ดัชนีอุตฯ ธ.ค.พุ่งพรวด 30.7% ทั้งปี 52 ติดลบ 7.2% ต่ำกว่าคาด

ข่าวทั่วไป Wednesday January 27, 2010 15:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ม.ค.--โกลบ์เบิล ครีเอชั่น สศอ.เผยภาคอุตฯฟื้นชัดเจน ตามทิศทางเศรษฐกิจโลก กลุ่ม Hard disk drive -ยานยนต์-น้ำตาล-เหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายคึกคัก กำลังการผลิตอยู่ในระดับ 61.8% ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศเชื่อมั่นในสถาณการณ์ ดร.สมชาย หาญหิรัญ ร องผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(ดัชนีอุตฯ) เดือนธันวาคม ปี 2552 เพิ่มขึ้น 30.7% เมี่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการปรับตัวที่สูงมาก โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 61.8% และเมื่อพิจารณาตัวเลขเฉลี่ยทั้งปี 2552 ดัชนีอุตฯติดลบ 7.2% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่ สศอ.เคยคาดการณ์ไว้คือ จะติดลบ 8-9% เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของทั่วโลกเริ่มเห็นผล ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะเดียวกันนักลงทุนมีความเชื่อมั่นสูงขึ้นส่งผลต่อการขยายกำลังการผลิต หลังจากได้รับคำสั่งซื้อกลับเข้ามา รวมทั้งโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในของรัฐบาล มีความชัดเจนมากขึ้น จึงทำให้ภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงดังกล่าว โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีอุตฯ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมการผลิต Hard Disk Drive ยานยนต์ น้ำตาล และอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก ดร.สมชาย กล่าวว่า การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 91.4% และ 68.1% เนื่องจากเมื่อปีก่อนเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่แทบจะปรับตัวไม่ทัน จึงส่งผลต่อภาวะการจ้างงานที่ทำให้หลายแห่งมีการปรับลดพนักงานลงอย่างมาก แต่สำหรับปีนี้ทิศทางการฟื้นตัวกลับเข้ามาแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเริ่มมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประเทศคู่ค้าหลักมั่นใจประเทศศักยภาพของประเทศไทยในฐานะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก สามารถรับคำสั่งซื้อคราวละมากๆและส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด สำหรับภาวะการผลิตและจำหน่ายสะสมในปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.0% และ 4.3% เมื่อเทียบกับปี 2551 การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น 25.5%และ 26.5% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น อีกทั้งช่วงปลายปีค่ายรถต่างออกมาตรการกระตุ้นตลาด หลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจง่ายขึ้น โดย อีกทั้งตลาดส่งออกกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังจากซบเซาตลอดปี ซึ่งยอดการจำหน่ายรถปิคอัพขนาด 1 เพิ่มขึ้น 23.9% ขณะที่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.1% ขณะที่ทั้งปีในปี 2552 ปริมาณการผลิตรถยนต์ 999,378 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 28.31% เป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 313,442 คัน รถกะบะ 670,734 คัน ลดลง 21.43% และ 31.9% ตามลำดับ โดยมียอดขายในประเทศ 548,871 คัน ลดลง 10.8% ส่งออก 535,563 คัน ลดลง 31.01% สำหรับแนวโน้มปี 2553 คาดว่าจะมียอดการผลิตและจำหน่ายเป็นไปอย่างคึกคัก ทั้งตลาดรถปิ๊คอัพและตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็ก การผลิตน้ำตาล เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตน้ำตาลโดยรวมอยู่ที่ 1,486,367.60 ตัน เพิ่มขึ้น 36.5% ซึ่งแบ่งเป็น น้ำตาลทรายดิบ 1,020,120.29 ตัน เพิ่มขึ้น 31.8% น้ำตาลทรายขาว 457,300.33 ตัน เพิ่มขึ้น 46.1% จากอ้อยเข้าหีบ 16,602,922.41 ตัน เพิ่มขึ้น 35.7% โดยฤดูกาลผลิตปี 2552/2553 เกษตรกรมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น และทิศทางราคาน้ำตาลโลกปีนี้ค่อนข้างดี ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยจำนวน 74.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูการผลิต 2551/2552 คิกเป็น 11.6% การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้น 58.1% และ 50.7% ตามลำดับ เนื่องการปรับตัวที่ดีของเศรษฐกิจโลกและมาตรการกระตุ้นต่างๆภายในประเทศ ทำให้มีความต้องการเหล็กในอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มขึ้น สำหรับแนวโน้มปี 2553 คาดว่าจะมีการขยายตัวได้ดีในทุกผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐในโครงการ “ไทยเข้มแข็ง” อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมทั้งปีถึงแม้ว่าอัตราการ ขยายตัวของดัชนีอุตฯ จะติดลบ 7% แต่ที่มีสัญญาณขยายตัวที่เป็นบวกมาตลอด 3 เดือนสุดท้ายโดยอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 4 สูงถึง 11.5% และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามต้องเฝ้าดูผลแนวโน้มของค่าเงินบาทและการปรับตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบางโดยเฉพาะการขาดดุลงบประมาณอย่างมหาศาลของสหรัฐอเมริกาที่อาจทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ลดรายจ่ายลง ดร.สมชาย กล่าวว่า ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 194.66 เพิ่มขึ้น 30.7% จากระดับ 148.97ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 191.51 เพิ่มขึ้น 30.4% จากระดับ 146.91 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 192.63 เพิ่มขึ้น 27.0% จากระดับ 151.63 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 113.25 เพิ่มขึ้น 2.2% จากระดับ 110.82 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 199.83 เพิ่มขึ้น 54.7% จากระดับ 129.14 ขณะที่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 171.69 ลดลง 13.3% จากระดับ 198.09 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 167.32 ลดลง 31.3% จากระดับ 243.37 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 61.8% ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต Index 2551 2552 ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ดัชนีผลผลิต 181.11 139.13 139.79 159.71 146.66 159.24 170.14 167.78 169.36 186.59 180.19 180.37 194.66 อุตสาหกรรม อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) % -2.0 -6.6 0.5 14.2 -8.7 9.2 6.6 -1.3 0.8 10.1 -3.3 0.03 8.0 อัตราการ -0.4 -25.6 -23.1 -17.7 -12.8 -12.4 -6.8 -9.0 -8.6 1.0 -0.5 7.5 30.7 เปลี่ยนแปลง (YOY) % อัตราการใช้ 60.8 51.7 50.0 54.4 51.4 55.0 55.7 57.0 57.2 60.1 61.0 60.3 61.8 กำลังการผลิต % ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ บริษัท โกลบ์เบิล ครีเอชั่น จำกัด /ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ ปุ๊ก, หม่อง, ดาว โทร. 0 2644 8814

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ