กรุงเทพฯ--8 ก.พ.--ศรีปทุมโพล
ศรีปทุมโพล โดยสำนักวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม ทำการสำรวจพฤติกรรมการอ่านของคนไทยในพ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา เนื่องจากที่รัฐบาลประกาศให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติในปี 2552 และกำหนดทศวรรษการอ่านหนังสือ (พ.ศ. 2552-2561) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,000 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลจากการรณรงค์ให้คนไทยรักการอ่านของรัฐบาล ซึ่งดร.ปิยากร หวังมหาพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้สรุปผลการสำรวจ ได้ดังนี้
ในปี 2552 ประชาชนซื้อหนังสืออ่าน (ไม่รวมหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือ วารสาร) ร้อยละ 70.70 และไม่ซื้อ ร้อยละ 29.30 หากซื้อหนังสือจะซื้อหนังสือที่ให้ความรู้ เช่น ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ร้อยละ 15.98, หนังสือการ์ตูน ร้อยละ 15.94 นิยายวัยใสร้อยละ 14.29, หนังสือประเภท how to ร้อยละ 13.91, หนังสือที่เขียนโดยคนดังร้อยละ 9.95, หนังสือธรรมะ ร้อยละ 9.15, หนังสือเด็กและเยาวชน ร้อยละ 7.69, หนังสือดวงชะตา ร้อยละ 6.60, หนังสือบุญกรรม ร้อยละ 5.94 และหนังสืออื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 0.57
แต่เมื่อจำแนกตามเพศ ส่วนใหญ่เพศชายชอบอ่านหนังสือการ์ตูน ร้อยละ 18.27 และหนังสือให้ความรู้ ร้อยละ 16.36 ส่วนเพศหญิง ส่วนใหญ่ ชอบอ่านนิยายวัยใส ร้อยละ 15.87 และหนังสือทั่วไป ร้อยละ 13.40
หากจำแนกตามเนื้อหา ประชาชนอายุไม่เกิน 20 ปี ส่วนใหญ่ ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน ร้อยละ 24.95 รองลงมา คือนิยายวัยใส ร้อยละ 23.37, ส่วนอายุ 21 — 30 ปี ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน ร้อยละ 16.74 รองลงมา คือนิยายวัยใส ร้อยละ 14.92, อายุ 31 — 40 ปี สว่นใหญ่ ชอบอ่านหนังสือให้ความรู้ ร้อยละ 15.30 รองลงมา คือหนังสือเขียนโดยคนดัง ร้อยละ 12.12, อายุ 41 — 50 ปี ส่วนใหญ่ ชอบอ่านหนังสือทั่วไป ร้อยละ 19.25 รองลงมา คือหนังสือธรรมะ ร้อยละ 16.09, อายุ 51 — 60 ปี ส่วนใหญ่ ชอบอ่านหนังสือธรรมมะ ร้อยละ 24.63 รองลงมาคือหนังสือมั่วไป ร้อยละ 23.13 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ชอบอ่านหนังสือมั่วไป ร้อยละ 30.77 รองลมงาคือหนังสือธรรมมะ ร้อยละ 17.95
ซึ่งหากจำแนกตามอาชีพ นักเรียน ส่วนใหญ่ ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน ร้อยละ 27.47 รองลงมา คือ หนังสือวัยใส ร้อยละ 23.15, นิสิต/นักศึกษา ส่วนใหญ่ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน รองลงมา คือ นิยายวัยใส ร้อยละ 19.01, พนักงานเอกชน ส่วนใหญ่ชอบอ่านหนังสือให้ความรู้ ร้อยละ 17.07 รองลงมา คือ หนังสือเขียนโดยคนดัง ร้อยละ 13.54, ข้าราชการ ส่วนใหญ่ ชอบอ่านหนังสือ ให้ความรู้ร้อยละ 19.48 รองลงมาคือ หนังสือธรรมมะ ร้อยละ 16.23, พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน และชอบอ่านหนังสือให้ความรู้ ร้อยละ 14.19 เท่ากัน, ธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่ชอบอ่านหนังสือทั่วไป ร้อยละ 19.19 รองลงมา คือ หนังสือให้ความรู้ร้อยละ 13.80 รับจ้าง สวนใหญ่ชอบอ่านหนังสือทั่วไป ร้อยละ 26.67 รองลงมา คือ หนังสือให้ความรู้ ร้อยละ 11.00 และแม่บ้าน ส่วนใหญ่ชอบอ่านหนังสือทั่วไป ร้อยละ 21.92 รองลงมา คือหนังสือบุญกรรม ร้อยละ 14.38
สำหรับจำนวนที่ประชาชนซื้อหนังสือ ในปี 2552 ส่วนใหญ่จะซื้อ 1 — 2 เล่ม ร้อยละ 33.71,ซื้อ 3 — 4 เล่ม ร้อยละ 24.94, ซื้อ 5 — 6 เล่ม ร้อยละ 14.29, ไม่ซื้อเลย ร้อยละ 9.95, ซื้อ 9 เล่ม ขึ้นไป ร้อยละ 9.81 และซื้อ 7 — 8 เล่ม ร้อยละ 7.31
ส่วนเหตุผลที่ประชาชนไม่ซื้อหนังสืออ่าน เพราะหาอ่านได้จากห้องสมุดหรือแหล่งอื่นได้จึงไม่ต้องซื้อ ร้อยละ 22.64, ไม่มีเวลา ร้อยละ 21.62, ราคาแพง ร้อยละ 17.97, ไม่ชอบอ่าน ร้อยละ 14.33, ไม่มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ร้อยละ 13.31, หนังสือส่วนใหญ่ไม่มีคุณภาพ ร้อยละ 5.01, เหตุผลอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 2.62 และอ่านหนังสือไม่ออก ร้อยละ 2.50
กรณีที่ประชาชนไม่ซื้อหนังสืออ่านเลย แต่จะอ่านหนังสือจาก เว็บไซต์ ร้อยละ 26.27, ไม่อ่านเลย ร้อยละ 16.84, หาอ่านตามร้านหนังสือ ร้อยละ 14.33, ยืมเพื่อนหรือคนรู้จักอ่าน ร้อยละ 1.60, ห้องสมุดสถาบันการศึกษา ร้อยละ 9.33, เช่าจากร้าน ร้อยละ 8.30, คนรู้จักซื้อให้ ร้อยละ 5.69, ห้องสมุดประชาชน ร้อยละ 5.57 และที่อื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 2.16
เมื่อถามว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรให้คนไทยรักการอ่านมากขึ้น ประชาชนเห็นว่า ควรเพิ่มห้องสมุดประชาชนให้ทั่วถึง เพื่อกระจายหนังสือให้มากขึ้น ร้อยละ 19.80, หาวิธีลดราคาหนังสือลง เพื่อให้คนหาซื้อหนังสือเยอะขึ้น ร้อยละ 17.77, พิมพ์หนังสือแจกให้กับนักเรียนนักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปเนื่องในโอกาสหรือเทศกาลสำคัญต่างๆของไทย ร้อยละ 11.60, ส่งเสริมสนับสนุนให้มีแหล่งเรียนรู้ในลักษณะ TK Park ให้มากขึ้น ร้อยละ 11.00, ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของหนังสือมากขึ้น ร้อยละ 10.37, กำหนดองค์การขึ้นมารับผิดชอบการส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจัง ร้อยละ 10.07, ซื้อหนังสือแจกให้กับนักเรียนนักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป เนื่องในโอกาสหรือเทศกาลสำคัญต่างๆของไทย ร้อยละ 9.10, สนับสนุนการเปิดแผงหนังสือ หรือร้านหนังสือ ร้อยละ 5.23, ลดภาษี เพื่อให้คนหรือองค์กรธุรกิจบริจาคหนังสือเข้าห้องสมุดหรือสถาบันการศึกษา ร้อยละ 4.60 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.47
โดยดร.ปิยากร หวังมหาพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 จะซื้อหนังสืออ่านเป็นประจำ โดยส่วนมากจะซื้อหนังสือที่ให้ความรู้อย่างเช่น หนังสือประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม รองลงมา คือ หนังสือการ์ตูน และ นิยายวัยใส กลุ่มคนที่ซื้อหนังสือให้ความรู้อ่าน คือเป็นกลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงานอายุ 21 — 30 ปี กลุ่มที่อ่านหนังสือการ์ตูนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน นิสิต/นักศึกษาชาย อายุไม่เกิน 20 ปี และ กลุ่มที่อ่านหนังสือนิยายวัยใสเป็นกลุ่มนักเรียน นิสิต/นักศึกษาหญิง อายุไม่เกิน 20 ปีเช่นกัน จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นได้ว่าเด็กไทยยุคใหม่ไม่นิยมซื้อหาหนังสือที่มีความรู้มาอ่านเพื่อประเทืองปัญญา แต่กลับนิยมหนังสือการ์ตูนและหนังสือนิยาย อาจจะเป็นเพราะเด็กในวัยเรียนยังมองไม่เห็นความสำคัญของหนังสืออ่านนอกเวลาที่นอกจากหนังสือเรียน ถ้าหากออกนอกห้องเรียนแล้วก็จะไม่หยิบหนังสืออย่างอื่นอ่านเลย อีกทั้งจากกสถิติส่วนใหญ่คนที่ซื้อหนังสือจะซื้อเฉลี่ย 1 — 2 เล่ม ต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมาก นอกจากนั้นกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่ซื้อหนังสืออ่าน แต่เหตุผลที่ไม่ซื้อ
เป็นเพราะหาอ่านจากห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่คือ การศึกษาจากเว็บไซต์ และเหตุผลของคนที่ไม่ได้อ่านหนังสือเลย เพราะว่าไม่มีเวลาอ่านหนังสือ หนังสือมีราคาแพงเกินไป และ ไม่ชอบอ่านหนังสือ สำหรับกลุ่มคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ได้แก่ อาชีพรับจ้าง และ นิสิต/นักศึกษา จึงเป็นที่น่าตกใจมากว่าเด็กในวัยเรียนแต่กลับไม่ชอบอ่านหนังสือ ดังนั้น เราควรสนับสนุนด้านการอ่านให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต/นักศึกษา รู้สึกอยากอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่ให้แง่คิดในการสนับสนุนที่จะทำให้ตนเองและคนไทยรักการอ่านเพิ่มขึ้นว่าควรเพิ่มห้องสมุดประชาชนให้ทั่วถึงเพื่อกระจายหนังสือมากขึ้น รองลงมา คือ หาวิธีลดราคาหนังสือลง เพื่อให้คนหาซื้อหนังสือมากขึ้น และ พิมพ์หนังสือแจกให้กับนักเรียนนักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปเนื่องในโอกาสหรือเทศกาลสำคัญต่างๆของไทย ซึ่งก็เป็นวิธีที่ดีและน่าสนใจมากทีเดียวที่ประชาชนช่วยกันเสนอความคิดเห็นที่จะช่วยให้พวกเขาเองหันมาอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้นจากเดิม