TRIDI สรุปโครงการ Excellence 2008 Plus Three ประสบผลสำเร็จเกินคาด

ข่าวเทคโนโลยี Monday January 18, 2010 15:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแห่งชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TRIDI) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) สรุปผลโครงการ Excellence 2008 Plus Three กับบทบาทในการส่งเสริมและวางรากฐานในภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ ที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและคิดค้นผลงานด้านโทรคมนาคม เกิดชิ้นงานที่จะนำไปพัฒนาด้านโทรคมนาคมของประเทศ ลดภาระการนำเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยในการส่งเสริมบุคลากรของประเทศให้มีแหล่งข้อมูลคิดค้นวิจัย และยังช่วยในการเป็นศูนย์ข้อมูลส่วนกลางในด้านต่าง ๆ สำหรับหน่วยงานทุกภาคที่ต้องการศึกษาข้อมูล โดยโครงการดังกล่าวตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา TRIDI ได้มุ่งมั่นและตั้งใจในการผลักดันให้เกิดห้องปฎิบัติงานด้านการวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ ที่เตรียมพร้อมในการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศอย่างจริงจังในอนาคต พลเอกชูชาติ พรหมพระสิทธ์ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมหรือที่เรียกทั่ว ๆ ไปเรียกว่าทรีดี้ (TRIDI) ถือเป็นความภาคภูมิใจของสำนักงาน กทช. ซึ่งนับตั้งแต่ก่อตั้งหน่วยงานและดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน TRIDI ได้ทำงานอย่างหนักในการมุ่งส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศอย่างจริงจัง โดยหนึ่งในการทำงานของ TRIDI ที่วางรากฐานตั้งแต่ต้นและลุล่วงจนประสบผลสำเร็จคือ โครงการ Excellence 2008 Plus Three ตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวได้เริ่มขับเคลื่อนโดยบุคลากรเพียงกลุ่มเล็ก ๆ และเงินทุนในดำเนินงานจำนวนไม่มากนัก หากแต่ปัจจุบันความสำเร็จของโครงการจะสามารถช่วยลดภาระการนำเข้าของประเทศ กับห้องปฏิบัติการวิจัยจาก 7 สถาบันหลักของประเทศจะช่วยผลักดันในการผลิตชิ้นงานเพื่อใช้งานได้จริง และยังผลิตบุคคลากร นักวิจัยที่มีประสิทธิภาพในการคิดค้นชิ้นงานในการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในอนาคต โครงการดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนา ส่งเสริม และเกิดการผลิตอย่างจริงจัง นับจากนี้หากจะเกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น คงต้องเกิดความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งจะมี TRIDI เป็นหน่วยงานกลางในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศในอนาคตต่อไป ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TRIDI) กล่าวว่า ห้องปฏิบัติการวิจัย “NTC Telecommunications Research Laboratory ด้านโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์และระบบสมองกลฝังตัว” ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์นี้ เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยในอีกหนึ่งสาขาที่มีความสำคัญกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ โดยทางห้องปฏิบัติการ ได้มุ่งเน้นในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวสำหรับเครือข่ายรับรู้ไร้สาย (Wireless Sensor Network) เนื่องจากเป็นเครือข่ายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานหลายด้านอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านสื่อสารโทรคมนาคม ด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (consumer product) ด้านอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานด้านเกษตรกรรม (Electronic Agriculture) โดย Embedded System หรือระบบสมองกลฝังตัว เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ที่ในอนาคตจะมีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท อาทิ อุปกรณ์โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ระบบยานยนต์ การแพทย์ ชิพอิเล็กทรอนิกส์ RFID ในภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการส่งออก เครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจในปัจจุบันมากจากหลากหลายภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้น ห้องปฏิบัติการวิจัย “NTC Telecommunications Research Laboratory ด้านโทรคมนาคมอิเล็กทรอนิกส์และระบบสมองกลฝังตัว” จะเข้ามามีส่วนในการช่วยศึกษาวิจัยด้านอุปกรณ์ในด้านดังกล่าว เพื่อสามารถผลิตชิ้นงานที่ใช้งานได้จริงลดต้นทุนการผลิต และช่วยส่งเสริมด้านบุคคลากรในด้านสมองกลฝังตัว สนับสนุนนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้นเพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมในประเทศ และยังเป็นรองรับกลุ่มนักลงทุนต่างชาติที่เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในด้านการผลิตด้านต่าง ๆ ที่จะต้องนำเทคโนโลยีโทรคมนาคมอิเล็กทรอนิกส์ และระบบสมองกลฝังตัวมาใช้ในอนาคต ดร.สุพจน์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาอีกหนึ่งโครงการที่เราให้สำคัญคือ NTC Telecommunications Research Laboratory ห้องปฏิบัติการวิจัยการสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสงและการสื่อสารแบบไร้สาย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการศึกษาคลื่นแสงและความเร็วสูง จะเน้นศึกษาวิจัยทางด้าน Optical Fiber หรือเครือข่ายใยแก้วนำแสง ที่จะนำไปพัฒนาและใช้ในการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อรองรับความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประชาชนที่เพิ่มขึ้น และจะเพิ่มประสิทธิภาพด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างสูงสุดในอนาคต อีกทั้งยังช่วยในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนนำผลการวิจัยและศักยภาพบุคลากรที่ได้ นำไปร่วมกันต่อยอดพัฒนาคิดค้นและประดิษฐ์อุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมใช้เองในประเทศ นอกจากนี้ศูนย์การวิจัยดังกล่าวยังจะเป็นสถานที่สำหรับศึกษา ฝึกฝนและเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารไร้สาย และการสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง ให้กับนักศึกษา และประชาชนทั่วไปในเขตตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย ดร.สุพจน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในการดำเนินโครงการตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่าน กับการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เกิดห้องปฏิบัติงานวิจัยด้านโทรคมนาคม ภายใต้โครงการ Excellence 2008 Plus Three โดยปัจจุบัน TRIDI ได้เปิดห้องปฏิบัติการไปแล้ว 7 แห่ง ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา อันได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านการคลื่นแสงความเร็วสูง, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้าน NGN Applications, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบบสื่อสารทางแสงแห่งอนาคต, สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านการสื่อสารแบบไร้สาย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้าน IP-based Software, มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสงและการสื่อสารแบบไร้สาย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ด้านโทรคมนาคมอิเล็กทรอนิกส์และระบบสมองกลฝังตัว ซึ่งหลังจากเปิดห้องปฏิบัติวิจัยเหล่านี้แล้ว ในอนาคต TRIDI จะยังดำเนินงานต่อยอดโครงการอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อการปฏิบัติงานวิจัยด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หลังจากนี้ TRIDI จะมุ่งสนับสนุนให้เกิดการผลิต การใช้อุปกรณ์ภายในประเทศอย่างจริงจัง เพื่อลดการนำเข้าในภาพรวมกว่า 500,0 00 ล้านบาท และในอนาคตหากมีความแข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม TRIDI จะทำการสนับสนุนให้เกิดการส่งออกต่อไปในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับ TRIDI สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแห่งชาติ (TRIDI) ได้ก่อตั้งปี พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นศูนย์กลางในส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพวงการโทรคมนาคมไทย ก้าวให้ทันระดับนานาชาติด้วยการวิจัยเทคโนโลยีและการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยมุ่งพัฒนาด้านงานวิจัย พัฒนาอุตสาหกรรม และบุคลากร พร้อมทั้งวางเป้าหมายให้เกิดการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมขึ้นในประเทศ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ