ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จัดลำดับความสำคัญการลงทุน ด้านระบบจัดเก็บข้อมูลในปี 2553

ข่าวเทคโนโลยี Monday January 18, 2010 11:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--คอร์แอนด์พีค ระบบเสมือนจริง ระบบจัดเก็บข้อมูล และระบบความปลอดภัย ถือเป็นวาระสำคัญด้านไอทีของประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT) และเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบการจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการ (Services Oriented Storage Solutions) เพียงรายเดียว เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญสูงสุดในการลงทุนด้านระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในปี 2553 “ดาต้า เซ็นเตอร์เสมือนจริง ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ และระบบความปลอดภัยของข้อมูล ยังคงเป็นลำดับความสำคัญสูงสุดในประเทศไทย เนื่องจากบริษัทต่างๆ กำลังค้นหาแนวทางที่จะผลักดันให้เกิดการได้เปรียบด้านการแข่งขัน โดยที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เชื่อว่าบทบาทของเราคือการช่วยลูกค้าให้สามารถสร้างโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างธุรกิจในปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบปรับเพิ่มขนาดได้และการกระจายโหลดการทำงานเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต” นายวัชรสิทธิ์ สันติสุขนิรันดร์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว ลำดับความสำคัญของการลงทุนด้านระบบจัดเก็บข้อมูลในปี 2553 - ดาต้า เซ็นเตอร์ เสมือนจริง (Data Center Virtualization): ระบบเสมือนจริงเป็นตัวช่วยที่สำคัญของดาต้า เซ็นเตอร์ ที่เต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ในอนาคต ในปี 2552 เราได้เห็นแนวโน้มของระบบจัดเก็บข้อมูลแบบโมดูลที่มีต้นทุนลดลงด้วยการกระจายโหลดการทำงานผ่านเทคโนโลยีสวิตช์ อย่าง Ethernet หรือ RapidIO อีกทั้งยังพบด้วยว่าข้อด้อยของระบบจัดเก็บข้อมูลแบบโมดูลที่กระจายโหลดการทำงานคือการที่ไม่สามารถเพิ่มขนาดได้ ในปี 2553 เราคาดว่า จะเกิดความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีความสามารถทั้งด้านการปรับเพิ่มขนาดได้และการกระจายโหลดการทำงานได้ตามความต้องการด้านประสิทธิภาพและความจุ สิ่งนี้จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเครือข่าย หน่วยประมวลผล และระบบปฏิบัติการเสมือนจริงที่เร็วขึ้น เช่น VMware และ Hyper V - ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ (Cloud Storage): การประมวลผลแบบคลาวด์มักจะถูกใช้เป็นภาพพจน์เชิงเปรียบเทียบของอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์จะปกปิดความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานไอทีและทำให้สามารถเข้าถึงความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของบริการ "โตเท่าใดจ่ายเท่านั้น" (a pay as you grow) ได้ ระบบคลาวด์ดังกล่าวจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2553 โดยที่ผู้สร้างระบบคลาวด์ในองค์กรและผู้ให้บริการระบบคลาวด์สาธารณะจะให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องไปที่ด้านความยืดหยุ่น ความน่าเชื่อถือ การแบ่งปันทรัพยากรสำหรับผู้ใช้ จำนวนมาก (multi-tenancy) และความปลอดภัย เราคาดว่าการนำระบบจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์มาใช้จะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากความสามารถหลักๆ เช่น ความปลอดภัย การแบ่งปันทรัพยากรสำหรับผู้ใช้จำนวนมาก และโมเดลการชำระค่าบริการ - ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบแบ่งระดับชั้นอัตโนมัติ (Automated Tiered Storage): องค์กรด้านไอทีจำนวนมากกำลังก้าวเข้าสู่ระบบการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลแบบแบ่งระดับชั้นอัตโนมัติตามนโยบายด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจขณะที่ยังคงต้องรักษาวัตถุประสงค์ของระดับการให้บริการสำหรับธุรกิจไว้ให้ได้ด้วย การรวมการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลแบบแบ่งระดับชั้นอัตโนมัติเข้ากับระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงและการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ (thin provisioning) แบบไดนามิก จะช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งด้านเงินทุนและการดำเนินงานได้อย่างมาก - การนำการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในลักษณะไดนามิกมาใช้งานมากขึ้น (Greater Adoption of Dynamic (thin) Provisioning) : เครื่องมือที่ดีที่สุดในการลดต้นทุนการดำเนินงานก็คือการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลักษณะแบบไดนามิก จะเห็นได้ว่าการจัดสรรพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะสามารถจัดการกับความเปล่าประโยชน์ของพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรไว้แต่ไม่ได้ใช้งาน ลดต้นทุนการย้ายและคัดลอกข้อมูลขนาดใหญ่ (FAT volumes) ด้วยการกำจัดพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งาน เรียกคืนความจุได้มากถึง 40% หรือกว่านั้นจากพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ที่มีอยู่ ลดการจัดเตรียมระบบจัดเก็บข้อมูลจากหลายชั่วโมงเหลือเป็นระดับนาที ทำให้การแบ่งข้อมูลจัดเก็บแบบ Wide Striping ง่ายขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานด้วยการกระจาย I/O ไปยังแกนหมุนของดิสก์ให้มากขึ้น ด้วยข้อดีเหล่านี้ทั้งหมด ทำให้เราคาดว่าการจัดสรรพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและมีลักษณะไดนามิกนั้น จะเป็นลำดับความสำคัญในระดับต้น ๆ ในการลงทุนสำหรับลูกค้า - ไอทีแบบยั่งยืน (Sustainable IT): ในปี 2553 จะพบว่ามีการใช้เหตุผลในการตัดสินเกี่ยวกับโครงการไอทีสีเขียวมากขึ้น โดยผู้จัดการด้านไอทีจะพบกับการแข่งขันภายในเกี่ยวกับการลงทุนที่มีจำกัด และจะพบว่าโครงการไอทีสีเขียวต่างๆ กำลังได้รับการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจากโครงการต่างๆ ขององค์กร นอกจากนี้ยังจะเกิดบทบาทใหม่ขึ้นภายในองค์กรไอทีด้วย นั่นคือ ผู้จัดการด้านไอทีแบบยั่งยืน ซึ่งจะเข้ามารับหน้าที่ในการกำหนดและจัดการโครงการไอทีสีเขียว - การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของแพลตฟอร์มการเก็บข้อมูลเนื้อหาแบบถาวร (Content Archive Platforms): บริษัท ไอดีซี ประมาณการว่าข้อมูลเนื้อหาจะเป็นส่วนข้อมูลที่มีการเติบโตเร็วที่สุดด้วยอัตราการเติบโตสะสมต่อปีที่ระดับ 121% เนื่องจากเนื้อหาเป็นชนิดข้อมูลที่ขยายตัวเร็วที่สุด แพลตฟอร์มสำหรับเนื้อหาจึงต้องสามารถปรับขนาดได้ที่ระดับหลาย สิบเพตาไบต์และสามารถสนับสนุนรูปแบบข้อมูลได้หลายรูปแบบ โดยเราคาดว่าจะเกิดความต้องการมากขึ้นในด้านแพลตฟอร์มการเก็บเนื้อหาแบบถาวร (Content Archive Platform) เพื่อจะตอบสนองความต้องการดังกล่าว - ระบบความปลอดภัย (Security): ผู้จัดการด้านไอทีต้องทำให้เกิดสมดุลระหว่างการลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขของปริมาณงานที่ทำ ความพร้อมใช้งาน ความสามารถในการปรับขนาดได้ ต้นทุน และความซับซ้อนต่างๆ โดยองค์กรแต่ละแห่งจะต้องทำการตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งตามสถานการณ์เฉพาะและตามความสำคัญของข้อมูล การวางแผนของผู้จัดการด้านไอทีต่อการลงทุนในระบบจัดเก็บข้อมูลหรือใช้บริการจากบริษัทอื่นในปี 2553 นั้น จะต้องพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญหลักๆ ที่รวมถึงการรักษาความลับ ความเป็นส่วนตัว การกำจัด/ทำลาย และความปลอดภัย - การบริการที่มีการจัดการ (Managed Service): การจัดเตรียมแอพพลิเคชั่นใหม่หรือการรายงานประสิทธิภาพของ SAN สำหรับองค์กรไอทีปัจจุบัน กำลังได้รับการบริหารจัดการผ่านการบริการจากระยะไกล เมื่อความต้องการนี้เพิ่มมากขึ้น คาดว่าข้อเสนอของบริการใหม่ๆ จะได้รับการนำมาใช้เนื่องจากเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพในการได้มาซึ่งทักษะความชำนาญด้านระบบจัดเก็บข้อมูลที่สามารถตอบสนองได้ในเวลาจริงตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ตลอดจนสามารถจัดการได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้เงื่อนไขของการมีพนักงานจำนวนจำกัดและอาจมีทักษะไม่เพียงพอ การใช้บริการดังกล่าวยังสามารถป้องกันไม่ให้มีการดึงพนักงานที่มีประสบการณ์ออกมาจากโครงการที่สร้างรายได้ซึ่งเป็นงานสำคัญที่ต้องได้รับการบริหารจัดการ - ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ไดรฟ์แบบแฟลชหรือ SSD (Solid State Drives) : แม้ว่าไดรฟ์แบบแฟลชจะได้รับการพิจารณาว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์แบบเดิม แต่ไดรฟ์แบบแฟลชก็มีข้อได้เปรียบด้านประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเวลาในการคอยการหมุนของแผ่นดิสก์นั้นจะต่ำมากและมี I/O[1] ที่รวดเร็วมาก ตลอดจนประสิทธิภาพด้านพลังงานที่เหนือกว่า เราคาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีแบบแฟลชเพิ่มสูงขึ้นโดยจะถูกรวมเข้ากับพอร์ตโฟลิโอของโซลูชั่นต่างๆ ตามความต้องการและความตื่นตัวของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้นำมาใช้งานควรคำนึงถึงความปลอดภัยเพิ่มเติมในด้านการเข้ารหัสลับข้อมูลที่ระดับไดรฟ์ SSD ก่อนที่จะเลือกมาใช้ งานด้วย - การผนวกรวม Ethernet ในศูนย์ข้อมูล (FCOE[2]/DCIB[3]): เราคาดว่าจะมีการนำการเชื่อมต่อสวิตช์มาใช้ในฝั่งระบบจัดเก็บข้อมูล เนื่องจากมีการสร้างมาตรฐานเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรมในการกำหนดเส้นทางเชื่อมต่อแบบหลายเส้นทางและการลดความแออัดของเครือข่าย นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนจำนวนมากในโครงสร้างพื้นฐาน Fibre Chanel (FC) เพื่อเปลี่ยนไปเป็น 8 Gbps[4] FC เนื่องจากการเปลี่ยนระบบเป็น 8 Gbps FC จะส่งผลให้การหยุดทำงานของระบบน้อยกว่าการเปลี่ยนระบบไปเป็น 10 Gbps FCoE ดังนั้น เราจึงคาดว่าการนำ FCoE มาใช้ในฝั่งระบบจัดเก็บข้อมูลน่าจะใช้เวลาอีกนานถึงจะมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ