กรีนพีซมอบรางวัลแชมป์โลกร้อนให้แก่ผู้นำโลกที่ล้มเหลว

ข่าวทั่วไป Friday January 22, 2010 15:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กรีนพีซ นักกิจกรรมกรีนพีซกว่า 75 คนจากประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์จัดกิจกรรมรณรงค์หน้าสถานฑูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเทพฯ โดยมอบรางวัลแชมป์โลกร้อนเพื่อประจานผู้นำโลกที่ล้มเหลวในการประชุมโลกร้อน ณ กรุงโคเปนเฮเกนเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา นักกิจกรรมกรีนพีซมอบถ้วยรางวัลแชมป์โลกร้อนให้แก่นักกิจกรรมที่แต่งตัวล้อเลียนประธานาธิบดีโอบามาแห่งสหรัฐอเมริกา และมอบเหรียญแห่งความล้มเหลวให้แก่อันดับสอง นั่นคือ ประธานาธิบดีรัดด์ แห่งประเทศออสเตรเลียตามมาด้วยประธานาธิบดีฮาเพอร์ จากประเทศแคนาดา เพื่อจารึกความล้มเหลวจากการประชุมโลกร้อนที่โคเปนเฮเกน ในคืนสุดท้ายของการประชุมเจรจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ยกร่างข้อตกลงโคเปนเฮเกน ซึ่งเป็นเพียงคำประกาศทางการเมืองแต่ไม่ได้ถูกรับรองอย่างเป็นทางการจากที่ประชุม “ข้อตกลงโคเปนเฮเกนไม่ได้เป็นข้อตกลงที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายที่คนนับล้านทั่วโลกคาดหวังจากผู้นำโลก เนื่องจากเป็นเพียงคำประกาศทางการเมืองที่อ่อนมาก ในการเรียกร้องให้ประเทศต่างๆเห็นความจำเป็นในการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส” นายวอน เฮอร์นันเดซ ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “ข้อตกลงโคเปนเฮเกนยิ่งซ้ำเติมคนนับล้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดและมีการเตรียมการรับมือน้อยที่สุดต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” วัตถุประสงค์ในข้อตกลงได้ระบุว่า “จะจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส (1) อย่างไรก็ตามบันทึกลับของเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแสดงให้เห็นว่าพันธกรณีที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศต่างๆทั่วโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 องศาเซลเซียสเทียบกับระดับยุคก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งสูงกว่าขีดจำกัดความปลอดภัยที่ระบุไว้ในรายงานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อันตราย กรีนพีซเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 40 ภายในปี 2563 โดยเทียบจากปี 2533 และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมดจะต้องช่วยกันจำกัดการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ในช่วงเวลาเดียวกัน “กรีนพีซเรียกร้องให้ทุกประเทศดำนินการเจรจาให้ได้ข้อตกลงที่เป็นธรรม สูงส่งและมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายภายใต้กระบวนการของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อที่จะยกร่างข้อตกลงดังกล่าวในการประชุมสุดยอดครั้งหน้าที่เม็กซิโกในปลายปีนี้” นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “การทำงานเพื่อให้ได้ข้อตกลงดังกล่าวต้องเริ่มต้นเดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นแล้วเม็กซิโกจะเสี่ยงต่อความล้มเหลวซ้ำสองเช่นเดียวกับที่โคเปนเฮเกน” ความมุ่งหวังของกรีนพีซ 1 รัฐบาลเห็นชอบในการดำเนินการพิธีสารเกียวโตในช่วงพันธะกรณีที่ 2 และยกร่างพิธีสารอีกอันหนึ่งเพื่อมาควบคุมการลดการปล่อยก๊าซของประเทศที่พัฒนาแล้ว และปฏิบัติการลดการปล่อยของประเทศกำลังพัฒนาในการประชุมภาคีสมาชิกครั้งที่ 16 (COP16) ซึ่งกำหนดเริ่มในเม็กซิโกในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 2 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมมีพันธะกรณีที่จะลดการปล่อยก๊าซลงอย่างน้อยร้อยละ 40 ภายในปี 2563 โดยใช้ปี 2533 เป็นปีฐาน ซึ่งสามในสี่ส่วนต้องเป็นปฏิบัติการลดการปล่อยภายในประเทศ 3 ประเทศอุตสาหกรรมต้องจัดตั้งกองทุนที่พอเพียงและคาดการณ์ได้ อย่างน้อยที่สุด 140 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพื่อสนับสนุนพลังงานสะอาดและกิจกรรมการลดการปล่อยก๊าซอื่นๆ การปกป้องป่าไม้และการปรับตัวในประเทศกำลังพัฒนา 4 ประเทศกำลังพัฒนาเข้าร่วมในปฏิบัติการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อที่จะทำให้การปล่อยก๊าซลดลงร้อยละ 15-30 เทียบกับระดับปกติ ภายในปี 2563 โดยที่การลดการปล่อยก๊าซนี้จะต้องเป็นการดำเนินการฝ่ายเดียวและไม่รับความช่วยเหลือจากภายนอก ส่วนปฏิการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหลือมาจากการสนับสนุนจากประเทศอุตสาหกรรม 5 ทุกประเทศร่วมกันจัดตั้งกลไกความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อยุติการทำลายป่าและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมดภายในปี 2563 และบรรลุการยุติการทำลายป่าอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2558 โดยเฉพาะในอเมซอน คองโก อินโดนีเซีย และปาปัวนิวกินี การลดการปล่อยดังกล่าวจะต้องเป็นส่วนเพิ่มเติมจากการลดการปล่อยในข้อที่ 2 ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โทร 089-476-9977 วิริยา กิ่งวัชระพงศ์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โทร 089-487-0678 หมายเหตุ 1 ข้อตกลงโคเปนเฮเกน FCCC/CP/2009/L.9, 18 ธันวาคม 2552, ย่อหน้าที่ 2.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ