กรุงเทพฯ--21 ม.ค.--สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หลักการและเหตุ
ผลคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยมีภารกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ และเสนอต่อรัฐสภา ตามมาตรา 257(8) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 15 (6)
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จ้างสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551-2552 โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณารายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ปี 2551-2552 เพื่อสนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะ ให้คำปรึกษาและแนวทางในการจัดทำรายงาน และมีคณะทำงานย่อย 3 คณะ ทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำรายงานฯ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะและพิจารณาความเหมาะสมของรายงาน ในประเด็นสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิชุมชน ประเด็นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย
ดังนั้น เพื่อให้รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551-2552 สะท้อนภาพของสิทธิมนุษยชนที่เป็นจริงของภาคประชาชน โดยมีการวิเคราะห์บนฐานของมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ทั้งในและระหว่างประเทศ และการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงเห็นสมควรจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมสมองจากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน ผู้ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน ในการเพิ่มเติมข้อมูลและข้อเท็จจริงในการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551-2552
วัตถุประสงค์
เพื่อระดมข้อมูล ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในช่วงปี 2551-2552 โดยเน้นกระบวนการระดมสมองอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อความครอบคลุมและสมบูรณ์ของเนื้อหาของรายงานประเมินสถานการณ์ฯ ที่จะจัดทำขึ้น
เป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นักวิชาการผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฝ่ายเลขานุการในคณะทำงานพิจารณาและสนับสนุนการจัดทำรายงานฯ เครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคมและสิทธิชุมชน และเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม.ที่เกี่ยวข้อง
วิธีดำเนินการ
การสัมมนาและการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมสมอง เสนอแนะข้อมูลและข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อให้รายงานประเมินสถานการณ์ฯ มีความครอบคลุมและสมบูรณ์ในรูปแบบและเนื้อหา โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาและสถานที่
ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2553 ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
งบประมาณ
งบประมาณประจำปี 2553 ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในโครงการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ปี 2551-2552
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551-2552 ที่จะจัดทำขึ้น มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างสมบูรณ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริง สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในช่วงปี 2551-2552 ที่เน้นการระดมสมองอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนให้สมบูรณ์ต่อไป
ผู้รับผิดชอบ
สำนักวิจัยและนิติธรรม สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กำหนดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒
ระหว่างวันที่ ๒๕ — ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓
ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท ศาลายา พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
วันจันทร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
๐๗.๓๐ น. ออกเดินทางจากสำนักงาน กสม. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี
ถนนแจ้งวัฒนะ (ประตูทิศตะวันออก ด้านสำนักงาน ก.ก.ต)
๐๘.๔๕ — ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ — ๐๙.๑๕ น. เปิดการสัมมนา
โดย ศาสตราจารย์ อมรา พงศาพิชญ์
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๐๙.๑๕ — ๐๙.๔๕ น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสัมมนา
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้แทนคณะทำงานฯ
๐๙.๔๕ — ๑๐.๓๐ น. ชี้แจงกระบวนการกลุ่มและข้อมูลพื้นฐาน
โดย นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ / วิทยากร - นักวิจัย
๑๐.๓๐ — ๑๒.๐๐ น. การสัมมนากลุ่มย่อย
กลุ่มที่ ๑ สิทธิในการจัดการฐานทรัพยากร สิทธิชุมชน
? กิจการประมงทะเล-ชายฝั่งและประมงพื้นบ้าน
โดย นายอิสมาแอ เจ๊ะมูดอ
? การใช้ประโยชน์ในที่ดินและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
โดย นางสุนี ไชยรส
? การก่อสร้างในทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่ง
โดย ดร.สมบูรณ์ พรพิเนตรพงศ์
? โรงงานอุตสาหกรรม ประเภทและชนิดต่างๆ
โดย ดร.อาภา หวังเกียรติ
? การขุดดินและการถมดิน การดูดทรายและการทำเหมืองแร่ทุกประเภท
โดย นายศศิน เฉลิมลาภ
? โครงการชลประทานทุกประเภท ทุกขนาด
โดย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ
ดำเนินการโดย นายธนู แนบเนียร
กลุ่มที่ ๒ ความเสมอภาคของบุคคล สิทธิของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
? สิทธิในที่อยู่อาศัยของผู้ยากไร้
โดย นางประทิน เวคะวากยานนท์
? สิทธิสตรี —ความหลากหลายทางเพศ
โดย นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง
? สิทธิเด็กและเยาวชน
โดย นายณัฐวุฒิ บัวประทุม
? สิทธิผู้พิการ
โดย นายมณเฑียร บุญตัน
? สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
โดย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
? กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น
โดย นายภควินทร์ แสงคง
? กลุ่มผู้ใช้แรงงาน แรงงานนอกระบบและแรงงานต่างด้าว
โดย นายบัณฑิต ธนชัยเศรษฐวุฒิ
? เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากการค้าเสรี —เอฟทีเอ
โดย นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
นายวิทูรย์ เลี่ยนจำรูญ
ดำเนินการโดย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
กลุ่มที่ ๓ สิทธิของผู้บริโภค การเข้าถึงการบริการของรัฐ
? สิทธิผู้บริโภคจากกิจการต่างๆ ของรัฐ
โดย นายอิทธิบูล อ้อนวงศา
? สิทธิในการเข้าถึงยาและพระราชบัญญัติสิทธิบัตร
โดย รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์
? สิทธิของผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง
โดย นางสาวสุภัทรา นาคะผิว
นางสมบุญ สีคำดอกแค
ดำเนินการโดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
๑๒.๐๐ — ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ — ๑๕.๓๐ น. การสัมมนากลุ่มย่อย (ต่อ)
๑๖.๐๐ — ๑๗.๓๐ น. นำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อยต่อที่ประชุมใหญ่
สรุปประเด็นโดย นางสุนี ไชยรส
ดำเนินการโดย นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์
๑๘.๐๐ — ๑๙.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น
๑๙.๐๐ — ๒๑.๐๐ น. อภิปรายทั่วไป และทำ mapping สิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร
ดำเนินการโดย นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์
วันอังคารที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ ๐๙.๐๐ — ๑๒.๐๐ น. การสัมมนากลุ่มย่อย
กลุ่มที่ ๑ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
? สิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบกับประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โดย รศ.ณรงค์ ใจหาญ
? สิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ เปรียบเทียบกับประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำหรับเด็ก เยาวชนและสตรี
โดย นางสาววาสนา เก้านพรัตน์
? สิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ
ผู้สูงอายุ
โดย ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์
? การซ้อมทรมาน ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางแก้ไข
โดย นายวสันต์ พานิช
? การสูญหายของบุคคลและแนวทางแก้ไข
โดย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
? กระบวนการยุติธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสี่อำเภอในจังหวัดสงขลา
โดย นายสุทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์
ดำเนินการโดย นายนคร ชมพูชาติ
กลุ่มที่ ๒ สิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิทางการเมือง
? สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน
โดย รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
? สิทธิในข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
โดย นายสมชาย หอมลออ
? สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
โดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
? สิทธิในการเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการ ระดับสูง
โดย นางสาวรสนา โตสิตระกูล
? สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม
โดย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
? สิทธิในการศึกษาและเสรีภาพทางวิชาการ
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ
ดำเนินการโดย ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง
๑๒.๐๐ — ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ — ๑๔.๐๐ น. นำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อยต่อที่ประชุมใหญ่
สรุปประเด็นโดย นายสมชาย หอมลออ
ดำเนินการโดย นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์
๑๔.๐๐ — ๑๖.๐๐ น. อภิปรายทั่วไป
๑๖.๐๐ — ๑๖.๓๐ น. สรุปและปิดการสัมมนา
๑๗.๐๐ น. เดินทางกลับสำนักงาน กสม.
หมายเหตุ รับประทานอาหารว่าง เวลา ๑๐.๓๐ — ๑๐-๔๕ น. และ ๑๕.๐๐ - ๑๕.๑๕ น.