“ไหมเย็บแผลต้านแบคทีเรีย” นวัตกรรมลดความเสี่ยงติดเชื้อแผลผ่าตัด สิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามในการยับยั้งการติดเชื้อที่ต้นเหตุ

ข่าวทั่วไป Tuesday February 9, 2010 09:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ก.พ.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ในขณะที่การติดเชื้อของแผลผ่าตัดเพิ่งเป็นประเด็นร้อนในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ ถือได้ว่าการติดเชื้อ (แบคทีเรีย) ของแผลผ่าตัดเป็นภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่พบบ่อยมากอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อที่ได้รับเชื้อจากโรงพยาบาล มีมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ โรคมะเร็งเต้านม และผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์รวมกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการผ่าตัดมากกว่า 30 ล้านครั้งต่อปี และมีอุบัติการณ์ของการติดเชื้อของแผลผ่าตัดประมาณ 500,000 ครั้ง ดังนั้น การหาสาเหตุและลดภาวะความเสี่ยงจากการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดจึงได้กลายเป็นประเด็นระดับประเทศ ในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 3 - 4 ปีที่ผ่านมา เห็นได้จาก การออกกฏหมายบังคับให้โรงพยาบาลในบางรัฐเปิดเผยอัตรา การติดเชื้อในโรงพยาบาล เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคในการเลือกโรงพยาบาลที่จะเข้าทำการรักษา รวมไปทั้งระบบประกันสังคมจะไม่จ่ายเงินชดเชยสำหรับค่ารักษาพยาบาลบางประเภทที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งทำให้โรงพยาบาลต้องแบกรับภาระในส่วนนี้ นโยบายเหล่านี้ส่งผลให้โรงพยาบาลในสหรัฐฯ เร่งยกระดับมาตรฐานด้านการป้องกันการติดเชื้อตามมา สำหรับปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัดนั้น เกิดได้จาก 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น อายุ โรคประจำตัว ระดับภูมิคุ้มกัน ภาวะโภชนาการ การสูบบุหรี่ เป็นต้น เทคนิคและวิธีการปฏิบัติตัวในห้องผ่าตัดของบุคลากรทางการแพทย์ และที่ไม่อาจมองข้ามคืออุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกที่ เกิดจากตัวผู้ป่วยเองนั้นไม่สามารถควบคุมได้มากนัก แต่ปัจจัยภายในอย่างวิธีการปฏิบัติตัวในการผ่าตัด และวัสดุอุปกรณ์ในการผ่าตัดนั้น สามารถควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ เช่น การกำหนดมาตรการควบคุม อย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือการเลือกใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าภาวะการติดเชื้อจะมาจากปัจจัยใด ต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ คือ แบคทีเรีย (Bacteria) ดังนั้น การป้องกันการเกิดและสะสมของเชื้อแบคทีเรียจึงเป็นวิธีการยับยั้งการติดเชื้อที่ต้นเหตุอย่างหนึ่ง ซึ่งย่อมดีกว่า การรักษาอาการติดเชื้อในภายหลัง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสกับแผลโดยตรง เช่น ไหมละลายเคลือบด้วยไตรโคลซานที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อช่วยลดภาวะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าทางโรงพยาบาลจะเห็นความสำคัญของนวัตกรรมเหล่านี้ และเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยอย่างไร อาจารย์นายแพทย์ วิทูร ชินสว่างวัฒนกุล รองหัวหน้าภาควิชาฝ่ายวิจัยและวิชาการ รพ.ศิริราช กล่าวว่า “โดยทั่วไป โรงพยาบาลทุกแห่งจะต้องศึกษาและเฝ้าระวังปัญหาการติดเชื้อของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดอย่างใกล้ชิด นอกจาก การกำหนดมาตรฐานที่ใส่ใจในทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดแล้ว วัสดุที่ใช้ในการผ่าตัดก็มีความสำคัญ ไม่เว้นแม้กระทั่งไหมเย็บแผลที่ต้องมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถยับยั้งการสะสมเชื้อโรค เพราะไหมเพียงเส้นเดียวก็อาจกลายเป็นบ้านให้เชื้อแบคทีเรียมาเกาะสะสม และเมื่อแบคทีเรียเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ก็จะก่อให้เกิดภาวะการติดเชื้อได้ นวัตกรรมไหมละลายต้านแบคทีเรียที่เคลือบด้วยไตรโคลซาน ซึ่งเป็นสารต้านเชื้อแบคทีเรียที่ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปากกันมาเป็นเวลานานนั้นเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อตรงบริเวณแผลผ่าตัดได้เป็นอย่างดี จึงนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ควรมองข้าม” ไตรโคลซานเป็นสารที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ว่า มีความบริสุทธิ์สูง มีความปลอดภัย ไม่มีพิษต่อร่างกาย มีประสิทธิภาพต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุของการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด ความปลอดภัยอาจจะเห็นได้จากความนิยมในการใช้ไตรโคลซานเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง เช่น ยาสีฟัน ครีมล้างหน้า ครีมอาบน้ำ น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น ผลการศึกษาผู้ป่วย 2,088 ราย ใน ยุโรป ที่ได้รับการผ่าตัดทาง ช่องท้อง พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างคนไข้สองกลุ่ม คนไข้กลุ่มที่ใช้ไหมละลายต้านแบคทีเรียที่เคลือบไตรโคลซาน มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 4.9% ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ไหมชนิดดังกล่าวมีอัตราการติดเชื้อถึงร้อยละ 10.38% หรือเทียบได้เป็น 2 เท่า ในส่วนประเด็นเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ผ่าตัดด้านหัวใจ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการผ่าตัดแบบที่ใช้ไหมละลายธรรมดา ต่างจากการใช้ไหมละลายต้านแบคทีเรียที่เคลือบสารไตรโคลซานเพียง 9 เหรียญสหรัฐ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลผ่าตัด จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อการรักษาอันเกี่ยวเนื่องกับ การติดเชื้ออีก 11,200 เหรียญสหรัฐ ผลการเปรียบเทียบนี้แสดงให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายในการป้องกันที่เพิ่มขึ้นจาก การใช้ไหมละลายต้านแบคทีเรีย มีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง จึงนับว่านวัตกรรมนี้น่าจะช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในวงการแพทย์ลงได้อย่างมาก จากการศึกษาในประเทศไทยถึงผลกระทบที่ตามมาจากการติดเชื้อของแผลผ่าตัด พบผลกระทบทางตรงได้แก่ ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลนานขึ้นเฉลี่ย 12 วัน หรือการที่ต้องเข้ามารักษาซ้ำ และทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบัน ผู้ป่วยทั่วโลกมีโอกาสติดเชื้อในโรงพยาบาล ร้อยละ 5 — 10 โดยในประเทศไทยแต่ละปีมีผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลราว 4 ล้านคน ในจำนวนนี้จะมีผู้ป่วยโรคติดเชื้ออย่างน้อย 300,000 ราย โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5.9 ของทั้งหมด หรือคิดเป็น 1.8 หมื่น รายต่อปี ที่ผ่านมาพบว่าการติดเชื้อที่เกิดจาก แผลผ่าตัดอย่างเดียวทำให้ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณไปเป็นจำนวนกว่า 1,600-2,400 ล้านบาทต่อปีในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเหล่านี้ นอกจากนี้การศึกษาในสหรัฐฯ ยังพบว่าการติดเชื้อของแผลผ่าตัดทำให้อัตราการตายเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า1 ส่วนผลกระทบทางอ้อมคือ การสูญเสียรายได้เนื่องจากผู้ป่วยต้องลาหยุดพักงาน และการที่ผู้ป่วย ไม่พอใจกับผลการรักษาก็อาจนำไปสู่การฟ้องร้อง ซึ่งมักพบเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังรวมถึงภาวะด้านจิตใจของผู้ป่วยและญาติซึ่งไม่อาจประเมินค่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางรายที่อาจถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ พิการ ตาบอด หรือเสียชีวิต ดังนั้น ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล รวมถึงการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ควรหันมา ให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากโรงพยาบาล ด้วยการเพิ่มมาตรการให้เข้มงวดยิ่งขึ้น และไม่ละเลยการนำนวัตกรรมที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวมาใช้กับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม หากเราไม่ต้องการเห็น ความสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมที่กล่าวมาข้างต้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: คุณชุติมา บวรรัตนโชติ ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน (ประเทศไทย) โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 211 e-Mail: cbovonratanachote@th.hillandknowlton.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ