สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 4 และงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 34

ข่าวทั่วไป Tuesday March 28, 2006 16:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์เผยแพร่สู่สาธารณชน และโครงการนักเขียนพบผู้อ่าน (วันที่ 6 เมษายน 2549)อบรมเชิงปฏิบัติการ “การเตรียมต้นฉบับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับการพิมพ์”เสวนา “วิทยาศาสตร์แนวไหน? โดนใจสำนักพิมพ์”ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 4
และงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 34 เวลา 08.00 — 17.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมสนับสนุนโดย มูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์
หลักการและเหตุผล
ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.) สังกัดสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยบรมราชูปถัมภ์ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของบุคคล 3 กลุ่มหลัก คือ นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ และผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่เรื่องราวของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่อเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน อันจะนำตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า หรือีกนัยหนึ่งเป็นการสร้างความตระหนักทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่ประชาชนคนไทยอย่างแพร่หลาย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในแบบอย่างที่สมบูรณ์สืบไป
เพื่อสนองตอบเจตนารมณ์ดังกล่าว ชมรม นจวท. ได้จัดทำโครงการต่าง ๆ ในแต่ละปี ซึ่งโครงการเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์เผยแพร่ต่อสาธารณชนและโครงการนักเขียนพบผู้อ่าน เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 4 และงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 34 (จัดในระหว่างวันที่ 29 มีนาคม — 9 เมษายน 2549) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชมรม นจวท. ได้ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อเรื่อง “การเตรียมต้นฉบับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับการพิมพ์” นั้น และได้จัดโครงการ เสวนานักเขียนพบผู้อ่าน ในหัวข้อเรื่อง “เรื่องวิทยาศาสตร์แนวไหน? โดนใจสำนักพิมพ์” ขึ้น ในวันที่ 6 เมษายน 2549 เวลา 0.800 — 17.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
2. เพื่อฝึกทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์
3. เพื่อเรียนรู้หลักในการเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์
4. เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5. เพื่อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักเขียนและผู้อ่าน
6. เพื่อให้มีเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเผยแพร่เรื่องทางวิทยาศาสตร์
7. เพื่อสร้างความตระหนักทางด้านวิทยาศาสตร์แก่ประชาชน
8. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
กลุ่มเป้าหมาย
1. ครู - อาจารย์
2. นิสิต - นักศึกษา
3. ประชาชนผู้สนใจทั่วไป
เปิดรับผู้เข่าร่วมอบรมประมาณ 100 คน ค่าใช้จ่ายในการอบรม คนละ 300 บาท
วิธีดำเนินงาน
1. ประสานงานจัดหาวิทยากรสำหรับจัดอบรมและเสวนา
2. แจ้งข้อมูลไปหน่วยงานราชการและภาคเอกชน เช่น สถาบันการศึกษา บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งสมาชิก
3. ทำการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมลักษณะการดำเนินงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีดังนี้
- แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่ม
- วิทยากรจะบรรยาย อธิบายทฤษฎีการเขียนในลักษณะต่าง ๆ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย เขียนกลอน การเขียนเรื่องสำหรับเด็กและเยาวชน สารคดี บทความ การเขียนข่าว (วิทยากรจะเป็นนักเขียนระดับมืออาชีพ)
- ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกปฏิบัติ
- ซักถามและประเมินผล
- ให้ผู้รับการอบรมส่งผล เพื่อให้บรรณาธิการพิจารณาและเผยแพร่โครงการนักเขียนพบผู้อ่าน
- จัดวิทยากรที่เป็นนักเขียนมืออาชีพมาเสวนาตามหัวข้อที่ตั้งไว้
- ให้นักเขียนที่เป็นมือสมัครเล่นได้ซักถามปัญหาสิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับ
- ความรู้และประสบการณ์ในการเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์
- รู้เทคนิคการเขียนเรื่องต่าง ๆ
- เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม
- เกียรติบัตรการเข้ารับการอบรม 1 ฉบับ
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ
งบประมาณ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 30,000 บาท ระยะเวลาจัดอบรมและเสวนา 1 วัน จัดอบรมในวันที่ 6 เมษายน 2549 ณ ห้อง Meeting Room 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมโปรดแจ้งความจำนงได้ที่ เลขานุการชมรมฯ มือถือ 01-627-7895 และค่าอบรม 300 บาท (จ่ายชำระค่าอบรมที่หน้างาน) ท่านสามารถนำต้นฉบับงานเขียนมาขอคำแนะนำจากนักเขียนมืออาชีพได้
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ : การเตรียมต้นฉบับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับการพิมพ์วันที่ 6 เมษายน 2549 จัดโดย ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.)ภายใต้สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
กำหนดการ
08.00 — 0.900 น. ลงทะเบียน / รับเอกสาร
09.00 — 09.30 น. ประธาน นจวท. กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน
0.930 — 12.00 น. เสวนานักเขียนพบผู้อ่าน “เรื่องวิทยาศาสตร์แนวไหน? โดนใจสำนักพิมพ์” วิทยากร : บรรณาธิการจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ
? นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร บรรณาธิการ สำนักพิมพ์สถาพร
? นายสุวัฒน์ อัศวไชยชาญ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์สารคดี
? นายวิริยะ สิริสิงห บรรณาธิการ สำนักพิมพ์ชมรมเด็กและนักเขียน
? รศ.วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ นักเขียนเรื่องทางวิทยาศาสตร์
? ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์มติชน
ผู้ดำเนินรายการ : ชัยวัฒน์ ศีตะจิตต์
(รับประทานอาหารว่างในห้องประชุม)
12.00 — 13.00 น. พัก / อาหารกลางวัน
3.00 — 15.00 น. ? การอบรมเชิงปฏิบัติการ : “การเตรียมต้นฉบับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับการพิมพ์”
? แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักเขียนมืออาชีพ มือใหม่ ตัวแทนสำนักพิมพ์ โดยมี “โบตั๋น” ศิลปินแห่งชาติ และนักเขียนรับเชิญผู้ชนะเลิศนิยายวิทยาศาสตร์รางวัล “จันตรี ศิริบุญรอด”
? ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเขียนเค้าโครงเรื่องทางวิทยาศาสตร์
15.00 — 15.30 น. พัก / รับประทานอาหารว่าง
15.30 — 16.45 น. วิจารณ์ผลงานของผู้เข้าฝึกอบรม โดยนักเขียนมืออาชีพ
16.45 — 17.00 น. ปิดงาน
ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมโปรดแจ้งความจำนงได้ที่ เลขานุการชมรมฯ มือถือ 01-627-7895 และค่าอบรม 300 บาท (จ่ายชำระค่าอบรมที่หน้างาน) ท่านสามารถนำต้นฉบับงานเขียนมาขอคำแนะนำจากนักเขียนมืออาชีพได้
นายบำรุง ไตรมนตรี ประธานชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.) แจ้งว่า ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ท่านวิทยากรและท่านผู้เข้าร่วมรับการอบรมทุกท่านได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ สำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเตรียมต้นฉบับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับการพิมพ์” และเสวนานักเขียนพบผู้อ่านเรื่อง “วิทยาศาสตร์แบบไหน? โดนใจสำนักพิมพ์”
ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ มีชื่อย่อว่า นจวท. เป็นองค์ภายใต้สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีกำเนิดมา 25 ปีแล้ว โดยการรวมตัวของกลุ่มบุคคล 3 กลุ่ม คือ นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ นักเขียนนักสื่อสารมวลชนด้านวิทยาศาสตร์ และผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ประชาชนได้มีความรู้ และมีทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสูงมาก ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งในภาคอุตสาหรรม การเพิ่มผลผลิต การทหาร การแพทย์ การสาธารณสุข การคมนาคมและสื่อสาร รวมทั้งการป้องกันประเทศ
ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์นับวันแต่จะมากยิ่งขึ้น มิใช่ต่อมนุษย์ทุกคนเท่านั้น วิทยาศาสตร์ได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทสูงยิ่งต่อสังคม เพราะถือว่าเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศในเชิงเศรษฐกิจอีกด้วย กล่าวคือ ประเทศที่มีการพัฒนาสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีย่อมมีเศรษฐกิจที่มั่นคง ดังคำกล่าวของ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่กล่าวว่า “ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองอำนาจ ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองเศรษฐกิจ” ซึ่งชมรม นจวท.ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากมูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์ ให้มาจัดกิจกรรมในวันนี้
ในฐานะประธานชมรม นจวท. คนปัจจุบัน ผมตั้งความหวังว่าในปี 2549 ซึ่งเป็นปีแห่งการบุกงานและสร้างความตระหนัก ในการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยมีโครงการที่เตรียมไว้และกำลังดำเนินการอยู่ประกอบด้วย
? การบรรยายวิทยาศาสตร์ตามกระแสเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่น่าสนใจ หรือที่ว่าเป็นข่าวตามกระแสในช่วงเวลานั้น ๆ ให้กับประชาชนทั่วไป ดังเช่น การจัดเสวนาวิทยาศาสตร์ตามกระแสเรื่อง “วิทยาศาสตร์แดจังกึม” ซึ่งจัดที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปแล้วเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา
? โครงการวิทยาศาสตร์สัญจร เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมทางภูมิปัญญาวิทยาศาสตร์ของคนไทยที่น่ารู้ตามภูมิภาคต่าง ๆ โดยจะมีการจัดนำสมาชิกและสื่อมวลชนไปยังสถานที่นั้น ๆ เพื่อศึกษาและหาข้อมูลนำมาเผยแพร่ให้เกิดการต่อยอดทางนวัตกรรม ซึ่งคงจะดำเนินการได้ในเร็ว ๆ นี้
? โครงการผลิตหนังสือชุดสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ไทย ได้ทำออกมาแล้ว 2 เล่ม เล่มแรก คือ ยอดนักวิทยาศาสตร์ ดร.วิโรจน์ ตันตราภรณ์” และเล่มที่ 2 เพิ่งจะออกสู่ร้านหนังสือแล้ว คือ “ยอดวิศวกรนักพัฒนา ดร.พีรศักดิ์ สุนทโรสถ” เป็นหนังสือที่ผมตั้งใจทำสำหรับเยาวชนอ่านเพื่อเป็นแบบอย่างว่า ประเทศไทยก็มีนักวิทยาศาสตร์เก่ง ๆ มีผลงานระดับนานาชาติที่อ่านแล้วจะได้มีความอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ เพื่อที่ประเทศไทยจะได้มี นักวิทยาศาสตร์มาก ๆ จะได้ช่วยกันพัฒนาประเทศของเรา ผมพยายามจะผลิตสื่อในลักษณะนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมได้เกิดความตระหนักในด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น
ส่วนการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเตรียมต้นฉบับสำหรับการพิมพ์”ซึ่งจัดในครั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น เป็นการฝึกทักษะให้แก่นักเขียนเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประเทศไทยเรายังขาดแคลนข่าวสารข้อมูลหรือข้อเขียนทางวิทยาศาสตร์ในสื่อสิ่งพิมพ์อยู่มาก ทั้ง ๆ ที่ยุคนี้เป็นยุควิทยาศาสตร์
เรื่องราวต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์มีอีกมากมายที่ผู้คนในสังคม ยังไม่ได้มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้วิทยาศาสตร์เหล่านี้ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นในแต่ละวันอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ความรู้เหล่านี้ หากได้รับการขัดเกลาให้เข้าใจง่าย อ่านสนุก อ่านแล้วมีความสุข กระตุ้นให้ผู้คนเกิดความอยากรู้อยากเห็น เหมือนกับการรับรู้จากความบันเทิงด้านอื่น ๆ จะเป็นคุณอนันต์ต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติในที่สุด
ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.) จะพยายามดำเนินกิจกรรมร่วมกับนักวิทยาศาสตร์และสื่อมวลชน ที่จะทำให้มีการพัฒนาหรือสร้างสรรค์วิธีการหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่ออย่างมีเหตุมีผลในแง่วิทยาศาสตร์ไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น และเพียงพอที่จะกระตุ้นความเป็นวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ให้จงได้ ขอให้ทุกท่านมาเป็นแนวร่วมกับพวกเรา ขอต้อนรับท่านทั้งหลายและขอขอบคุณวิทยากรและมูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์ มา ณ โอกาสนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ