ๖๐ เซนติเมตร โดยไม่ต้องใส่กรอบ
- เป็นภาพที่ใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ทั้งในส่วน บุคคล สถานที่และส่วนประกอบร่วม
- ให้เจ้าของผลงานกำหนดราคาธุรกิจ(สำหรับนำรายได้สมทบการกุศล)และเขียนอธิบายแนวความคิดสร้างสรรค์ของผู้ส่งผลงาน
- เป็นผลงานจิตรกรรมที่ไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวด ณ ที่อื่นใดมาก่อน มิฉะนั้นจะถูกเพิกถอน สิทธิ์การประกวด
- ผลงานที่ได้รับรางวัลทุกประเภทถือเป็นกรรมสิทธิ์ของชมรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน
ผู้มีสิทธิส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด
นิสิต นักศึกษา ซึ่งศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องและ/หรือมีความรู้ความสามารถทางจิตรกรรม โดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับรอง(กรณีส่งในนามสถาบัน)หรือผู้ปกครองเป็นผู้รับรอง(กรณีส่งด้วยตนเอง)
ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ต้องมีอายุไม่เกิน ๒๕ ปี
การส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด
- ส่งงานได้คนละไม่เกิน ๒ ชิ้นงาน พร้อมแนบใบแสดงความจำนงและสำเนาบัตรนักศึกษาหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมลงนามรับรองสำเนา
- ติดต่อส่งงานได้ ณ ศูนย์หอศิลป์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เลขที่ ๖๖๖ อาคารธนาลงกรณ์ ชั้น ๑๗ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ ภายในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๓
- การส่งและรับผลงานเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของผลงาน
การคัดเลือกและการตัดสิน
- การตัดสินของคณะกรรมการตัดสิน ถือว่าเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้
- คณะกรรมการตัดสิน ทรงสิทธิ์ในการคัดเลือกผลงานที่เหมาะสมและมีคุณภาพ เพื่อรับรางวัล และเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการ
- คณะกรรมการตัดสิน ทรงสิทธิ์ในการงดหรือเพิ่มรางวัลใดรางวัลหนึ่งได้
- ผลการตัดสินรอบสุดท้ายจะประกาศให้เจ้าของผลงานและสถานศึกษาทราบโดยตรงและประกาศ ผ่านทางเวบไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม www.ocac.go.th และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา www.mua.go.th ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓
- กรณีที่ไม่ได้รับรางวัลและเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการให้เจ้าของผลงานมารับผลงานคืน ณ ศูนย์หอศิลป์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เลขที่ ๖๖๖ อาคาร- ธนาลงกรณ์ ชั้น ๑๗ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓
- ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐๘๕ — ๒๗๗๗๔๑๑ , ๐๘๖ — ๖๖๙๙๙๔๔ หรือทาง p92184@live.com
รางวัล
ลำดับ รางวั ล เกียรติบัตร เงินรางวัล
ชนะเลิศ เข้าเฝ้าฯรับถ้วยรางวัลพระราชทาน / ๓๐,๐๐๐.-
รองชนะเลิศ อันดับ ๑ เข้าเฝ้าฯรับโล่รางวัล / ๒๐,๐๐๐.-
รองชนะเลิศ อันดับ ๒ เข้าเฝ้าฯรับโล่รางวัล / ๑๐,๐๐๐.-
รางวัลชมเชย ๑๒ รางวัล ----- / รางวัลละ๕,๐๐๐.-
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
๑. ฯพณฯ พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี
๒. นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
๓. นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
๔. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๕. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
๖. นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๗. นายอภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
๘. นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๙. นางปริศนา พงศ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
๑๐. นายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๑. นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ประธานมูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง
คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน
๑. คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน
๒. นายจิระ ศิริสัมพันธ์ รองประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน
๓. ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง รองประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน
๔. หม่อมราชวงศ์สุพินดา จักรพันธุ์ ที่ปรึกษา
๕. นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช ที่ปรึกษา
๖. พลตรีหญิงกุมาริกา วีระมงคล ที่ปรึกษา
๗. นางรุจิรา สุนทรมัฏฐ์ เพชรชู ที่ปรึกษา
๘. นางจิรายุ สุวรรณภักดี ที่ปรึกษา
๙. นายกวิภัฏ วสุวานิช ที่ปรึกษา
คณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ
๑. ท่านผู้หญิงเพ็ญศรี วัชโรทัย ประธานคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ
๒. ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๒
สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
๓. นายสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ที่ปรึกษาการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
กระทรวงวัฒนธรรม
๔. นายพิพัฒน์ ช้ำเกตุ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ
สถาบันวัฒนธรรมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๕. นายภานุพงศ์ เงาะลำดวน คณะกรรมการชมรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน
๖. นายวิศเวศ วัฒนสุข ศิลปินโครงการศิลปกรรมพระประวัติและพระกรณียกิจ
๗. ผู้แทนสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ
ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน