กรุงเทพฯ--3 ก.พ.--US EMBASY
2รอบการแสดง รอบที่1 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา13.30 น
รอบสื่อมวลชน รอบที่2 9กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 19.00น.
ณ หอประชุม สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตปัตตานี
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เกิดขึ้นย่างต่อเนื่อง และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น หลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ นักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชน และประชาชน ล้วนพยายามศึกษาถึงแหล่งที่มา และมูลเหตุของปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งมีการนำเสนอ แนวทางในการแก้ปัญหาในหลายๆวิธี แต่ทว่าความรุนแรงในพื้นที่ไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงและส่งผลให้สังคมภายนอกมีทัศนคติ และความรู้สึกในเชิงลบต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวล้วนสร้างความหวาดกลัวและความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมทั้งสิ้น
สภาพสังคมปัจจุบัน สื่อมวลชนมีบทบาทในการชี้นำความคิดของคนในสังคม แต่อีกประการหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการชี้นำความคิดของคนในสังคม คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด ซึ่งถือได้ว่า เป็นอีกประการหนึ่ง ในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น ภายใต้วัฒนธรรมอันดีงามของประชาชนในพื้นที่
โครงการวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ ถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่นำวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม มาบูรณาการกับการแสดง เพื่อสะท้อนชีวิตของสังคมที่มีความเสมอภาคในการใช้ชีวิต และได้มีการนำเอาสื่อวัฒนธรรมในพื้นที่ เช่น อานาชีด ศีละ รอเงง ดีเกฮูลู ที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ยังได้นำเสนอสื่อละครเวที่นำเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างอรรถรสในการรับชม และรับรู้ข่าวสารมากยิ่งขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของเยาวชนในพื้นที่ ตลอดจนการดึงทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างถ่องแท้ เพื่อขจัดรากเหง้าของความขัดแย้ง และความรุนแรง ซึ่งแนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสอดคล้องตามลักษณะของสังคม วัฒนธรรม และศาสนาของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
วัตถุประสงค์
-เพื่อใช้เครื่องมือทางวัฒนธรรม ผนวกกับนวัตกรรมใหม่ ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
-เพื่อการเรียนรู้ อนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรมให้คงไว้สืบต่อไป
-เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แสดงศักยภาพในความสามารถด้านต่างๆและมีส่วนร่วมในการนำเสนอ และเสนอแนะ วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เพื่อก่อให้เกิดความสมานฉันท์
-เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยอาศัยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่
-เพื่อสะท้อนชีวิต สภาพสังคม ตลอดจนสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
-เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชน นิสิตนักศึกษา สื่อมวลชน ผู้นำศาสนาและผู้นำท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
-เพื่อระดมความคิดเห็นประชาชนทุกระดับ ทุกกลุ่ม เพื่อค้นหายุทธศาสตร์สันติวีธีภาคประชาชนในการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมูลเหตุ ความรุนแรงและแนวทางในการแก้ปัญหาจากทุกภาคส่วน
-เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทุกหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการแก้ ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่