กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--สกว.
สาเหตุปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งอยู่ในสังคมวัฒนธรรมแบบมลายูมุสลิมยังเป็นสิ่งที่รัฐและสังคมพุทธส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ขาดการศึกษาด้านต่างๆ ที่มีผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมในสังคมมลายูมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดของคนภายใน เข้าใจชีวิตวัฒนธรรมที่แสดงถึงความต้องการ วิธีคิด ค่านิยมที่เกิดขึ้นในสังคมท้องถิ่น ควรจะมีงานวิจัยที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของนักวิจัยท้องถิ่นและนักวิจัยจากภายนอกเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์สังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ และความเชื่อที่เกิดขึ้น และเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเข้าใจถึงสาเหตุปัญหาและสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ผลที่ได้กลุ่มองค์กรชาวบ้านในพื้นที่รวมถึงรัฐสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อทำความเข้าใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)จึงให้ทุนสนับสนุน“โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วมเพื่อศึกษาท้องถิ่นในสามจังหวัดภาคใต้” โดยมี น.ส.วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หัวหน้าโครงการ และ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ บัดนี้งานวิจัยดังกล่าวแล้วเสร็จ สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัย (สกว.) กำหนดจัดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “ไฟใต้ฤาจะดับ” ขึ้นในวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2549 เวลา 13.00 — 16.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 14 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (รายละเอียดตามกำหนดการ)
กำหนดการนำเสนองานวิจัย
เรื่อง
“ไฟใต้ฤาจะดับ”
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2549
เวลา 13.00 — 16.30 น.
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 14 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
13.00 น. กล่าวเปิดการประชุม
โดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญหลง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
13.15- 13.45 น. “ไฟใต้ฤาจะดับ”
โดยรศ.ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษาโครงการวิจัยโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ
มีส่วนร่วมเพื่อศึกษาท้องถิ่นในสามจังหวัดภาคใต้
การเสนอข้อมูลจากพี่เลี้ยงนักวิจัย
13.45 — 15.00 น. “คนตานี: มาเลย์มุสลิมที่ถูกลืม”
โดย น.ส.วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
หัวหน้าโครงการ โครงการวิจัยโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาท้องถิ่นในสามจังหวัดภาคใต้
“บ้านไม่มั่นคงที่ปะนาเระ”
โดยนายศรยุทธ์ เอี่ยมเอื้อยุทธ์ พี่เลี้ยงนักวิจัยท้องถิ่น/นักศึกษาปริญญาโทสาขา
มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเสนอข้อมูลจากนักวิจัยท้องถิ่นเรื่อง
15.00 — 16.00 น. “เสียงสะท้อนจากหมู่บ้านประมงอ่าวปัตตานี”
โดยมะรอนิง สาและ
“จากยาลอเป็นยะลา การเปลี่ยนแปลงในรอบศตวรรษ”
โดยอับดุลเร๊าะมัน บาดา และ ทรัยนุง มะเด็ง
“การจัดการทรัพยากรและนิเวศวัฒนธรรมของคนเชิงเขาลุ่มสายบุรี”
โดยงามพล จะปะกิยา, มะอีซอ โซมะดะ
16.00 — 16.30 น. ซักถาม-แสดงความคิดเห็น และสรุป
โดย รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ประชาสัมพันธ์ สกว.
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
โทร.0-2270-1350-4 email : pr@pr-trf.net