AMD ชู AMD64 เป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานสำหรับซิสเต็มและนวัตกรรมที่เปิดกว้างสำหรับทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก

ข่าวเทคโนโลยี Thursday June 8, 2006 14:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
- แผนพัฒนาสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่, การพัฒนาเทคโนโลยีระดับซิสเต็ม, การอัพเดทกระบวนการผลิต, แพลตฟอร์มไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์สำหรับผู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นหลัก —
- พันธมิตรธุรกิจชั้นนำของโลกให้การสนับสนุนวิสัยทัศน์ของเอเอ็มดี เผยโฉมโซลูชั่นที่พัฒนาบนแพลตฟอร์มของเอเอ็มดี -
ด้วยการยึดมั่นในหลักความเป็นผู้นำ, การสนับสนุนพันธมิตร และการสำเร็จของลูกค้า วันนี้เอเอ็มดี (NYSE: AMD) เปิดเผยนโยบายใหม่ที่มีเป้าหมายที่การขยายความเป็นผู้นำเข้าไปยังทุกๆแพลตคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน เอเอ็มดีได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่, แผนพัฒนาเทคโนโลยีระดับซิสเต็มเพื่อยกระดับความสามารถในการทำงานร่วมกันและเพิ่มโอกาสให้กับพันธมิตรที่ใช้แพลตฟอร์มเอเอ็มดีในการสร้างมูลค่าเพิ่มเข้าไปในแพลตฟอร์มเหล่านั้น และรายละเอียดเกี่ยวกับการอัพเกรดกระบวนการผลิต นอกจากนี้เอเอ็มดียังเผยถึงแผนสำหรับแพลตฟอร์มไฮเพอร์ฟอร์ แมนซ์คอมพิวเตอร์ใหม่สำหรับผู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นหลัก ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลต่างๆในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำแนวทางและความมุ่งมั่นของเอเอ็มดีในการมอบเทคโนโลยีที่ดีที่สุดแก่ตลาดในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
"ในปี 2003 เอเอ็มดีได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในวงการไมโครโปรเซสเซอร์ด้วยการเปิดตัวสถาปัตยกรรม AMD64" เฮ็กเตอร์ รูอิซ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร บริษัทเอเอ็มดี กล่าวว่า "ด้วยกระแสในตลาดที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เรากำลังเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่ตามแผนเปลี่ยนเกม เพื่อขยายความสามารถ, เพิ่มสมรรถนะในระดับซิสเต็มและสมรรถนะต่อวัตต์ และนำเสนอแพลตฟอร์ม x86 ที่ง่าย เปิดกว้าง และล้ำหน้าแก่ผู้ที่ต้องการโซลูชั่นที่แตกต่างและสามารถตอบสนองความต้องการใช้งานได้อย่างครบถ้วน สิ่งที่เปิดเผยออกมาในวันนี้คืออนาคตของเอเอ็มดี - การเปลี่ยนเอเอ็มดีสู่บริษัทอันดับ 1 ของโลก"
เดิร์ค เมเยอร์ ประธานและประธานฝ่ายปฏิบัติการ กล่าวว่า "ขณะที่เราพอใจกับการยอมรับของลูกค้าและยินดีกับความสำเร็จในการทำตลาด เมื่อพิจารณาสิ่งที่อยู่รอบๆที่เรากำลังแข่งขันอยู่แล้ว เรายังคงมุ่งมั่นทำงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ การแนะนำเทคโนโลยีใหม่ในวันนี้แสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมในทุกๆส่วนธุรกิจของเรา ด้วยความช่วยเหลือจากเหล่าพันธมิตรและลูกค้า เราจะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งสำหรับนวัตกรรมและความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมของเอเอ็มดี"
การเปิดเผยของเอเอ็มดีจะครอบคลุมเทคโนโลยีและตลาดในหลายส่วน ได้แก่ เซิร์ฟเวอร์, เดสก์ท็อป และโมบายคอมพิวติ้ง และตั้งแต่ซิลิคอนไปจนถึงซอฟต์แวร์ พันธมิตรสำคัญ ได้แก่ เอเลี่ยนแวร์ (Alienware), เครย์ (Cray), เอชพี (HP), แร็คเอเบิลซิสเต็มส์ (Rackable Systems), ซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems) และวีเอ็มแวร์ (VMware) ร่วมด้วยผู้บริหารจของเอเอ็มดีในช่วงวิเคราะห์เพื่อย้ำความชัดเจนของกลยุทธ์ของเอเอ็มดีในการขยายธุรกิจออกไปให้ครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ของอุตสาหรรม
แพลตฟอร์มใหม่ เน้นสมรรถนะ
ในฐานะผู้ผลิตรายแรกที่ผู้บริโภคนึกถึงเมื่อกล่าวถึงเรื่องสมรรถนะ เอเอ็มดีได้แนะนำแพลตฟอร์มใหม่โค้ดเนม “4x4” ออกมาในวันนี้ เพื่อตอกย้ำเจตนาของเอเอ็มดีที่มุ่งมั่นนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคที่ต้องการไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์พีซี ความโดดเด่นของแพลตฟอร์ม 4x4 อยู่ที่การใช้โปรเซสเซอร์แบบ Multi-Socket Four-Core ร่วมกับสถาปัตยกรรม Direct Connect Architecture ยิ่งกว่านั้นแพลตฟอร์มนี้ยังได้รับการออกแบบมาให้สามารถรองรับโปรเซสเซอร์แบบ 8 คอร์ได้ด้วย ซึ่งมีกำหนดออกสู่ตลาดในปี 2550 โปรเจค 4x4 ยังหมายถึงการพัฒนาในระดับซิสเต็มเพื่อผู้ที่ชื่นชอบเรื่องสมรรถนะโดยเฉพาะ ระบบจะสามารถทำงานได้หลากหลายทั้งเกม, ดิจิตอลวีดีโอ, มัลติ-โปรเซสเซอร์ และแอพพลิเคชั่นที่มีโหลดหนักๆ
ผู้นำสถาปัตยกรรม
ฟิล เฮสเตอร์ ประธานฝ่ายเทคโนโลยี บริษัทเอเอ็มดี ได้เปิดเผยเกี่ยวกับทิศทางการดีไซน์ผลิตภัณฑ์ของเอเอ็มดีในอนาคต และย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนานวัตกรรมผ่านการทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตร เฮสเตอร์เปิดเผยถึงสถาปัตยกรรมโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ของเอเอ็มดีสำหรับเซิร์ฟเวอร์และเดสก์ท็อป, ดีไซน์ชิปใหม่สำหรับแพลตฟอร์มโมบาย และโปรเซสเซอร์และแพลตฟอร์มโร้ดแม็ปของเอเอ็มดี
สถาปัตยกรรมรุ่นใหม่สำหรับเซิร์ฟเวอร์, เวิร์คสเตชั่น และเดสก์ท็อป มีกำหนดเปิดตัวกลางปี 2550 เอเอ็มดีคาดว่าสถาปัตยกรรมนี้จะทำให้สมรรถนะต่อวัตต์ของเอเอ็มดีขยับขึ้นไปอีกระดับ เช่นเดียวกับสมรรถนะในการประมวลผลเอนเตอร์ไพรซ์แอพพลิเคชั่นที่เอเอ็มดีเป็นผู้นำอยู่ในปัจจุบัน โปรเซสเซอร์ใหม่จะมีทั้งแบบ Quad-Core หรือ 4 คอร์โปรเซสเซอร์ สำหรับเซิร์ฟเวอร์, เวิร์คสเตชั่น และไฮเอนด์เดสก์ท็อป และแบบ Dual-Core สำหรับเมนสตรีมเดสก์ท็อป ทั้งหมดใช้เทคโนโลยี 65nm Silicon-on-Insulator ในกระบวนการผลิต รวมถึงฟังก์ชั่นและสถาปัตยกรรมส่วนย่อยที่ได้รับอัพเกรดให้ดีขึ้น เช่น ความสามารถในการเลือกความถี่สำหรับแต่ละคอร์ได้อย่างอิสระเพื่อให้เหมาะกับโหลดงานนั้นๆและเพื่อประหยัดพลังงาน สำหรับผลลัพธ์ ปี 2550 เอเอ็มดีคาดหวังตัวเลขสมรรถนะต่อวัตต์ที่สูงขึ้น 60% เทียบกับ AMD Opteron รุ่นปัจจุบัน และ 150% สำหรับปี 2551
โมบายโปรเซสเซอร์ใหม่มีกำหนดลงตลาดภายในครึ่งหลังของปี 2550 มีสิทธิภาพใน การใช้พลังงานสูงขึ้นและรันบนแบตเตอรี่ได้นานขึ้น อีกหนึ่งการพัฒนาคือการเพิ่มความสามารถให้โมบายโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่เป็น Dual-Core แยกจ่ายพลังงานให้กับแต่ละคอร์ได้อย่างอิสระ รวมถึงการปิดการทำงานของอีกคอร์หนึ่งหากไม่ได้ใช้งาน และความสามารถในการควบคุมแบนด์วิธของ HyperTransport ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานะการทำงานและแอพพลิเคชั่นที่รันอยู่ด้วย
ในส่วนของนโยบายความร่วมมือและโอเพ่นสแตนดาร์ดของเอเอ็มดีนั้น มาร์ตี้ เซเยอร์ รองประธานอาวุโส กลุ่มคอมเมอร์เชียล ได้กล่าวถึง 3 กลยุทธ์ เพื่อกระตุ้นการยอมรับและใช้งานแพลตฟอร์ม AMD64 ในวงกว้าง
“Torrenza” แพลตฟอร์ม x86 ที่พัฒนาบนโอเพ่นสแตนดาร์ดและมุ่งตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า เป็นการรวมคุณสมบัติเด่นของ Direct Connect Architecture และ HyperTransport ของ AMD64 เข้าด้วยกันเพื่อเปิดช่องให้ผู้จัดหาโปรเซสเซอร์และฮาร์ดแวร์สามารถเติมมูลค่าเพิ่มเข้าไปในโซลูชั่นของพวกเขาได้อย่างอิสระมากขึ้น “Torrenza” จะเปิดโอกาสให้ผู้พัฒนานวัตกรรมสามารถพัฒนาโคโปรเซสเซอร์ (Co-Processor) ขึ้นมาทำงานร่วมกับโปรเซสเซอร์ของเอเอ็มดีในระบบ Multi-Socket ได้ เซเยอร์ยังเปิดเผยด้วยว่าขณะนี้เฟสแรกของ “Torrenza” ใกล้สำเร็จแล้วผ่านการลงทุนของกลุ่มพันธมิตร HyperTransport ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตชิปเซ็ต เฟสต่อไปคือการให้ไลเซนส์ HyperTransport แก่สมาชิกในอุตสาหกรรมชิปทั่วโลก; การพัฒนาซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ การซัพพอร์ตสล็อต HTX และด้วย “Torrenza” บรรดาผู้ผลิตโออีเอ็มจะมีความสามารถใหม่สำหรับสร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ของพวกเขาผ่านนวัตกรรมบนแพลตฟอร์ม AMD64
“Trinity” คือกลยุทธ์เพื่อการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์แบบ ผ่านโอเพ่นสแตนดาร์ด, ซีเคียวริตี้, เวอร์ชวลไลเซชั่น และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการ “Trinity” ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มยืดหยุ่นและลดต้นทุนในการบริหารจัดการ ซีเคียวริตี้ และการทำตลาดแพลตฟอร์มไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ กล่าวคือเอเอ็มดีจะเป็นผู้จัดเตรียมทูลส์ที่เปิดกว้างและสามารถพัฒนาต่อได้ให้แก่พันธมิตรโออีเอ็ม รวมไปถึงจัดเตรียมเฟรมเวิร์คสำหรับการจัดการและซีเคียวริตี้ องค์ประกอบหนึ่งของ “Trinity” คือ Socket AM2 ที่เพิ่งเปิดตัวออกมาเมื่อไม่นานนี้ ส่วนองค์ประกอบอื่นๆจะทะยอยตามออกมาภายในปีนี้
โปรเจคโค้ดเนม “Raiden” จะพัฒนาบน “Trinity” เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าคอมเมอร์เชียลไคลเอนต์ “Raiden” ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแพลตฟอร์มโดยไม่ส่งผลกระทบหรือบั่นทอนประสบการณ์ของผู้ใช้ “Raiden” จะครอบคลุมตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ไปจนถึงบริการที่ถือพร้อมด้วยความสามารถในการจัดการและซีเคียวริตี้ที่สูงขึ้นไปอีกระดับ “Raiden” จะ ซัพพอร์ตพีซีไคลเอนต์ทั่วไป รวมไปถึงฟอร์มแฟ็กเตอร์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น software-as-a-service เอเอ็มดีจะร่วมมือกับธุรกิจในกลุ่มฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อนำเสนอโซลูชั่นเหล่านี้แก่คอมเมอร์เชียลยูสเซอร์
ผู้นำการผลิตและเทคโนโลยีการผลิต
เอเอ็มดีมีแผนอัพเดทสายพานผลิตและเทคโนโลยีการผลิตด้วย - ตามข่าวที่ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับโรงงานแห่งใหม่ของเอเอ็มดี นั่นคือการปรับปรุงโรงงาน Fab 30 ในเดรสเดน ประเทศเยอรมนี ให้รองรับเทคโนโลยี 300 มม. ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2550 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Fab 38
วันนี้เอเอ็มดีได้โชว์ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 65nm จากโรงงาน Fab 36 ในเดรสเดน เทคโนโลยีการผลิตขนาด 65nm ที่ใช้เป็นผลงานการพัฒนาร่วมกันของเอเอ็มดีกับไอบีเอ็มในนิวยอร์ก ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการพัฒนาและวิจัยร่วมกันของเอเอ็มดีและไอบีเอ็ม เอเอ็มดียังได้เปิดเผยถึงเทคโนโลยีการผลิตขนาด 45nm ด้วยว่าขณะนี้กำลังเร่งพัฒนาอย่างเต็มที่ เอเอ็มดีมีแผนจะเริ่มแมสโปรดักชั่นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 45nm ภายใน 18 เดือนหลังเริ่มแมสโปรดักชั่นเทคโนโลยี 65nm ซึ่งตามกำหนดการปัจจุบันคือกลางปี 2551
โรงงานผลิตระดับสเตทออฟดิอาร์ตของเอเอ็มดีมีการใช้เทคโนโลยี Automated Precision Manufacturing (APM) และ Continuous Technology Improvement (CTI) ซึ่งเป็นสิทธิบัตรของเอเอ็มดีเอง เพื่อให้กระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่เทคโนโลยีใหม่ทำได้ทันทีและรวดเร็ว การโฟกัสในเรื่องความเร็ว, ความถูกต้องแม่นยำ, ความคล่องตัว และประสิทธิภาพผ่าน APM คือการนำเอาปรัชญาของการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน วิธีนี้ช่วยให้เอเอ็มดีสามารถดึงเอาประโยชน์จาก APM มาใช้ได้อย่างเต็มที่ ได้แก่ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต, ลดของเสีย และลดระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์ถึงมือลูกค้า
เกี่ยวกับเอเอ็มดี
แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ (NYSE: AMD) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการจัดหาโซลูชั่นไมโคร -โพรเซสเซอร์ที่เป็นนวัตกรรมสำหรับตลาดด้านการประมวลผล การสื่อสาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เอเอ็มดีก่อตั้งขึ้นในปี 2512 โดยมุ่งเน้นการนำเสนอโซลูชั่นด้านการประมวลผลที่เหนือกว่าและสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้ทั่วโลก รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จาก www.amd.com
หมายเหตุ
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ บางข้อความเป็นการคาดการณ์ถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายในปี 2549 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย Private Securities Litigation Reform Act of 1995 นักลงทุนพึงระลึกอยู่เสมอว่าข้อความที่เป็นการคาดการณ์ซึ่งปรากฏในข่าวประชาสัมพันธ์นี้ มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอน สิ่งที่เกิดขึ้นจริงอาจเป็นหรือไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก็ได้
ความเสี่ยง ได้แก่ เอเอ็มดีอาจไม่บรรลุผลสำเร็จตามกำหนดการต่างๆในแผนเปิดตัวผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ได้วางไว้, โซลูชั่นโพรวายเดอร์อาจไม่สามารถจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานซึ่งซัพพอร์ตเทคโนโลยี AMD64 ได้ทันตามกำหนด หรือการยอมรับในเทคโนโลยี AMD64 ของผู้ผลิตพีซีชั้นนำและลูกค้าอาจไม่เป็นไปตามคาด
เราแนะนำให้นักลงทุนพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอน จากรายงานที่บริษัทฯส่งให้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (Securities and Exchange Commission) ได้แก่ รายงานผลการดำเนินงานประจำปี แบบฟอร์ม 10-K สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 25 ธันวาคม 2548 และรายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส แบบฟอร์ม 10-Q สิ้นสุดวันที่ 26 มีนาคม 2549
กรุณาติดต่อ:
มิส ลิน ยอง
ผู้จัดการการตลาดคอนซูมเมอร์
บริษัท เอเอ็มดี ฟาร์อีส จำกัด
(65) 6559 9951
lynn.yong@amd.com
ประชาสัมพันธ์ข่าวโดย
บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
สุชาย เฉลิมธนศักดิ์
0 2971 3711
suchai@pc-a.co.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ