กรุงเทพฯ--26 ม.ค.--สินพงศธร
แนะนำ 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ใช้คู่กัน — เพชรคู่ และมนคู่
สร้างรูปแบบอิสระของการมุงหลังคา
บริษัท สินพงศธร จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายกระเบื้องหลังคา ซี-กรีต (CECRETE) เอาใจเจ้าของบ้านที่นิยมกระเบื้องหลังคาไม่ว่าจะเป็นย้อนยุคหรือประยุกต์ ด้วยการพัฒนากระเบื้องหลังคารุ่นใหม่ กระเบื้อง เพชรคู่และมนคู่ โดยกระเบื้องทั้งสองชนิดนี้ สามารถนำมาใช้คู่กันเพื่อสร้างความอิสระในการออกแบบหลังคาให้ตรงใจผู้อยู่อาศัย
นายประยุทธ โศภิษฐ์พงศธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สินพงศธร จำกัด และบริษัท กระเบื้องแคนนิท จำกัด เปิดเผยว่ากระเบื้องรุ่นใหม่ล่าสุดทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่บริษัท สินพงศธร จำกัด ได้พัฒนาเพื่อหาจุดลงตัวให้แก่เจ้าของอาคารและเจ้าของบ้านที่นิยมรูปแบบกระเบื้องทั้งแบบย้อนยุคและแบบประยุกต์ให้ดูโดดเด่นแปลกตา
“ผมอยากจะบอกว่ากระเบื้องรุ่นใหม่ทั้งสองตัวนี้มีจุดเด่นมากมายเมื่อเปรียบเทียบกับกระเบื้องย้อนยุคที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะเราได้นำรูปแบบปัจจุบันใส่เข้าไปในแบบดั้งเดิมของกระเบื้องหลังคาในอดีตไว้ทั้งหมด จึงทำให้กระเบื้องทั้งสองตัวนี้ นอกจากจะได้ Function การใช้งานที่ดี พร้อมด้วยความแข็งแรงแล้ว ยังจะคงรูปแบบโบราณในอดีตไว้ด้วย นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย” นายประยุทธกล่าว
กระเบื้องเพชรคู่และกระเบื้องมนคู่ ผลิตโดยบริษัท กระเบื้องแคนนิท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท สินพงศธร จำกัด
กระเบื้องเพชรคู่ พัฒนามาจากกระเบื้อง หางเหยี่ยว ส่วนกระเบื้องมนคู่พัฒนามาจากกระเบื้อง เกล็ดปลาโดยได้นำกระเบื้องดั้งเดิมมาออกแบบใหม่จากกระเบื้องเดี่ยวมาเชื่อมติดกันแผ่นคู่ พร้อมกับเพิ่มคันกันน้ำย้อนหลายชั้น ปีกข้างกันรั่วตามแนวกระเบื้องทับซ้อนและคันบังใบกันน้ำ ซึ่งกระเบื้องหลังคาโบราณไม่สามารถทำได้ ทำให้กระเบื้องคู่รุ่นใหม่นี้สามารถป้องกันปัญหาน้ำรั่วในขณะฝนตกหนักได้
นอกจากนี้ กระเบื้องรุ่นใหม่นี้ ยังให้ความแข็งแกร่งมากกว่ากระเบื้องโบราณทั่วไปที่ทำด้วยมือเพราะกระเบื้องเพชรคู่และมนคู่ ผ่านกระบวนการอัดแน่นด้วยเครื่องจักรไฮโดรริคขนาด 100 ตัน ทำให้เนื้อปูนซิเมนต์ของกระเบื้องเพชรคู่และมนคู่มีความหนาแน่นกว่ากระเบื้องโบราณทั่วไปมาก
“แต่สิ่งที่เรายังคงรักษาไว้ก็คือ Design ที่ยังคงความขลังของอดีตในยุคสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้อย่างสมบูรณ์แบบ” นายประยุทธกล่าว
นายประยุทธกล่าวอีกว่ารูปแบบใหม่ของกระเบื้องเพชรคู่และมนคู่นี้ ทำให้เจ้าของบ้านหรืออาคารสามารถออกแบบหลังคาได้อย่างอิสระเพราะกระเบื้องรุ่นใหม่เพิ่มความยาวจาก 25 ซ.ม. มาเป็น 38 ซ.ม. ในขณะที่ยังคงรักษาความกว้างไว้เท่าเดิมที่ 15 ซ.ม.ต่อแผ่น ทั้งนี้เพื่อรักษารูปแบบโบราณไว้ ด้วยขนาดที่ยาวขึ้น พร้อมด้วยการเพิ่มระบบกันน้ำรั่วและความคงทนแข็งแรง ทำให้เจ้าของบ้านหรืออาคารนิยมกระเบื้องย้อนยุคสามารถประหยัดงบประมาณจากการใช้จำนวนแผ่นต่อตารางเมตรที่น้อยลงจาก 65-68 แผ่นมาอยู่ที่เริ่มต้น 12.3 แผ่น
“จำนวนแผ่นที่น้อยลงนี้ ทำให้เจ้าของบ้านสามารถประหยัดค่าขนส่ง ค่าแรงงาน ค่าก่อสร้างที่สามารถออกแบบรับน้ำหนักที่ลดลงจากจำนวนแผ่นกระเบื้องและค่าสูญเสียจากการทำงานเพราะกระเบื้องคู่มีความแข็งแรงคงทนกว่าและปริมาณที่ขนส่งลดลง เท่ากับลดโอกาสสูญเสียจากการขนส่งและการทำงานด้วย เนื่องด้วยกระเบื้องใหม่ทั้งสองชนิดนี้ เกิดจากโครงสร้างเดียวกัน จึงทำให้สามารถนำกระเบื้องทั้งสองแบบนี้ มามุงคละเคล้าปนกัน กลายเป็นรูปแบบมากมายตามจินตนาการของเจ้าของอาคารและเจ้าของบ้าน” นายประยุทธกล่าว
นายประยุทธกล่าวเพิ่มเติมว่ากลุ่มเป้าหมายของกระเบื้องเพชรคู่และมนคู่นี้ เป็นกลุ่มผู้ที่นิยมรูปแบบย้อนยุคและสถาปัตยกรรมรุ่นเก่าที่ต้องบูรณะ ซึ่งถือเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มมาก (Niche Market) แต่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ดังนั้น กลยุทธด้านการตลาดจึงเป็นลักษณะปากต่อปากและการสร้างความพึงพอใจในด้านการให้บริการเป็นหลัก
“เราไม่ได้ตั้งเป้าหมายอะไรสำหรับกระเบื้องเพชรคู่และมนคู่เพราะเรามีความคล่องตัวในด้านการผลิต หากตลาดตอบรับดี เราสามารถขยายการผลิตได้อย่างรวดเร็ว” นายประยุทธกล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ วิรัตน์ ตรีรานุรัตน์
Email: virathr@gmail.com