รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า 2549 วันที่ 24 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น.

ข่าวทั่วไป Tuesday October 24, 2006 09:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--ปภ.
1. สถานการณ์อุทกภัย ระหว่างวันที่ 27 ส.ค. - 24 ต.ค.49
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 331 อำเภอ 24 กิ่งอำเภอ 2,193 ตำบล 12,776 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,527,766 คน
1,014,086 ครัวเรือน
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 125 คน สูญหาย 1 คน (จังหวัดเชียงใหม่)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 54 หลัง เสียหายบางส่วน 9,208 หลัง ถนน 4,691 สาย สะพาน 317 แห่ง ท่อระบาย
น้ำ 395 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 507 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 2,754,599 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 30,529 บ่อ วัด/โรงเรียน 1,024 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ
อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 334,450,595 บาท (ไม่รวมทรัพย์สิน บ้านเรือน และความเสียหายด้านการเกษตร)
2. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 16 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก
สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ปราจีนบุรี และ
กรุงเทพมหานคร
รุนแรงใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
3. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังนี้
3.1 ได้ระดมกำลัง เครื่องจักรกล 217 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 201 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน เต็นท์ยกพื้นพักอาศัยชั่วคราว 448
หลัง (อ่างทอง 177 หลัง นครสวรรค์ 50 หลัง อุตรดิตถ์ 121 หลัง น่าน 39 หลัง พระนครศรีอยุธยา 20 หลัง ชัยนาท 25 หลัง สิงห์บุรี 23 หลัง เชียงใหม่
43 หลังและสุโขทัย 15 หลัง) พร้อมเจ้าหน้าที่ 614 คน และสนับสนุนถุงยังชีพ 75,200 ชุด ไปปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.2 จ่ายเงินค่าจัดการศพ 65 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 1,725,000.- บาท (คงเหลือ
60 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ) ทั้งนี้จังหวัดที่ประสบภัย ได้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 277.87 ล้านบาท
3.3 จัดส่งถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง ผ้าขาวม้า ผ้าถุง รองเท้ายาง ไปสนับสนุนจังหวัด ที่ประสบภัย คิดเป็นมูลค่า
41,649,800.- บาท
3.4 สนับสนุนขวดบรรจุน้ำดื่ม 500,000 ขวด ให้แก่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และจังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา สำหรับนำไปบรรจุน้ำดื่มแจกจ่าย
ช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัย
4. ปริมาณน้ำเจ้าพระยาที่ทำให้เกิดอุทกภัยเปรียบเทียบปี 2538, 2545 และ 2549
ที่ ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปี 2538 ลบ.ม./วาที ปี 2545 ลบ.ม./วินาที ปี 2549 ลบ.ม./วินาที หมายเหตุ
(24 ต.ค.49)
1 นครสวรรค์ 4,820 3,886 4,795 จังหวัดนครสวรรค์สูงสุดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 5,960 ลบ.ม./วินาที และลดลงอย่างต่อเนื่อง
2 เขื่อนเจ้าพระยา 4,557 3,930 (10 ต.ค. 2545) 4,030 (24 ต.ค. 2549)
(5 ต.ค. 2538)
3 เขื่อนพระรามหก 1,473 1,216 256
4 อำเภอบางไทร 5,451 4,288 3,538
หมายเหตุ ๏ ปริมาณน้ำที่ผ่านอำเภอบางไทร เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 จำนวน 3,538 ลบ.ม./วินาที เป็นตัวเลขจากการตรวจวัดจริง
5. สภาพน้ำเจ้าพระยา
5.1 วันนี้ (24 ต.ค.49) เวลา 06.00 น. มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ จำนวน 4,795 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน
200 ลบ.ม./วินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จำนวน 4,030 ลบ.ม./วินาที (ลดลง 10 ลบ.ม./วินาที) และมีปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนพระ
รามหก จำนวน 256 ลบ.ม./วินาที (ลดลง 25 ลบ.ม./วินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 3,538 ลบ.ม./วินาที (จากการตรวจวัดใน
สนาม) (ลดลงจากเมื่อวาน 87 ลบ.ม/วินาที)
5.2 กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำในการควบคุมน้ำหลากโดยการรับน้ำเข้าระบบชลประทาน ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา (วันที่ 23 ต.ค.49)
รับน้ำเข้าทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก 531 ลบ.ม./วินาที และทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก 232 ลบ.ม./วินาที ผ่านประตูระบายน้ำปากแม่น้ำน้อย แม่น้ำ
สุพรรณ และคลองชัยนาท-ป่าสัก และได้กำหนดมาตรการลดปริมาณน้ำหลากสูงสุดในช่วงที่น้ำทะเลจะหนุนสูง วันที่ 23-26 ตุลาคม 2549 โดยเร่งรัดการ
ส่งน้ำเพิ่มเติมเข้าพื้นที่ชลประทานใน 8 จังหวัดทุ่งเจ้าพระยาตั้งแต่วันที่ 16-19 ต.ค.49 เข้าพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 1,160,629 ไร่ คิดเป็น
ปริมาตรน้ำทั้งหมด 309.43 ล้าน ลบ.ม. (แยกเป็นในทุ่งฝั่งตะวันออก 435,000 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำ 100.56 ล้าน ลบ.ม. และทุ่งฝั่งตะวันตก 725,629
ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำ 208.87 ล้าน ลบ.ม.)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ