ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 48 ขยับขึ้นเล็กน้อยตามยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

ข่าวทั่วไป Wednesday January 25, 2006 14:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--ส.อ.ท.
ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 48 ขยับขึ้นเล็กน้อยตามยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
แต่เอกชนยังหวั่นอุปสรรคเรื่องราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย เสนอรัฐขยายตลาดส่งออก พร้อมกำหนดมาตรฐาน
สินค้านำเข้า
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI)
ในเดือนธันวาคม 2548 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 470 ตัวอย่าง ครอบคลุม 33 กลุ่ม
อุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมฯ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
100.4 จาก 97.0 ในเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สำหรับสาเหตุที่ทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากค่าดัชนีหลักที่นำมาใช้คำนวณ 3 ใน 5 ปัจจัยปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
ค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และ ผลประกอบการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 112.4 111.3
และ 108.7 ในเดือนพฤศจิกายน เป็น 117.2 116.2 และ 114.2 ในเดือนธันวาคม ตามลำดับ ขณะที่ดัชนี
ความเชื่อมั่นโดยรวมของปริมาณการผลิต และต้นทุนการประกอบการ ปรับตัวลดลงจาก 117.3 และ 72.8 ใน
เดือนพฤศจิกายน เป็น 115.2 และ 68.5 ในเดือนธันวาคม ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากมองจากผลการสำรวจค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวขึ้นนั้น เนื่อง
มาจากในช่วงเดือนธันวาคมที่ทำการสำรวจ ผู้ประกอบการเริ่มมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น
ประกอบกับผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามปัจจัย ที่ผู้ประกอบการยังคงกังวลคือ ราคาน้ำมันที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง รวมถึงอัตราดอกเบี้ย
ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมในแต่ละปัจจัยที่เหลือของเดือนธันวาคม 2548 ผลสำรวจพบว่ามีการ
เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับค่าดัชนีหลัก คือ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่น
โดยรวมต่อยอดคำสั่งซื้อในประเทศ ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ยอดขายในประเทศ และยอดขายในต่าง
ประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 105.3 115.5 108.2 และ 113.0 ในเดือนพฤศจิกายน เป็น 106.9 120.7 111.3
และ 126.0 ในเดือนธันวาคม ตามลำดับ ส่วนค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมต่อราคาขาย สินค้าคงเหลือ การ
จ้างงาน และการใช้กำลังการผลิต เพิ่มขึ้นจาก 115.4 107.8 109.5 และ 131.0 ในเดือนพฤศจิกายน
เป็น 121.0 118.7 113.0 และ 131.8 ในเดือนธันวาคม ตามลำดับ เช่นเดียวกับค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดย
รวมต่อการลงทุนของกิจการ สินเชื่อในการประกอบการ สภาพคล่องของกิจการ และความสามารถในการแข่งขัน
เพิ่มขึ้นจาก 111.0 106.8 96.1 และ 104.7 ในเดือนพฤศจิกายน เป็น 114.3 107.7 98.5 และ 106.9
ในเดือนธันวาคม ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ สภาวะในกลุ่ม
อุตสาห-กรรม และ สภาวะของการประกอบการของกิจการ เพิ่มขึ้นจาก 161.3 138.2 และ 114.0 ในเดือน
พฤศจิกายน เป็น 177.5 141.3 และ 116.6 ในเดือนธันวาคม ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมฯ โดยจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมของสภา
อุตสาหกรรมฯ จำนวน 33 กลุ่ม พบว่า ค่าดัชนีรายอุตสาหกรรมเปรียบเทียบระหว่างเดือนพฤศจิกายนกับเดือน
ธันวาคม 2548 มีอุตสาหกรรมที่มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 21 กลุ่มอุตสาหกรรม ลดลง 12 กลุ่มอุตสาหกรรม ใน
กลุ่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมี 12 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ค่าดัชนีมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ได้แก่ อุตสาหกรรมการ
พิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ เพิ่มขึ้นจาก 82.4 เป็น 99.1 อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เพิ่มขึ้นจาก 69.5 เป็น
98.7 อุตสาห-กรรมเคมี เพิ่มขึ้นจาก 90.0 เป็น 101.3 อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เพิ่มขึ้นจาก
102.4 เป็น 126.5 อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ เพิ่มขึ้นจาก 64.9 เป็น 124.5 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เพิ่มขึ้น
จาก 96.4 เป็น 108.8 อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น เพิ่มขึ้นจาก 75.5 เป็น 95.9 อุตสาหกรรม
รองเท้า เพิ่มขึ้นจาก 115.1 เป็น 131.7 อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นจาก 110.5 เป็น
157.7 อุตสาหกรรมอลูมิเนียม เพิ่มขึ้นจาก 107.3 เป็น 123.7 อุตสาหกรรมการจัดการของเสียและวัสดุ
เหลือใช้ เพิ่มขึ้นจาก 119.0 เป็น 130.0 และอุตสาหกรรมน้ำตาล เพิ่มขึ้นจาก 82.9 เป็น 109.6 ในทาง
กลับกันมี 7 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ค่าดัชนีมีการปรับตัวลดลงอย่างมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก ลดลงจาก
107.1 เป็น 90.1 อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ ลดลงจาก 104.8 เป็น 79.6 อุตสาหกรรม
เครื่องจักรกลการเกษตร ลดลงจาก 79.1 เป็น 68.6 อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ลดลงจาก 113.3 เป็น
97.0 อุตสาหกรรมยานยนต์ ลดลงจาก 123.6 เป็น 112.4 อุตสาหกรรมก่อสร้าง ลดลงจาก 108.7 เป็น
90.8 และอุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม ลดลงจาก 135.7 เป็น 77.3 ทั้งนี้ สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าดัชนี
ของรายกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องมาจากปัญหาราคาต้นทุนวัตถุดิบราคาแพงและมีการ
แข่งขันที่สูงขึ้น
ด้านของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกิจการในแต่ละอุตสาหกรรม ผลสำรวจพบว่าผู้ประกอบการ ในกลุ่ม
อุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับระดับราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังคงมีแนวโน้ม
ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ปัจจัยที่มีผลกระทบด้านบวกต่อกิจการ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดย
ในส่วนปัจจัยเรื่องผลกระทบจากการที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ผู้ประกอบการเห็นว่า
เป็นปัจจัยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจตนมากนัก
ในส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่แยกพิจารณาตามขนาดของกิจการพบว่า ผู้ประกอบการ
ในอุตสาหกรรมทั้ง 3 ขนาด ได้แก่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่มีจำนวนแรงงาน 1 - 49 คน ผู้
ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางที่มีจำนวนแรงงาน 50 - 199 คน และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาด
ใหญ่ที่มีจำนวนแรงงานมากกว่า 200 คนขึ้นไป มีความเชื่อมั่นต่อสภาวะการประกอบการอุตสาหกรรมในระดับที่
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นจาก 88.3 100.2 และ 102.3 ในเดือนพฤศจิกายน
เป็น 92.5 101.4 และ 110.4 ในเดือนธันวาคม ตามลำดับ
สำหรับค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมแยกตามภูมิภาค พบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมใน
4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัว
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นจาก 95.9 96.5 89.9 และ 90.0 ใน
เดือนพฤศจิกายน เป็น 98.2 102.8 95.5 และ 104.7 ในเดือนธันวาคม ตามลำดับ ในขณะที่ผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกมีค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีค่าดัชนีลดลง
จาก 111.0 เป็น 110.5 ในเดือนธันวาคม
ทั้งนี้ สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็น
สอดคล้องกันว่า ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยในเรื่องของการขยายตลาดส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ควบคู่กับ
การกำหนดมาตรฐานสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมทั้งจัดหาแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท
ที่เผชิญกับภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบ
ตารางดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในแต่ละช่วงเวลา
2547 2548
รายการ ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
TISI 106.1 104.8 96.9 96.8 97.2 90.5 78.8 81.2 82.1 90.8 101.9 97 100.4
ตารางค่าดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัย เดือนธันวาคม 2548 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2548
รายการ พฤศจิกายน 2548 ธันวาคม 2548
ดัชนีรวม ดัชนีในปัจจุบัน ดัชนีในอนาคต ดัชนีรวม ดัชนีในปัจจุบัน ดัชนีในอนาคต
1. ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม 112.4 106.8 118.1 117.2 111.5 123
1.1 ยอดคำสั่งซื้อในประเทศ 105.3 92.3 118.2 106.9 94.3 119.5
1.2 ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ 115.5 106.7 124.3 120.7 117.3 124.1
2.ยอดขายโดยรวม 111.3 100.7 121.8 116.2 110.2 122.1
2.1 ยอดขายในประเทศ 108.2 94.2 122.2 111.3 97.1 125.6
2.2 ยอดขายในต่างประเทศ 113 103.3 122.6 126 123.3 128.7
3.ปริมาณการผลิต 117.3 112.7 121.8 115.2 108.4 121.9
4.ราคาขาย 115.4 117.3 113.4 121 120.6 121.5
5.ต้นทุนการประกอบการ 72.8 52.7 92.9 68.5 52.4 84.6
6.ผลประกอบการ 108.7 102.9 114.5 114.2 105.9 122.6
7.สินค้าคงเหลือ 107.8 112.6 103.1 118.7 127 110.4
8. การจ้างงาน 109.5 105.7 113.3 113 108.3 117.7
9. การใช้กำลังการผลิต 131 126.1 135.9 131.8 120.4 143.1
10. การลงทุนของกิจการท่าน 111 110.6 111.4 114.3 113.2 115.4
11. สินเชื่อในการประกอบการที่ได้รับ 106.8 106.6 107 107.7 108.7 106.7
12. สภาพคล่องของกิจการ 96.1 90.3 101.9 98.5 90.4 106.7
13. ความสามารถในการแข่งขัน 104.7 103.8 105.6 106.9 105.8 107.9
14. สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ 161.3 143.4 179.3 177.5 165 190.1
15. สภาวะในกลุ่มอุตสาหกรรม 138.2 128.6 147.8 141.3 128.5 154.1
16. สภาวะของการประกอบการของกิจการ 114 107.2 120.8 116.6 106.7 126.4
ตารางแสดงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ
ปัจจัย ปัจจุบัน 3 เดือนข้างหน้า
ไม่มี มี ไม่มี มี
ดีขึ้น แย่ลง ดีขึ้น แย่ลง
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในปัจจุบัน 36.4 4.4 59.2 29.1 5.7 65.1
2. อัตราแลกเปลี่ยน ดอลลาร์/บาท 45.4 23.4 31.3 40.9 29.4 29.7
3. การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ 47.1 23 29.9 42.4 25.6 32
4. การปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร 54.7 22.2 23.1 49.7 26.6 23.8
5. ราคาเชื้อเพลิง 8.3 4.7 87.1 8.6 8 83.4
6. บริการสาธารณูปโภค 16.4 7.9 75.7 15 9.9 75.1
7. ผลกระทบสภาวะเศรษฐกิจโลก 23.8 7.7 68.6 22.6 11 66.4
8. ผลกระทบจาก FTA 59.6 8.6 31.8 54.2 11.3 34.5
ตารางค่าดัชนีรวมจำแนกรายอุตสาหกรรม
2547 2548
ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
1. อุตสาหกรรมก๊าซ 110.7 104.3 109.2 92.9 121.3 115 90.7 65.1 95.7 90 111 98.1 85.2
2. อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 104.6 109.1 100.2 95.1 97.8 72.3 50.2 39.1 57.4 40.5 82.5 82.4 99.1
กระดาษ
3. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ 109.3 98.6 90.7 82.9 72.9 46.9 47.1 75.4 92.9 89.1 92 69.5 98.7
4. อุตสาหกรรมแก้วและกระจก 125.7 100 85.3 84.3 94.7 97.7 94.3 96.6 101.4 115.4 98.2 107.1 90.1
5. อุตสาหกรรมเคมี 112.9 120 108.6 104.3 105.3 85.7 82.4 102.3 95 107.9 97.5 90 101.3
6. อุตสาหกรรมเครื่องจักรและโลหะการ 72 91.4 72.9 77.1 60 68.3 61.4 57.3 47.8 61.9 91.8 104.8 79.6
7. อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร 96.3 100 80 84.7 83.3 94.8 83.5 65.3 48 87.3 88.2 79.1 68.6
8. อุตสาหรรมเครื่องนุ่งหุ่ม 91.4 96 84.3 85.3 97.1 88.3 77.3 85.9 62.7 85.9 114.9 128.4 133.3
9 อุตสาหกรรมปรับอากาศและทำความเย็น 88.8 86.3 96.3 97.5 107.5 93.2 86.3 110 95 139.3 106.7 101.6 108.4
10. อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ 116.3 116.3 103.8 98.8 113.8 96.9 75 60.2 75.7 58.9 119 102.4 126.5
ยาน ยนต์
11. อุตสาหกรรมเซรามิก 130 75.7 112.9 91.4 105.7 103.3 107.6 136.7 80.6 91.1 108.9 95.7 96
12. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 103.8 112.5 101.3 83.8 91.3 64.3 56.3 50.9 48 56.7 100.3 64.9 124.5
13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง 91.4 105.7 88.6 91.4 84.3 83.5 55.7 50.5 43.7 51.5 107.5 96.4 108.8
14. อุตสาหกรรมพลาสติก 116.5 121.7 98.9 92.2 113.3 91.8 53.3 46.6 58.9 53.9 121.4 97.7 102.5
15. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 101.3 109.3 92 97.3 96 100.8 81.2 69 80.3 96.9 101.5 113.3 97
16. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 78.6 84 63.7 88.2 105.7 71 66.7 59.3 66.3 87 125.1 126.7 119.1
17. อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น 105 111.8 83.8 103.9 92.9 101.6 78.8 76.9 89.2 91.2 100.7 75.5 95.9
18. อุตสาหกรรมยา 91.4 102 100 77.1 97.8 99 100 69.9 97.5 97.5 118.1 94.5 95.7
19. อุตสาหกรรมยานยนต์ 135.7 98 107.1 101.4 108.6 86.2 63.6 75.2 61.2 72.3 122.2 123.6 112.4
20. อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ 112 106.7 98.7 84 100 108.7 98.8 94.5 122.4 105.8 87.4 85.7 82
21. อุตสาหกรรมรองเท้า 116 112.8 105.4 111.7 95.6 108.5 80 75.2 57.2 82.7 76.3 115.1 131.7
22. อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม 105.2 82.9 80.3 93.5 69.8 50.2 50 30 25.2 85.7 85.5 110.5 157.7
23. อุตสาหกรรมสิ่งทอ 144.1 139.6 126.7 136.6 136.8 77.1 91.9 84.4 114.8 105.1 83.3 74 80.7
24. อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง 102.9 98.6 97.1 110 100 89.5 98.6 87.6 52.4 82 106.2 84.7 93.9
25. อุตสาหกรรมก่อสร้าง 98.7 109.3 104.3 104.3 82.9 92.6 81.3 43.3 50.8 65 88.8 108.7 90.8
26. อุตสาหกรรมเหล็ก 102.7 125.7 122.7 120 84 97.7 86.7 132.9 131.4 131.2 107.9 90.9 92.8
27. อุตสาหกรรมอลูมิเนียม 90.7 110.7 100 86.7 85.3 87.7 58.7 44.9 67.6 47.8 110.2 107.3 123.7
28. อุตสาหกรรมอาหาร 102.7 106.7 97.3 110.7 100 98 81.3 110.9 104.2 118.3 94 96.4 87.4
29. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 116 114.7 113.3 110.7 121.3 93.6 93.3 81.3 106.7 85.8 116.9 93.8 90.1
30. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 117.1 125.7 91.4 82.9 78.6 119.5 74.3 92.2 84 118.9 95.2 98.7 112.9
31. อุตสาหกรรมการจัดการของเสียและ - 91.4 102.4 105.7 102.9 112.9 120 82.7 91.7 78.2 123.6 119 130
วัสดุเหลือใช้
32. หัตถอุตสาหกรรม - 104.3 105.7 105.7 100 109.2 115.4 164.9 164.9 175 87.8 135.7 77.3
33. อุตสาหกรรมน้ำตาล - 84.1 75.7 102.9 106.2 73.3 70.5 72.6 76.1 70.1 84.5 82.9 109.6
ตารางแสดงค่าดัชนีสภาวะอุตสาหกรรมตามขนาดของกิจการ
2547 2548
ขนาดอุตสาหกรรม ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธค.
อุตสาหกรรมขนาดย่อม 102.5 100.3 96 92.1 92.7 85.4 73.8 77 88.9 91.6 96.3 88.3 92.5
อุตสาหกรรมขนาดกลาง 105.5 109 96.6 98.5 98.4 95.6 84.3 90.3 91.1 95.5 102.2 100.2 101.4
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 113.4 107.9 98.6 101.6 103 94.2 81.1 78.3 75.6 88.4 109.6 102.3 110.4
ตารางแสดงค่าดัชนีความเชื่อมั่นแยกตามรายภาค
ภาคกลาง (กทม. นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร
ปทุมธานีนนทบุรี สระบุรี อยุธยา นครนายก พิจิตร สุพรรณบุรี
ราชบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง)
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
80.4 86.2 91.1 97.6 95.9 98.2
ภาคเหนือ (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่
อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร
พะเยา นครสวรรค์)
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
80.8 74.7 84.6 100.7 96.5 102.8
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น สกลนคร
มหาสารคาม หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี ยโสธร มุขดาหาร
กาฬสินธ์ สุรินทร์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ เลย ร้อยเอ็ด นครพนม )
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
69.6 74.3 80.8 100.6 89.9 95.5
ภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี )
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
101.7 91.5 113.3 117.9 111 110.5
ภาคใต้ (สงขลา สุราฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง ชุมพร
ระนอง กระบี่ ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา พังงา สตูล)
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
82.4 76.3 84 105.3 90 104.7--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ